Bangkok CyberTech District Sandbox โครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพไทยในระดับ Early Stage ที่จะช่วยติดสปีด Jump start เหล่าสตาร์ทอัพ ที่ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 264 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) กับ บริษัท ทรู ดิจิทัล พาร์ค และภาคีเครือข่าย เพื่อค้นหา 2 สตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพเหมาะสมที่จะได้รับเงินทุนเพื่อนำไปทดลองสนามทดสอบผลิตภัณฑ์ในตลาดกับกลุ่มผู้ใช้จริง ในพื้นที่ย่านนวัตกรรม Cybertech District เป็นจำนวน 150,000 บาทต่อทีม รวมไปถึงได้รับออฟฟิศทำงานที่ True Digital Park และโอกาสในการเข้าร่วม Workshop เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง นอกเหนือไปจากนั้นแล้วทั้งสองทีมยังจะได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ครอบคลุมในทุกแง่มุมของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะก้าวไปสู่ระดับสากล และเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมานี้ทางโครงการได้จัดกิจกรรม Presentation Day เพื่อให้สตาร์ทอัพทั้ง 2 ทีม ได้นำเสนอผลลัพธ์ที่น่าสนใจจากการทดสอบผลิตภัณฑ์ รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระหว่างการเข้าร่วมโครงการ อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปในอนาคต ไปทำความรู้จักผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 สตาร์ทอัพประจำโครงการ Bangkok CyberTech District Sandbox 2021 กันเลยดีกว่าว่าจะน่าสนใจขนาดไหน
ทีม Garoo-Let’s talk สตาร์ทอัพที่มุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการ One-stop service ทางด้านสุขภาพจิตแบบครบวงจร ผ่านรูปแบบของแอปพลิเคชัน มี 3 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่
นอกเหนือไปจากนี้แล้วทางทีมยังคงพัฒนาแอปพลิเคชันและการบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้ได้มั่นใจในความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (Privacy & Securities) รวมถึงได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด (Trusted Services with Warmly Support) โดยปราศจาก การตีตรา และการเลือกปฏิบัติ (Non Stigmatization) และแน่นอนว่าการพัฒนาของทีม Garoo จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนในเรื่องความสำคัญของสุขภาพจิตและวงการ Health Tech ของประเทศไทย โดยสามารถร่วมกันสนับสนุนและติดตามทีม Garoo-Let’s talk ได้ที่ https://www.facebook.com/Garooletstalk หรือ https://telemeditex.com Garoo-Let’s talk อีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่ใส่ใจสุขภาพใจของตัวเอง เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ทั้งบน iOS และ Android
ทีม UpSqill สตาร์ทอัพที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาวงการการศึกษาไทยด้วยพลังของเทคโนโลยี โดยเกิดจากการสังเกตเห็นปัญหาของการศึกษาทั่วไปที่ควรได้รับการแก้ไขใน 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่
ไปสู่การเริ่มต้นพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับนักเรียนหรือบุคคลทั่วไปที่จะเตรียมความพร้อมในการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษโดยมุ่งเน้นไปที่ข้อสอบ TOEIC เป็นอย่างแรกเนื่องจากเป็นข้อสอบที่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบ TOEIC จำลอง
เมื่อทำเสร็จระบบจะประมวลผลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ทำนายเปอร์เซ็นความสามารถของผู้ใช้เมื่อทำข้อสอบ TOEIC กล่าวคือ สามารถวัดระดับความสามารถของตนเองได้ผ่านการทำแบบทดสอบที่มีจำนวนข้อน้อยกว่าข้อสอบจริง อีกทั้งยังช่วยให้รู้ว่าคะแนนปัจจุบันห่างจากเป้าหมายเท่าไร พร้อมที่จะสอบจริงแล้วหรือไม่ ที่พิเศษไปกว่านั้นตัวแอพพลิเคชั่นยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มคะแนนได้มากกว่า 100 คะแนนด้วยเวลาเพียงแค่ 20 ชั่วโมงอีกด้วย! เปรียบเสมือนมีติวเตอร์ส่วนตัว เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และระบบยังช่วยนำเสนอคอร์สเรียนที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้ทดสอบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกเรียนได้ตามความเหมาะสม โดยในอนาคตทางทีมมีแผนในการขยายระบบให้ครอบคลุมถึงข้อสอบสนามต่าง ๆ รวมถึงเพิ่มฟีเจอร์อื่น ๆ ในการเตรียมความพร้อมอีกด้วย โดยคาดว่าจะมีการเปิดให้ทดลองใช้แอปพลิเคชันได้ในช่วงปลายปี 2564 - ต้นปี 2565 และหากการพัฒนาระบบ AI ของ UpSqill ได้ผลตรงตามที่คาดการณ์ไว้ ทางทีมจะมีการพัฒนาต่อยอดไปสู่การเรียนการสอนในรูปแบบหรือวิชาอื่น ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย UpSqill อีกหนึ่งสตาร์ทในสาขา EdTech ของไทยที่น่าจับตามองที่จะช่วยขับเคลื่อนวงการการศึกษาไืทนให้ก้าวหน้าไปได้ในอนาคตอย่างแน่นอน
หลังจากเข้าร่วมโครงการ Bangkok CyberTech District Sandbox แล้ว มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างไหม ทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล ?
UpSqill : “เปลี่ยนแปลงแน่นอนครับ อย่างแรกเลยเป็นส่วนของความรู้ที่เพิ่มขึ้นทั้งจากกิจกรรม workshop และ weekly mentorship เลยครับ ทั้งเรื่อง Digital marketing strategy หรือการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล เรื่อง Financial Planning for Startup หรือการวางแผนทางการเงิน และที่ขาดไม่ได้คือเรื่อง Product Testing หรือการทดสอบผลิตภัณฑ์ ที่ได้ทั้งลงมือวางแผน ทดสอบกับผู้ใช้จริง ๆ และวิเคราะห์ผลครับ จากความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างเข้าร่วมโครงการทำให้ได้มองในหลายมิติมากขึ้น ได้เปิดโลกทัศน์และคิดว่าจะมีประโยชน์อย่างมากในการคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตครับ ในระดับขององค์กรคิดว่าสมาชิกในทีมมองเห็นเป้าหมายเดียวกันชัดเจนมากขึ้นครับ มีความสามัคคีกันมากขึ้นด้วย”
Garoo : “สำหรับในระดับบุคคลคิดว่าจากกิจกรรมของทางโครงการที่เข้าร่วมเนี่ยทำให้เราคิดกันเป็นระบบมากขึ้น มีความรู้ในหลายด้านที่จำเป็นต่อผลิตภัณฑ์ของเรามากขึ้น และที่สำคัญเลยคือการได้ทดสอบผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้จริง มันทำให้เราได้ค้นพบความจริงจาก user หลาย ๆ ข้อลึกยิ่งขึ้นแล้วมั่นใจในการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้นอีกด้วย”
สามารถติดตามติดตามกิจกรรมที่จะส่งเสริมศักยพภาพของสตาร์ทอัพไทยได้ผ่านทางหน้า FACEBOOK fanpage : Global Startup Hub Thailand และ True Digital Park รวมไปถึงหน้าเว็บไซต์ของ True Digital Park
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด