บทเรียนการต่อสู้และฟื้นธุรกิจทาง Facebook ในช่วง New Normal ผ่านกรณีผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นลาว | Techsauce

บทเรียนการต่อสู้และฟื้นธุรกิจทาง Facebook ในช่วง New Normal ผ่านกรณีผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นลาว

ขณะที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับให้เป็นประเทศที่สามารถฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ธุรกิจจำนวนมากยังคงเดินหน้าปรับไปสู่ช่องทางดิจิทัลในช่วงเวลาที่ท้าทายเช่นนี้ สถานภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนผู้ประกอบการรายย่อยของไทยจึงถือเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัว 

และหลายคนต่างมองหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนร้านค้า (พร้อมแฮชแท็ก #ร้านดีบอกต่อ หรือ #SupportSmallBusiness) และช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถกลับมายืนหยัดได้ระหว่างที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงนิวนอร์มอลในช่วงที่ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งสำคัญคือการคอยสังเกตวิธีที่เจ้าของธุรกิจใช้แพลทฟอร์มของ Facebook ในการต่อสู้กับความท้าทาย พร้อมทั้งมองหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติม 

ผนึกกำลังชุมชนและการระดมทุนเพื่อสนับสนุนบรรดานักสู้ชาวไทย

เมื่อครั้งที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับผลกระทบขั้นรุนแรงจากโรคระบาด สถานที่ต่างๆ ต้องปิดตัวลง ประชาชนต่างร่วมมือกันรักษาระยะห่างอยู่กับบ้าน ในส่วนของทีมงานบุคลากรทางการแพทย์เองนั้นต้องทำงานตลอดเวลา เพื่อช่วยยับยั้ง

การแพร่ระบาดภายในประเทศ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทยต่างได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจด้านบริการที่ต้องปรับแนวทางการทำงานอย่างแทบจะในทันที เนื่องจากพนักงานหลายๆ คนถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องหยุดทำงาน นอกจากนี้ ปัญหาด้านการเงินยังกลายเป็นความท้าทายประจำวันสำหรับการอยู่รอดของธุรกิจ

คุณพันชนะ วัฒนเสถียร เจ้าของกิจการ “เป็นลาว” ร้านอาหารอีสาน ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เห็นถึงความเสี่ยงและผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหาร จึงมองหาวิธีที่จะช่วยให้พนักงานและเพื่อนๆ กลุ่มเจ้าของร้านอาหารสามารถฟันฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณพันชนะยังต้องการช่วยเหลือทีมงานแพทย์และพยาบาลซึ่งถือเป็นนักรบ

แถวหน้าของประเทศที่รับมือสู้กับโควิด-19

ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่น คุณพันชนะจึงได้ริเริ่มโครงการ “ข้าวเพื่อหมอ” หรือ “Food for Fighters” ซึ่งเป็นโครงการระดมทุนบน Facebook เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยได้จัดสรรมื้ออาหารให้กับทีมบุคลากรทางแพทย์ประจำโรงพยาบาลต่างๆ ผ่านการร่วมมือกับเครือข่ายร้านอาหารท้องถิ่น หลังจากที่ได้โพสต์ขอความช่วยเหลือผ่าน Facebook ส่วนตัว โครงการข้าวเพื่อหมอได้ขยายเครือข่ายสมาชิกสู่เจ้าของร้านอาหารจำนวน 30 แห่งอย่างรวดเร็ว รวมถึงซัพพลายเออร์ร้านอาหารและสตาร์ทอัพด้านธุรกิจส่งอาหารทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่ต่างร่วมมือร่วมใจกันจัดส่งกล่องข้าวให้กับทีมแพทย์และพยาบาล

ภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือน เครือข่ายพันธมิตรโครงการเติบโตขึ้นจากจำนวนร้านอาหาร 30 แห่งสู่ 100 แห่ง โดยสามารถผลิตอาหารได้ 30,000 กล่อง ด้วยแรงสนับสนุนจากเงินระดมทุนจำนวนเกือบ 2 ล้านบาท โครงการนี้สามารถผลิตและส่งอาหารให้กับทีมงานทางการแพทย์และชุมชนต่างๆ กว่า 20 แห่งได้โดยเฉลี่ย 1,000 กล่องต่อวัน พร้อมช่วยเหลือพนักงานร้านอาหารจำนวน 1,500 ชีวิตให้มีรายได้ที่มั่นคงในช่วงเวลาวิกฤต

คุณพันชนะ วัฒนเสถียร เจ้าของกิจการ “เป็นลาว” และผู้ก่อตั้งโครงการข้าวเพื่อหมอ กล่าวว่า “แม้ว่าเราจะได้กำไรไม่มากนัก แต่การช่วยเหลือธุรกิจร้านอาหารต่างๆ ให้สามารถดำเนินต่อไปได้นั้นเป็นสิ่งที่เราตั้งใจทำ พวกเราทุกคนที่     ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในโครงการนี้ต่างมาจากหลากหลายที่และมีเรื่องราวเบื้องหลังที่แตกต่างกันไป ความตั้งใจของเราไม่ได้เป็นเพียงเพื่อการกุศล แต่คือการช่วยเหลือธุรกิจให้สามารถยืนหยัดและอยู่รอดท่ามกลางวิกฤต ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการช่วยทีมงานทางการแพทย์ให้ได้มีเสบียงอาหารอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ และการทำงานในช่วงเฟสที่ 2 กลุ่มของเรามีความตั้งใจจะสนับสนุนเกษตรกรหรือผู้สรรหาวัตถุดิบท้องถิ่นภายใต้คอนเซ็ปต์ Cloud Kitchen ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่” 

โซเชียลมีเดียทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ

การใช้แพลทฟอร์มโซเชียลมีเดียมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณพันชนะ โดยไม่ได้ถูกใช้งานเพียงเพื่อการติดต่อกับผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจร้านอาหารอื่นๆ เพื่อเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการข้าวเพื่อหมอเท่านั้น แต่ยังถูกนำมาใช้เพื่อความอยู่รอดของร้านอาหารเป็นลาวเอง และเธอได้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าควรใช้ Facebook เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร

ก่อนหน้านี้ ร้านอาหารเป็นลาวได้ใช้งาน Facebook Messenger เป็นช่องทางในการติดต่อกับลูกค้าของทางร้านเป็นประจำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อทางร้านได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทีมงานได้ปรับปรุงเนื้อหาในเพจเพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่เว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ที่บ้าน เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น การสร้างสรรค์วิดีโอวิธีทำอาหารเมนูต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ถูกถ่ายทำด้วยวิธีการที่เรียบง่ายโดยการใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์แบรนด์ร้านอาหารอีสานที่เป็นมิตรและเข้าถึงง่าย โดยมีเชฟอายุน้อยและเชฟผู้มีประสบการณ์ของทางร้านทั้งสองคนทำหน้าที่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์บนช่องทางออนไลน์

ผลลัพธ์ที่ได้คือเนื้อหาของเพจสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้เป็นอย่างดี และจากการที่มีคนหันมาทำอาหารกินเองและมองหาวัตถุดิบในการทำอาหารขณะอยู่ที่บ้านมากขึ้น ร้านอาหารเป็นลาวจึงได้ใช้เครื่องมือเชิงธุรกิจบน Facebook ในการขายสินค้าของทางร้านผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานฟีเจอร์หน้าร้านออนไลน์ (Shop) บนแพลทฟอร์มเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าและน้ำยำ รวมถึงจัดระบบการชำระเงินด้วยการใช้การสนทนาผ่านการแชทเพื่อการค้าขายด้วย Messenger ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีและสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความสำเร็จด้วยการรวบรวมและโปรโมทรีวิวเชิงบวกต่างๆ ของทางร้าน 

การสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยบน Facebook

เรื่องราวของคุณพันชนะ วัฒนเสถียร เป็นตัวอย่างของความเข้มแข็งที่ยอดเยี่ยมของธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะที่ประเทศกำลังปรับตัวสู่ภาวะนิวนอร์มอล และ Facebook ก็ได้ดำเนินงานในส่วนของตนเองเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นอย่างเต็มที่

เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า Facebook และ Instagram ได้เปิดตัวโครงการ #SupportSmallBusiness เพื่อแชร์วิธีการใหม่ๆ ให้ผู้คนสามารถสนับสนุนและค้นพบธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงนำเสนอเครื่องมือเพิ่มเติมเพื่อให้ธุรกิจได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องและครบถ้วน และเชื่อมต่อกับลูกค้าของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น

โครงการดังกล่าวประกอบด้วยการเปิดตัวสติ๊กเกอร์สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก (Support Small Business) บน Instagram และแฮชแท็ก #SupportSmallBusiness บน Facebook เพื่อให้ผู้ใช้ได้แสดงถึงการสนับสนุนต่อธุรกิจขนาดเล็กที่พวกเขา  ชื่นชอบ รวมถึงฟีเจอร์การสั่งซื้ออาหาร (Food Order) บน Instagram ซึ่งช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถแชร์สติ๊กเกอร์สั่งซื้ออาหารผ่าน Instagram Stories และปุ่มสั่งซื้ออาหารบนหน้าโปรไฟล์ของทางร้านได้ อีกทั้งยังนำเสนอบทความเชิงให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยแชร์วิธีการง่ายๆ เพื่อให้ผู้คนสามารถสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นในภาวะนิวนอร์มอลได้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อเร็วๆ นี้ Facebook ยังได้เปิดตัวหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้โครงการ Boost with Facebook เพื่อเสริมทักษะดิจิทัลแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ในขณะที่กลุ่มชุมชนของธุรกิจท้องถิ่นเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง โดยหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ Boost with Facebook จะเปิดอบรมแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมและบุคคลทั่วไปด้วยหลักสูตรเรียนรู้ทั้งหมด 10 ตอน ออกอากาศผ่านเพจ Facebook for Business เป็นภาษาไทยในระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม – 15 กันยายน พ.ศ. 2563

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...

Responsive image

Freshket ระดมทุนเพิ่ม กว่า 273 ล้านบาท เดินหน้าขยายแพลตฟอร์มสู่ Food Supply Chain ครบวงจร

เฟรชเก็ต (freshket) แพลตฟอร์มจัดการวัตถุดิบออนไลน์สำหรับร้านอาหารแบบครบวงจร (Food Supply Chain Platform) สัญชาติไทย เดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมระดมทุนเพิ่มจากผู้ลงทุ...