ผ่านไป 3 ปีหลังการลงประชามติ Brexit จนถึงปัจจุบัน การเจรจาหาข้อตกลง Brexit ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรและโอกาสที่สหราชอาณาจักร (UK) จะออกจากสหภาพยุโรป (EU) แบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) ได้เพิ่มขึ้นหลังการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายบอริส จอห์นสัน ซึ่งมีจุดยืนที่จะผลักดันให้ UK ออกจาก EU ก่อนเส้นตายวันที่ 31 ตุลาคมนี้
นางเทเรซา เมย์ อดีตนายกรัฐมนตรีไม่สามารถหารูปแบบ Brexit ที่รัฐสภาส่วนใหญ่เห็นชอบได้ จึงต้องเลื่อนเส้นตาย Brexit ออกไปและตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง จนนำไปสู่การได้ผู้นำคนใหม่คือนายบอริส จอห์นสัน ที่ผ่านมานางเทเรซา เมย์ได้นำข้อตกลง Brexit ที่ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (EU) มาให้รัฐสภา
นายบอริส จอห์นสัน ยืนยันจุดยืนในการนำ UK ออกจาก EU ไม่ว่าจะบรรลุข้อตกลงก่อนวันที่ 31 ตุลาคมนี้หรือไม่ก็ตาม ตามที่นายบอริส จอห์นสันได้กล่าวไว้ว่า
งานแรกหลังการเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ กลับไปเจรจากับ EU เพื่อขอแก้ไขข้อตกลง Brexit ฉบับเดิมที่นางเทเรซา เมย์เคยตกลงไว้
รายละเอียดข้อตกลง Brexit ของนางเทเรซา เมย์ได้กำหนดรูปแบบการแยกตัวของ UK ออกจาก EU (withdrawal agreement) ไว้ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขป ดังนี้
โดยนายบอริส จอห์นสัน ต้องการแก้ไขประเด็นสำคัญที่เป็นสาเหตุให้รัฐสภาปฏิเสธข้อตกลง Brexit ของนางเทเรซา เมย์ถึง 3 ครั้ง คือ เงื่อนไขพรมแดนบนเกาะไอร์แลนด์เหนือ (Backstop) ซึ่งนางเทเรซา เมย์ ได้ล้มเหลวในการแก้ไขประเด็นดังกล่าวกับ EU อย่างไรก็ตาม
การเจรจาในครั้งนี้อาจแตกต่างกว่าครั้งก่อน เนื่องจากท่าทีนายบอริส จอห์นสัน มีจุดยืนที่แข็งกร้าวกว่าของนางเทเรซา เมย์ โดยเขายืนยันที่จะนำ UK แยกตัวออกจาก EU ในวันที่ 31 ตุลาคมไม่ว่าจะเป็นการแยกตัวแบบมีข้อตกลงหรือไร้ข้อตกลงก็ตาม
ล่าสุดที่นายจอห์นสันจำกัดเวลาประชุมรัฐสภาผ่านการเลื่อนพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภาออกจากกำหนดการเดิม จากวันที่ 9-12 กันยายน เป็นวันที่ 14 ตุลาคมเพื่อให้รัฐสภามีเวลาในการยับยั้งการผลักดัน No-deal Brexit ของรัฐบาลนายจอห์นสันน้อยลงและเข้าใกล้เส้นตาย Brexit วันที่ 31 ตุลาคมมากขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้รัฐสภามีเวลาเพียงราว 2 สัปดาห์ ในการพิจารณาและอนุมัติข้อสรุป Brexit เพื่อถอนตัวออกจาก EU ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าหากรัฐสภาไม่สามารถพูดคุยให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา สุดท้าย UK ก็จะต้องออกจาก EU แบบไร้ข้อตกลง หรือ No deal Brexit
เทเรซา เมย์ พยายามหาทางออกร่วมกับ EU จนกลายเป็นแผน Backstop ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง Brexit โดยรายละเอียด คือ หากช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน (Transition period) 21 เดือนหลังข้อตกลง Brexit มีผลบังคับใช้และ UK กับ EU ยังไม่สามารถหาความสัมพันธ์ทางการค้ารูปแบบใหม่ได้
แผน Backstop เป็นหลักประกันว่าจะไม่มีด่านศุลกากรเกิดขึ้นบนเกาะไอร์แลนด์หลัง Brexit แต่เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา UK ยังไม่เห็นด้วยกับแผน Backstop ในปัจจุบัน
ประเด็นสำคัญของการเจรจาข้อตกลง Brexit คือ การแก้ไขแผน Backstop เรื่องพรมแดนระหว่างไอร์แลนด์เหนือ (ส่วนหนึ่งของ UK) และสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (หนึ่งในประเทศสมาชิก EU) ซึ่งมีความยากลำบากเนื่องจากจุดยืนทางนโยบายและการเมืองที่ต่างกันระหว่าง UK และ EU ทำให้โอกาสของการเกิด No-deal Brexit เพิ่มขึ้นหากไม่สามารถหาข้อสรุปและไม่ขยายเส้นตาย Brexit ออกไป
