FRUITA BIOMED ร่วมกับ UNFI ส่งออกพลาสติกกันกระแทกชีวภาพ จาก Fruit Waste รายแรกของโลกสู่ตลาดสหรัฐฯ | Techsauce

FRUITA BIOMED ร่วมกับ UNFI ส่งออกพลาสติกกันกระแทกชีวภาพ จาก Fruit Waste รายแรกของโลกสู่ตลาดสหรัฐฯ

บริษัท ฟรุตต้า ไบโอเมด จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผลิตไบโอโพลิเมอร์ต้นน้ำประเภท PHA จากของเหลือการผลิตพืชผักผลไม้รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์อเมริกา จับมือร่วมกับ United Natural Foods Inc. (UNFI) ผู้ค้าส่งอาหารรายใหญ่ในตลาดสหรัฐฯ กระจายผลิตภัณฑ์พลาสติกกันกระแทก (Bubble Wrap) ภายใต้แบรนด์ ‘FruitPlast’ ในจุดจำหน่ายกว่า 70,000 แห่ง หนุนมาตรการบังคับลดการใช้พลาสติกใหม่จากปิโตรเคมี ดันผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเติบโตในตลาดอเมริกา เร่งขยายกำลังการผลิตรองรับความต้องการ

นายรักชัย เร่งสมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งและผู้นำทีมวิศวกรรม บริษัท ฟรุตต้า ไบโอเมด จำกัด เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์พลาสติกกันกระแทก (Bubble Wrap) ภายใต้แบรนด์ ‘FruitPlast’ หรือพลาสติกจากผลไม้  เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมองเห็นการเติบโตจากการค้าออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง หนุนให้มีการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้บรรจุภัณฑ์สำหรับกันกระแทกจึงเติบโตตามไปด้วย ซึ่งพลาสติกกันกระแทกมักใช้แล้วทิ้งเป็นส่วนใหญ่ ฟรุตต้า ไบโอเมด จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกกันกระแทกจากไบโอพลาสติกที่เพิ่มคุณสมบัติเด่นของ PHA ได้แก่ การป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น การป้องกันแสงยูวี ทนอุณหภูมิได้สูงถึง 160 องศาเซลเซียส รวมไปถึงการป้องกันกลิ่นและกันความชื้น เหมือนเป็น 2 in 1 เมื่อใช้งานจึงไม่จำเป็นต้องใช้ Silica Gel กันชื้น นับเป็นพลาสติกกันกระแทกรายแรกของโลกที่ใช้วัตถุดิบหลักเป็นของเหลือจากอุตสาหกรรมพืชผักผลไม้และขยะอาหารมาเป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยาชีวเคมี เพื่อเลี้ยงแบคทีเรียในเตาปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออโตเมชั่น กำหนดสภาวะบังคับให้แบคทีเรียเปลี่ยนโครงสร้างทางโมเลกุลของแหล่งคาร์บอนจากพืชผักผลไม้มาสะสมในตัวแบคทีเรีย แล้วจึงสกัดออกมาได้เป็น Biopolymer ชนิด PHA (Polyhydroxalkanoates)

นอกจากนี้ บริษัทฯได้ลงนามกับคู่ค้าในสหรัฐอเมริกากับบริษัท United Natural Foods Inc. (UNFI) ผู้ค้าส่งอาหารรายใหญ่ในตลาดสหรัฐฯ เซ็นสัญญาเป็นตัวแทนกระจายสินค้าในกลุ่ม Natural Supermarket และ Retail Stores ซึ่งมีประมาณ 70,000 จุดจำหน่ายทั่วสหรัฐฯ เพื่อกระจายสินค้าให้ครอบคลุม ขณะที่ตลาดในประเทศไทยและต่างประเทศได้เริ่มทำการเจรจากับตัวแทนจำหน่ายและคู่ค้าแต่เนื่องจากกำลังการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงควบคุมปริมาณการสั่งในแต่ละรายตามความเหมาะสมของคู่ค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย 

“เรายังคงเปิดกว้างสำหรับคู่ค้าที่สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งไม่ได้พิจารณาจากปริมาณการสั่งเป็นหลักเท่านั้น แต่ยังพิจารณาจากความสามารถในการสร้างความตระหนักรู้ (Communication & Contribution Impact) และสามารถช่วยกันสื่อสารผลักดันให้ผู้บริโภคและช่องทางจัดจำหน่ายเข้าใจเกี่ยวกับการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์ PHA ที่จะเป็นแบบ Home Compostable ย่อยสลายตามธรรมชาติทั่วไป แตกต่างจาก Biodegradable Plastic ทั่วไป ซึ่งต้องส่งไปโรงงานย่อยสลาย (Composting Facility) โดยใช้พลังงานและอุณหภูมิสูง เพราะเราอยากให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องขยะพลาสติกจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นคอนเซปใหม่ว่าย่อยสลายแต่ยังทิ้ง micro plastic หรือกระบวนการย่อยที่ยุ่งยากหรือใช้พลังงานสูงเพิ่มขึ้นมา แบบนั้นไม่แก้ปัญหา แต่จะไปสร้างปัญหาเพิ่มในการจัดการขยะและวงจรในการ recycle เพิ่มอีก ” นายรักชัย กล่าว

ขณะที่ผลิตภัณฑ์มีจุดเด่นภายนอกที่ชัดเจนด้วยลายนูนที่เป็นปุ่มกันกระแทกที่เรามักเรียกกันว่า ‘ปุ่มป๊อกแป๊ก’ บริษัทได้ออกแบบโมลด์เครื่องจักรโดยเฉพาะเป็นปุ่มนูนลาย ‘BIO’ มีความแตกต่างชัดเจนและจะมีสีขุ่นกว่าวัสดุประเภทอื่นเล็กน้อย โดยราคาราคาจะไม่แตกต่างจากพลาสติกทั่วไปมากนัก เนื่องจากโจทย์หลักในการพัฒนาเทคโนโลยีต้องการให้เข้าถึงได้ไบโอพลาสติกได้ง่ายด้วยต้นทุนไม่สูง เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกในปัจจุบัน ส่วนการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโพลิเมอร์ PHA นั้น จะมีระยะเวลาการย่อยสลายแตกต่างกันตามความแข็งแรงของโครงสร้างและความหนา ในระดับของพลาสติกกันกระแทก จะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี (ประมาณระยะเวลาการย่อยสลายของลูกมะพร้าว) ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทิ้ง ได้แก่ ความชื้น แสง และปริมาณจุลินทรีย์ โดยสามารถทิ้งไปในกลุ่มเดียวกับขยะอาหารได้

ทั้งนี้บริษัทได้เปิดกว้างเพื่อหาแนวร่วมในการปรับวิถีของร้านค้า ผู้ประกอบการ ให้เกิดความใส่ใจกับปัญหาด้านพลาสติกอย่างจริงจัง โดยจะพิจารณาศักยภาพของคู่ค้าที่เชื่อว่าสามารถช่วยกันผลักดันผลิตภัณฑ์และแนวคิดในการแก้ปัญหาร่วมกันได้ เบื้องต้นเปิดรับตัวแทนจำหน่ายใน 30 ประเทศ โดยประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนหารือกับพันธมิตรหลายๆ ส่วน หากผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ [email protected]


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...