3 กูรู DeFi มองอนาคต DeFi ไม่ใช่การแทนที่ระบบการเงินเก่า แต่เพิ่มโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์การเงินอย่างทั่วถึง | Techsauce

3 กูรู DeFi มองอนาคต DeFi ไม่ใช่การแทนที่ระบบการเงินเก่า แต่เพิ่มโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์การเงินอย่างทั่วถึง

ชานน จรัสสุทธิกุล Co-Founder และ CEO ของ Forward Labs สตาร์ตอัพฟินเทคด้าน Blockchain ให้ความเห็นต่อประเด็น “DeFi กับ Traditional Finance ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร” ในกิจกรรม Forward The Future To Young Generation : เส้นทางสายอาชีพในอุตสาหกรรม Blockchain ครั้งที่ 4 ว่า การเกิดขึ้นของ Decentralized Finance เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้ในหลาย ๆ มิติ ตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกิดจาก Traditional Finance ที่เกิดจากตัวกลางใดตัวกลางหนึ่ง มีส่วนต่างจากการให้บริการค่อนข้างสูง ในทางกลับกันผลประโยชน์ที่เกิดกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์การเงินนั้น ๆ กลับไม่ได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากนัก นวัตกรรมอย่าง DeFi จึงเกิดขึ้น เพื่อตัดระบบตัวกลางที่อาจจะสร้างต้นทุนในการดำเนินงานสูง ๆ นี้ออกไป และให้ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม DeFi ได้โฟกัสที่โปรดักส์ เพื่อมอบผลประโยชน์ที่ผู้ใช้ควรจะได้รับให้เต็มที่ จากการลดต้นทุนของการมีตัวกลางออกไป ซึ่งในระยะยาวหากไม่มีอะไรผิดพลาดเราน่าจะได้เห็นผลิตภัณฑ์จาก DeFi เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น

3 กูรู DeFi มองอนาคต DeFi ไม่ใช่การแทนที่ระบบการเงินเก่า แต่เพิ่มโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์การเงินอย่างทั่วถึง

ผศ.ดร. อุดมศักดิ์ รักวงษ์วาน Co-Founder และ Advisor ของ Forward Labs กล่าวเสริมว่า ระบบการเงินที่ไม่มีตัวกลางทำให้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างผู้กู้ กับผู้ปล่อยกู้ดูสมเหตุสมผล และไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบจากการกินส่วนต่างของตัวกลางเกินไป ได้มีโอกาสไปฟัง Talk นึง ซึ่งมีประโยคที่ฟังแล้วชอบ จำมาจนถึงทุกวันนี้ คือ “Banks are not necessary but Banking is” จึงมองว่าในอนาคตการทำธุรกรรมทางการเงินอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นผ่านธนาคารแล้วก็ได้ อาจจะเปลี่ยนรูปไปอยู่ในรูปแบบอื่น ซึ่งอาจจะเป็น Blockchain ก็ได้ หรืออย่างอื่นก็ได้ เรายังไม่รู้ แต่ในเรื่องของการมาแทนที่ธนาคารนั้น อยากให้มองอีกรูปแบบหนึ่งมากกว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคารกล่าวไว้ว่า ถ้า DeFi จะมาจริง ๆ คนที่จะต้องเข้าไปยืนอยู่ในธุรกิจนั้นก่อนใคร คือ ธนาคาร ฉะนั้นการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ทางการเงินในอนาคต จะเป็นการผสานกันทั้งรูปแบบการเงินแบบมีตัวกลาง และไม่มีตัวกลาง เป็นการผนวกเอาข้อดีของทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกัน เพื่อหาตรงกลางให้กับทุกฝ่าย เนื่องจากถ้ามองตามความจริง เป็นไปไม่ได้เลยที่กลุ่มธนาคารจะปล่อยให้เกิดโลกการเงินกระจายศูนย์แบบเต็มรูปแบบ โดยที่เขาไม่อยู่ในกระบวนการ นี้ด้วย  ซึ่งหากเป็นจริงความเสียหายมันจะเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง รวมไปถึงเสียหายไปยังตลาดหุ้นด้วย มองว่าจากนี้ถ้า DeFi มันยังเวิร์ค จะค่อย ๆ เห็นการเปลี่ยนผ่าน และได้รับการยอมรับให้ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นเองจนเราไม่รู้สึกอะไร

3 กูรู DeFi มองอนาคต DeFi ไม่ใช่การแทนที่ระบบการเงินเก่า แต่เพิ่มโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์การเงินอย่างทั่วถึง

คิม กานต์นิธิ ทองธนากุล วิทยากรรับเชิญ เจ้าของเพจ Kim DeFi Daddy Co-Founder ของ Cryptomind Group และ CIO ของ Merkle Capital ได้ให้ความเห็นว่า เคยมีคนพูดไว้นานแล้วว่า DeFi จะกลายเป็นสิ่งที่ธนาคารต้องกลัว แต่ถ้าเราคิดเป็นเหตุเป็นผลกันดีดี จะไม่ใช่แบบนั้น DeFi ไม่ได้เป็นสิ่งที่ธนาคารต้องกลัวเลย มันเป็นสิ่งที่ธนาคารสามารถนำมาพัฒนาหรือยกระดับบริการทางการเงินให้ดีขึ้นได้ ยกตัวอย่างแพลตฟอร์ม DeFi ฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเจ้าหนึ่ง โดยสมมุติว่าแพลตฟอร์มนั้นมียอดฝากในแพลตฟอร์มอยู่ราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีพนักงานเขียนแพลตฟอร์มนี้แค่ 20 คนเท่านั้น ลองคิดในแง่เป็นเหตุเป็นผลกันอีกรอบ คนแค่ 20 คน ดูเเลเงินลูกค้ากว่าหมื่นล้านเหรียญ เขาดูแลสินทรัพย์ขนาดนั้นได้อย่างไร ทำไมผู้ใช้ถึงเชื่อ แต่เมื่อมาเทียบดูแล้ว ข้อดีที่เกิดขึ้นจากการทำแพลตฟอร์มแบบนี้ ส่งผลแน่ ๆ เลยคือต้นทุนของนักพัฒนาที่ลดความไม่จำเป็นลงไปอย่างมหาศาล ในขณะที่การทำธนาคารมีต้นทุนจิปาถะ ต้นทุนด้านสาขาอีกสาระพัด รวมถึงต้นทุนด้านแรงงานด้วย ฉะนั้น DeFi จะกลายเป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่จะมาช่วยยกระดับการเงินเหล่านี้ให้ดีขึ้น ตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพื่อนำไปโฟกัสในตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงมอบประโยชน์ไปสู่ผู้ใช้งานมากกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้เอง มองว่าจะกลายเป็นตัวกลางที่ธนาคาร หรือ Centrazlied Finance กับ Decetrazlied Finance จะรวมผสานเข้าหากันได้ในอนาคตอย่างแน่นอน

-------------------------------

กิจกรรม Forward The Future To Young Generation : เส้นทางสายอาชีพในอุตสหากรรม Blockchain ครั้งนี้ จัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BSD Chula) สามารถเข้าไปฟังแบบเต็ม ๆ ได้ที่ลิงก์นี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...