อีไอซีมองว่า การแก้ไขแผน Backstop มีความยากลำบากจากจุดยืนในทางนโยบายและการเมืองที่ต่างกัน ทำให้โอกาสของการแก้ไขเนื้อหา Backstop มีความเป็นไปได้ต่ำ
จากจุดยืนที่ต่างกันของทั้ง 2 ฝ่าย โดยฝั่ง EU ต้องการแผน Backstop เนื่องจากกังวลเรื่องชายแดนภายในเกาะไอร์แลนด์และความเป็นเอกภาพของ EU เอง โดย EU ไม่สามารถเปิดเสรีที่ชายแดนได้
หมายเหตุ : สหภาพศุลกากรยุโรป (EU Custom Unions) ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่าง UK และประเทศสมาชิก EU ไม่ถูกเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกัน แต่บังคับให้มีอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกสมาชิกเหมือนกันในสินค้าทุกชนิด ขณะที่ตลาดเดียวยุโรป (EU Single market) ทำให้ UK เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงานและเงินทุนอย่างเสรีภายในสหภาพยุโรป โดยตลาดเดียวยุโรปเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ลึกและแนบแน่นกว่าสหภาพศุลกากรเนื่องจากต้องมีการเปิดเสรีใน 4 ด้านพื้นฐาน ได้แก่ สินค้า บริการ แรงงานและเงินทุน ในขณะที่สหภาพศุลกากรจะให้ความสำคัญเฉพาะสินค้าและภาษีเท่านั้น
หากไอร์แลนด์เหนือไม่ปฏิบัติตามกฎของ EU เนื่องจาก EU จะต้องตรวจสอบมาตรฐานสินค้าเพื่อรักษากฎระเบียบของตลาดร่วม ในขณะที่ฝั่ง UK ไม่ต้องการ แผน Backstop เช่นนี้ เนื่องจากลดความเป็นเอกภาพของ UK อีกทั้งยังเป็นกุญแจล็อคความสัมพันธ์ที่ไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด หากทั้งสองฝ่ายยังไม่มีทีท่าจะยอมซึ่งกันและกัน โอกาสเกิดการแยกตัวแบบไร้ข้อตกลง (No-deal Brexit) จะเป็นทางเลือกสุดท้าย
ผลกระทบทางตรงต่อการส่งออก การลงทุนและการท่องเที่ยวของไทยมีจำกัดแม้ในกรณี No-deal Brexit แต่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากตลาดการเงินโลกโดยเฉพาะค่าเงินปอนด์และยูโร รวมถึงความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วยในระยะข้างหน้า
ภาคการส่งออก ท่องเที่ยว และการลงทุนไทยอาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจภายในของ UK ในกรณี No-deal Brexit แต่ผลกระทบทางตรงจะไม่รุนแรงนัก
อีไอซีมองว่า ผลกระทบของ No-deal Brexit ต่อเศรษฐกิจไทยสามารถส่งผ่านได้ 3 ช่องทาง คือ
อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลกระทบทางตรงต่อเศรษฐกิจไทยจำกัด แต่ผลกระทบทางอ้อมต่อตลาดการเงินโลกและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การฟื้นตัวของภาคการส่งออกและท่องเที่ยวของไทยในระยะข้างหน้ายังมีความเสี่ยงอยู่มาก แม้ว่าสัดส่วนการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวที่ไทยมีกับ UK ในปัจจุบันยังไม่สูงมาก
แต่ไทยอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากความผันผวนในตลาดการเงินโลกที่ยิ่งมากขึ้นเมื่อยิ่งเข้าใกล้เส้นตาย Brexit ในวันที่ 31 ตุลาคม และโอกาสฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2020 ลดลงหากเกิดกรณี No-deal Brexit โดยเฉพาะกับเศรษฐกิจ UK ไตรมาสที่ 2 เริ่มหดตัว 0.2%และหากในช่วงครึ่งหลังของปีเกิดกรณี No-deal Brexit
อาจทำให้เศรษฐกิจ UK เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ เนื่องจากการค้าการลงทุนทั้งในภาคการผลิตและบริการต้องประสบกับภาวะชะงักงัน ในระยะข้างหน้าผู้ประกอบการไทยควรวางแผนป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน โดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินปอนด์และเงินยูโรในกรณี No-deal Brexit
โดย : Economic Intelligence Center (EIC)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ดร. กำพล อดิเรกสมบัติ (หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดเงิน)
ดร. ธนพล ศรีธัญพงศ์ (นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส)
คุณชินโชติ เถรปัญญาภรณ์ (นักวิเคราะห์)
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด