Flexible Office Space ออฟฟิศแนวใหม่ที่จะกลายเป็น New Normal ของธุรกิจ Startup | Techsauce

Flexible Office Space ออฟฟิศแนวใหม่ที่จะกลายเป็น New Normal ของธุรกิจ Startup

ความถดถอยของเศรษฐกิจจากผลกระทบของ Covid-19 บวกกับ Digital Disruption ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายบริษัทพยายามปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นก็คือการลดค่าใช้จ่ายในการเช่าออฟฟิศ บริษัททั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับ Flexible Office Space หรือพื้นที่ออฟฟิศให้เช่าที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถูกลง และไม่มีสัญญาเช่าระยะยาว

Credit ภาพประกอบจาก: unsplash

Flexible Office Space คืออะไร?

ในพื้นที่ของ Flexible Office Space อาจมีได้ทั้งที่นั่งทำงานแบบ Hot Desks หรือการไม่มีโต๊ะประจำตัว และคิดค่าใช้จ่ายเฉพาะวันที่เข้าใช้งาน ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์ Freelancers แล้ว บริษัทที่มีแผนจะให้พนักงานทำงานแบบ Remote Work หรือ Work from Home ระยะยาว และมีการเข้าออฟฟิศนานๆ ครั้ง ก็ยังสามารถเลือกเช่า Hot Desks เพื่อเป็นที่นั่งทำงานร่วมกันได้

Credit ภาพประกอบจาก: unsplash

ส่วนการเช่า Private Office แบบรายเดือนก็ยังมีอยู่ แต่จะปรับให้มีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเซ็นสัญญารายปี ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีความผันผวน หลายบริษัทจึงไม่ต้องการข้อผูกมัดระยะยาวที่ทำให้ปรับตัวยาก

นอกจากนี้ใน Flexible Office Space ก็ยังมีการแชร์พื้นที่อย่างห้องประชุม หรือ Common Area กับบริษัทอื่นๆ ทำให้การใช้พื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งมี WiFi และหลายที่อาจมีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้บริการ เช่น เครื่องปรินต์ เครื่องถ่ายเอกสาร โปรเจคเตอร์ ฯลฯ ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อยครั้ง

เทรนด์ Flexible Office Space ในต่างประเทศ

Tech Company ชั้นนำอย่าง Dropbox ออกมาประกาศว่าบริษัทจะเปลี่ยนเป็น Virtual First Company คือการทำงานแบบ Remote Work เป็นหลัก และมีการนัดเข้ามาประชุมทีมเป็นระยะๆ โดยอาจใช้พื้นที่ออฟฟิศที่มีอยู่แล้ว หรือใช้ Flexible Space ตามความเหมาะสม

ส่วนในประเทศอังกฤษ จากข้อมูลของ Workthere แพลตฟอร์มรวบรวมออฟฟิศให้เช่าทั่วอังกฤษ และในอีกหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก ก็เปิดเผยว่ามีหลายบริษัทที่ไม่ต่อสัญญาเช่าออฟฟิศช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา โดยคาดว่าบริษัทจำนวนมากจะหันไปใช้ Flexible Office Space แทนการเช่าออฟฟิศรูปแบบเดิม

ในอินเดียมีการคาดการณ์ว่า ตลาด Flexible Space จะโตขึ้นประมาณ 15-20% ต่อปี ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้านี้ แม้แต่องค์กรขนาดใหญ่ก็จะปรับตัว ไปใช้การแยกเช่าออฟฟิศหลายๆแห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้แก่พนักงาน 

Flexible Office Space ในประเทศไทย

ในประเทศไทยเราก็มีบริการ Flexible Office Space เริ่มเปิดตลาดแล้วเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า “Flex Office” ซึ่งอยู่ภายใต้แบรนด์ Event Banana Space โมเดลนี้คิดขึ้นเพื่อบริษัท Startup หรือ SMEs ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายและลีนองค์กร สาขาของออฟฟิศกระจายตัวอยู่ตามย่าน CBD อย่าง สยาม พร้อมพงษ์ อโศก สาทร ฯลฯ เลยไปจนถึงพื้นที่ติด BTS ชั้นนอก และเลียบทางด่วนฯ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับความต้องการที่หลากหลาย โดยออฟฟิศมีขนาดอยู่ที่ 5-15 ที่นั่ง

Credit ภาพประกอบจาก: eventbanana

จุดเด่นของ Flex Office คือการมีแผนเช่าทั้งแบบรายวันและรายเดือนระยะสั้น บริษัทที่มีแผนจะ Work from Home เป็นหลัก จึงสามารถเลือกเช่าออฟฟิศรายวันเฉพาะวันที่มีนัดประชุม หรือนัดเพื่อสร้าง engagement ในองค์กรเป็นระยะๆ แผนนี้ถือว่าเหมาะมากสำหรับบริษัทที่ทำงานผ่าน Cloud กันอยู่แล้ว เช่น Tech Company หรือ Marketing Agency ส่วนสำหรับบริษัทที่ยังต้องเข้าออฟฟิศเป็นประจำ แต่ไม่ต้องการการผูกมัด อาจจะด้วยสถานการณ์ทางการเงินที่ยังไม่นิ่ง กำลังอยู่ในช่วงทดลองตลาด หรืออยากลองย้ายจาก Home Office มาใช้พื้นที่ออฟฟิศที่น่าเชื่อถือมากขึ้น แผนรายเดือนระยะสั้นก็จะตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว

สรุปแล้ว Flexible Office Space เหมาะกับใคร?

  • บริษัทที่ต้องการทำงานแบบ Remote Work เป็นหลัก และลดรายจ่ายค่าเช่าออฟฟิศลง

  • บริษัทที่ต้องการปรับตัวให้ยืดหยุ่น เพื่อรับกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

  • บริษัทที่ต้องการทดลองย้ายจาก Home Office แต่ยังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายและการผูกมัดระยะยาว

  • บริษัท Startup ที่กำลังจะก่อตั้ง โดยต้องการออฟฟิศให้เช่าที่ยืดหยุ่น พร้อมจดทะเบียนบริษัทได้

เรียกได้ว่า Flexible Office Space เป็นโมเดลที่ช่วยลดทั้งภาระค่าใช้จ่าย และตอบรับกับไลฟ์สไตล์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ถึงแม้ว่าผลกระทบของ Covid-19 จะจบลงในอนาคต แต่ก็เชื่อว่าออฟฟิศให้เช่ารูปแบบนี้จะยังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในหมู่บริษัทรุ่นใหม่นั่นเอง

อ้างอิง dropbox, workthere, realty, eventbanana

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NITMX เผยสถิติพร้อมเพย์ ปี 67 ยอดธุรกรรมโตแตะ 2,096 ล้านต่อเดือน ผู้ใช้พุ่งสูงถึง 79 ล้านราย

NITMX เผยข้อมูลสถิติการใช้งานระบบพร้อมเพย์ตลอดปี 2567 ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านธุรกรรมดิจิทัลทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน ตอกย้ำบทบาทสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคสั...

Responsive image

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

“อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้อ...

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...