บทความโดยคุณ Saikrishnan Ranganathan ประธานบริหาร ของ SensorFlow
การใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพไม่ใช่แนวคิดที่ใหม่สำหรับผู้คนในประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้กำหนดนโยบายยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการใช้ชีวิตของคนไทยด้วยการใช้โอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจดิจิทัลโดยมีวัตถุประสงค์ของแผนงานอยู่ใน วาระของประเทศไทย 4.0 โดยวัตถุประสงค์สี่ประการมุ่งเน้นไปในเรื่องของการยกระดับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศผ่านการใช้นวัตกรรม อีกทั้งยังให้ความสนใจกับประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งของความยั่งยืน: การปกป้องสิ่งแวดล้อม
ในประเทศไทยผู้ที่อยู่ในวงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างพยายามค้นหาสิ่งที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้ โดยมีหนึ่งประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจคือการพัฒนา Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ การนำเสนอของดร. ภาสกร ประถมบุตร จากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งประเทศไทย (DEPA) ได้กล่าวถึงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศโดยอธิบายว่าเทคโนโลยีอย่างข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ ระบบทางกายภาพทางไซเบอร์สามารถถูกยกระดับและนำมาใช้มากขึ้นเพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการเติบโตในระดับมหานคร ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางสำหรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี นอกจากการมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของภาคเศรษฐกิจเดิมแล้ว นวัตกรรมเหล่านี้ยังสามารถใช้ในการยกมาตรฐานของความยั่งยืนในเมืองต่างๆของประเทศอีกด้วย
แต่อะไรคือความหมายของ 'เมืองอัจฉริยะ' ? หัวใจหลักของเมืองอัจฉริยะคือเมืองที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและบริการสำหรับผู้อยู่อาศัย ทั้งหมดนี้รวมไปถึงการลดต้นทุน การจัดการทรัพยากร และการเชื่อมต่อกับประชาชน ถ้าพูดให้เข้าใจได้ง่ายก็คือการหาวิธีที่จะใช้ทรัพยากรและพลังงานของเมืองให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองไปพร้อมๆ กัน
ประเด็นของพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญเนื่องจากการเป็นปัจจัยสำคัญในการประยุกต์ใช้ Smart Energy ซึ่งมุ่งที่จะเปลี่ยนบริการหลักๆ ของเมืองให้ใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมหรือพลังงานขยะแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในปัจจุบันมีการใช้งานระบบ Smart grid หรือเครือข่ายการจัดหาไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของอุปสงค์และอุปทานพลังงานในท้องถิ่น รวมถึงการออกแบบการใช้พลังงานสำหรับอาคารและการศึกษาอย่างประหยัดเพื่อให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หลายเมืองในประเทศกำลังพัฒนาเริ่มนำระบบ Smart grid มาใช้ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตลาดเกิดใหม่นั้นต่างมีโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าที่ยังไม่พัฒนา ทั้งที่จะต้องตอบสนองความต้องการไฟฟ้าสูงเนื่องจากเมืองของพวกเขากำลังแข่งขันกันเพื่อการเติบโตที่รวดเร็วขึ้น และในเวลาเดียวกันก็การขาดการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลท้องถิ่นจึงเป็นการยับยั้งการยอมรับอย่างกว้างขวางในเมืองเหล่านี้
ดังนั้นแล้วการจะริเริ่มเมืองอัจฉริยะนั้นไม่ได้อยู่แค่ภายใต้อำนาจของผู้กำหนดนโยบายหรือผู้อยู่อาศัยในเมืองเท่านั้น ธุรกิจต่างๆก็มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแสวงหาความยั่งยืน ภาคธุรกิจหนึ่งที่คนทั่วไปอาจจะไม่นึกถึงเมื่อพูดถึงประเด็นของพลังงานคืออุตสาหกรรมโรงแรม ที่ทำงานตลอดเวลา 365 วันต่อปีเพื่อให้บริการแก่ผู้เข้าพัก ดังนั้นปริมาณการบริโภคไฟฟ้าและพลังงานความร้อนนั้นมหาศาลมากเมื่อเทียบกับธุรกิจประเภทอื่นๆ ซึ่งนี่คือหนึ่งตัวอย่างที่การให้ความสำคัญเรื่องพลังงานสามารถสร้างผลกระทบได้จริงๆ ด้วยวิธีการจัดการพลังงานที่ดีขึ้น โรงแรมจะสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มรายได้ ในขณะที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย
ย้อนกลับไปสู่ประเทศไทยเมื่อปี 2559 เราได้รับคลื่นความร้อนที่ยาวนานที่สุดในรอบกว่าหกทศวรรษ โดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 44.6 องศาเซลเซียส ถือเป็นโชคร้ายสำหรับผู้ประกอบการโรงแรม ที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นอย่างมากเพื่อที่จะรักษาความสะดวกสบายของแขกผู้มาพักผ่อน อย่างไรก็ตามผลกระทบที่รุนแรงกว่าคือผู้คนพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังโรงแรมที่อยู่ท่ามกลางคลื่นความร้อน ดังนั้นแล้วการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นธุรกิจโรงแรมก็มีแนวโน้มจะเสียเปรียบ ไม่ต่างไปจากธุรกิจอื่นๆ เลย
ข่าวดีก็คือประเทศไทยนั้นดำเนินการอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่นแคมเปญท่องเที่ยวสีเขียวของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนให้โรงแรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยมีหนังสือคู่มือจากกระทรวงพลังงานแนะนำวิธีที่โรงแรมควรคำนวณและวางแผนการใช้พลังงานและทรัพยากร รวมถึงระบบประปาน้ำ ไฟ และเครื่องปรับอากาศ ถึงจะมีข้อมูลการรับมือที่เหมาะสมแต่ก็ไม่อาจทราบได้ว่าโรงแรมมีมาตรการในการใช้ข้อมูลนี้อย่างไร มากน้อยแค่ไหน เข้าใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการจัดการพลังงานแบบเดิมอาจเป็นเรื่องยากสำหรับโรงแรมที่จะต้องการฝึกฝนพนักงานให้ปฏิบัติงานใหม่และการแสวงหาพลังงานเหล่านี้จะยิ่งยากขึ้นในระดับอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีใหม่ ที่รวมไปถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยจัดการทรัพยากรได้ด้วยเทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่นเทคโนโลยีกลุ่มเซนเซอร์และระบบหลังบ้านที่สามารถช่วยให้พนักงานโรงแรมตรวจสอบและจัดการการใช้พลังงานได้ดีขึ้น โดยสามารถควบคุมอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับที่ประหยัดพลังงานได้ เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มความยั่งยืนในระดับองค์รวม
เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ดังกล่าวมีระบบการติดตั้งและการใช้งานสามารถทำได้อย่างสะดวกแต่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายนัก ผู้ประกอบการมากมายที่เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการบริหารทรัพยากร จึงอาจเกิดความลังเลได้เนื่องจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานโครงสร้างพื้นฐานของระบบปัจจุบัน
แต่ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีเหล่านี้มีวิธีติดตั้งที่ไม่ซับซ้อน และถูกวางแผนออกมาเพื่อให้ใช้แรงงานบุคลากรน้อยที่สุดจนถึงขั้นที่ไม่ต้องใช้บุคลากรในการดำเนินการเลย เพื่อไม่ให้กระทบกับประสิทธิภาพในการทำงาน และความเรียบง่ายในการฝึกพนักงานให้ใช้และจัดการเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่อาจสำคัญที่สุดในเชิงธุรกิจคือค่าใช้จ่ายล่วงหน้าซึ่งเป็นหลักใหญ่ๆที่ผู้ที่มีอำนาจมักจะใช้ตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีตามความเหมาะสม
ในปัจจุบันนี้เราต่างได้รับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโลก ทำให้ผู้คนมากมายทั่วโลกมองหาวิธีในการที่จะรับมือกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อม และตอนนี้พวกเขาต้องการสิ่งเดียวกันจากธุรกิจที่เขาจะมีส่วนในการสนับสนุนด้วย พูดได้ว่าธุรกิจโรงแรมได้มาถึงจุดเชื่อมต่อสำคัญในยุคที่วงการโรงแรมมีการเปลี่ยนแปลง พวกเขาต้องพัฒนาให้ทันยุคสมัย ไม่ใช่เพียงเพื่อดูว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ของตัวเองและลูกค้าได้อย่างไร แต่รวมไปถึงโลกรอบตัวพวกเขาด้วย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด