CPF หนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมอาหาร รองรับเทรนด์ในอนาคต | Techsauce

CPF หนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ พัฒนานวัตกรรมอาหาร รองรับเทรนด์ในอนาคต

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ถ่ายทอดประสบการณ์ด้านอาหาร หนุนนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันนวัตกรรมอาหารจากพืช ระดับภูมิภาคอาเซียนปี 2564 (ASEAN Food Innovation Challenge 2021) สนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่ พัฒนานวัตอาหารเพื่อสุขภาพรับเทรนด์อาหารในอนาคต   

The Marble Booster

CPF จับมือ ProVeg Asia ร่วมสนับสนุนและให้คำปรึกษา (Coaching) แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหารในอนาคต 2 ทีม คือ ทีม Food Tech Chula จากแนวคิดนวัตกรรมอาหาร “The Marble Booster” ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ และทีม TempMie จากประเทศอินโดนีเซีย ได้อันดับที่ 2 นำเสนอแนวคิด “Asean Fusion yet Functional Food” ภายใต้เป้าหมายที่ CPF กำหนด คือ การพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มาจากพืช “Plant-based Innovation” มีผลงานที่ส่งเข้าร่วมแข่งขัน  125 ชิ้น จากมหาวิทยาลัย 54 แห่ง ใน 13 ประเทศ  

ดร.ลลนา ธีระนุสรณ์กิจ

ดร.ลลนา ธีระนุสรณ์กิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านนวัตกรรมอาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ CPF กล่าวว่า ทั้งสองทีมมีความมุ่งมั่นสูงและรับฟังคำแนะนำจากทีมเมนเทอร์เป็นอย่างดี สามารถนำคำแนะนำที่ได้รับไปต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว และประยุกต์ใช้ได้เหมาะสมเพื่อการผลิตผลงานได้จริงในอนาคต ในส่วนของทีม Food Tech Chula ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นทีมที่มีการประสานความเชี่ยวชาญของแต่ละคนได้อย่างลงตัว นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมเนื้อเทียม The Marble Booster ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณสมบัติพิเศษในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนทีม TempMie จากประเทศอินโดนีเซีย ได้อันดับที่ 2 นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับ vegan (instant vegan noodle) ที่ทำจากแป้งถั่วเหลืองหมักแบบพื้นเมืองอินโดนีเซีย (Tempeh powder) สารสกัดเข้มข้นจากดอกไม้ Kecombrang และน้ำซุปเห็ดหอมชิตาเกะของญี่ปุ่น (Shiitake Broth) เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมของอินโดนีเซียเข้ากับญี่ปุ่น 

TempMie บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพ

“ทุกคน กล้าคิด กล้าพูด กล้าลงมือทำและพร้อมค้นหาความจริง ซึ่งเป็นคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นใหม่ นอกจากแนวคิดของนักวิจัยกลุ่มนี้จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเรื่องโปรตีนเนื้อสัตว์จากพืชแล้ว ยังเป็นนวัตกรรมอาหารสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19” ดร.ลลนา กล่าว

สำหรับทีมชนะเลิศอันดับที่ 1 Food Tech Chula เป็นการรวมตัวกันของนิสิตปริญญาเอก คือ นายนุติ หุตะสิงห และ นางสาววรัญญา เตชะสุข และนิสิตปริญญาโท คือ นายณัฐชนน สร้างสมจิตร์ จากภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

นายนุติ กล่าวว่า The Marble Booster เป็นการนำเสนอแนวคิดการผลิตเนื้อเทียม (Meat Analogue) จากพืช 100% มีลักษณะโครงสร้างเป็นใยคล้ายกล้ามเนื้อสัตว์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นรูปจากโปรตีนถั่วเหลือง และมีชั้นไขมันที่ผลิตจากน้ำมันคาโนลา สารสกัดจากขมิ้นชันและพริกไทดำแทรกอยู่ในชิ้นเนื้อ กลายเป็นเนื้อลายหินอ่อน เป็นการเลียนแบบเนื้อวากิว ที่สำคัญช่วยเสริมภูมิคุ้มกันจากสารประกอบเคอร์คิวมิน (Curcumin) จากขมิ้นชัน และพิเพอรีน  (Piperine) จากพริกไทดำ สารทั้งสองตัวนี้เมื่อยู่รวมกันจะให้ฤทธิ์เสริมกัน (Synergistic effect) ในการเสริมภูมิคุ้มกัน ซึ่งยังไม่มีบริษัทผู้ผลิตอาหารในโลกนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับผลิตอาหารจริง 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...