Huawei จัดงาน HUAWEI CONNECT 2021 ขับเคลื่อน Ecosystem สู่ความเป็นดิจิทัล | Techsauce

Huawei จัดงาน HUAWEI CONNECT 2021 ขับเคลื่อน Ecosystem สู่ความเป็นดิจิทัล

หัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดฉากอีเวนต์แรกในวงการไอซีทีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) อย่าง HUAWEI CONNECT 2021 – ASIA PACIFIC ในวันนี้ โดยใช้หัวข้อว่า "ลุยโลกดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก" (Dive into Digital in Asia-Pacific) เพื่อสำรวจแนวทางในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ผนวกรวมกับสถานการณ์ทางธุรกิจและองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม เพื่อใช้จัดการปัญหาท้าทายสำคัญต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ รวมถึงแนวทางส่งเสริมความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนอีโคซิสเต็มแบบเปิดกว้างในอุตสาหกรรมพร้อมผลักดันความสำเร็จร่วมกัน

อีเวนต์นี้มีการกล่าวคำปราศรัยสำคัญเพื่อเปิดงานสามช่วง โดยมีเหล่า CXO ร่วมแชร์วิสัยทัศน์และประสบการณ์ในการยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกรวมกันราว 15 ท่านทั้งจากภาครัฐและเอกชนทั่วภูมิภาค ไม่ว่าจะมาจาก Sunseap Group, KBank, University Malaya, Union Bank, Toyota Astra, Bank Central Asia (BCA), UCARS และแขกท่านอื่น ๆ จากรัฐบาล

คุณ Jeffery Liu ประธานหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก เปิดเผยขณะกล่าวคำปราศรัยสำคัญว่า การยกระดับสู่ดิจิทัลเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนและเห็นได้จริงมากกว่าที่เคย โดยหัวเว่ยจะนำเทคโนโลยีไอซีทีล้ำสมัยมาใช้ เพื่อช่วยลูกค้าเร่งการยกระดับสู่ดิจิทัล สำหรับเอเชียแปซิฟิกนั้น หัวเว่ยจะมุ่งเน้น 4 ขอบข่ายหลักด้วยกัน ได้แก่ บริการคลาวด์ การพัฒนาคาร์บอนต่ำ โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ไปจนถึงการสร้างพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มและฝึกอบรมบุคลากรสายดิจิทัล หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการเป็นพาร์ทเนอร์ในดวงใจเพื่อช่วยยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัลในภูมิภาค

คุณ Jeffery กล่าวว่า "ในเอเชียแปซิฟิก HUAWEI CLOUD ดำเนินงานในพื้นที่ให้บริการ 7 แห่ง และมีทีมบริการในพื้นที่กระจายอยู่กว่า 10 ประเทศ หัวเว่ยผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาบริการพลังดิจิทัลสุดล้ำโดยใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่ทำได้ พร้อมลดการปล่อยคาร์บอนของโครงสร้างไอซีทีพื้นฐานด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าสะอาด การขนส่งระบบไฟฟ้า และการจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะมาใช้ เพื่อช่วยลูกค้าประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในแต่ละปี หัวเว่ยนำรายได้กว่า 10% ไปลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ส่งมอบคุณประโยชน์ให้อุตสาหกรรมและสังคมผ่านนวัตกรรมล้ำสมัย ช่วยลูกค้ายกระดับเป็นดิจิทัลด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ลึกล้ำและเชื่อถือได้ โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะยังคงฝึกอบรมบุคลากรสายไอซีทีอีกกว่าแสนคนในเอเชียแปซิฟิก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบุคลากรในการยกระดับสู่ดิจิทัล"

ในเซสชันแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับความเป็นผู้นำทางดิจิทัลนั้น ศาสตราจารย์ Alex Siow จาก NUS ได้บอกเล่าเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดใหม่ในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ และทิศทางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้ ตลอดจนผลกระทบจากการแพร่ระบาด โดยกล่าวว่า "ความเป็นผู้นำทางดิจิทัลคือการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ โดยผู้นำทางดิจิทัลจำเป็นต้องสำรวจหาแนวทางในการใช้เทคโนโลยี เพื่อช่วยให้ธุรกิจของตนตอบรับกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น และสอดรับกับข้อกำหนดทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ ผู้นำทางดิจิทัลจำเป็นต้องเป็นผู้นำการยกระดับสู่ดิจิทัล และช่วยให้ลูกค้ามีความเป็นดิจิทัลและคล่องตัวมากขึ้น เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว"

อีเวนต์นี้ได้เชิญบริษัทใหญ่ ๆ เช่น PSA Corporation Ltd, Sunway Berhad Malaysia, Integrated Health Information System (IHIS) Singapore, Singapore Press Holdings (SPH) ไปจนถึง ศ. ดร. De Crème จาก NUS มาร่วมการอภิปรายแบบเปิดกว้าง และแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับการเติบโตในฐานะองค์กรดิจิทัล และช่วยบรรดาผู้นำอุตสาหกรรมในการยกระดับธุรกิจจากแง่มุมที่แตกต่างออกไป โดยในการอภิปรายที่ว่านี้ คุณ Ho Vee Leung ประธานฝ่าย Infocomm Technology & Data ของ PSA ได้บอกเล่าคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น 5G ซึ่งรองรับแบนด์วิดท์ได้สูงและรับส่งข้อมูลได้โดยมีความหน่วงต่ำ ในการเปิดโอกาสให้ควบคุมอุปกรณ์ทางไกลได้แบบเรียลไทม์ในสภาวะแวดล้อมพอร์ตแบบเปิด และบทบาทของเทคโนโลยี IoT อัจฉริยะ ในการทำให้บริหารจัดการและปรับปรุงการใช้พลังงานในอุปกรณ์ปลายทางได้ดียิ่งขึ้น ปรับสมดุลความต้องการในจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด และลดความเสี่ยงที่จะเกิดการหยุดชะงักเพราะพลังงาน ขณะที่คุณ Alan Goh ผู้ช่วยประธานบริหารของ IHIS ก็ได้แชร์ประสบการณ์ของ IHIS ในการใช้เทคโนโลยีสร้างคุณประโยชน์ในแวดวงบริการสุขภาพ โดยยกโครงการฉีดวัคซีนในสิงคโปร์มาเป็นตัวอย่าง ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้อัปเดตความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนได้แบบเรียลไทม์ ส่วนคุณ Kevin Khoo ซีไอโอจาก Sunway Berhad Malaysia ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างล้ำลึกในการบริหารเครือบริษัทขนาดใหญ่เพื่อยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัล รวมถึงความสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์กับเวนเดอร์ให้แน่นแฟ้น ด้านคุณ Glen Francis ซีทีโอของ SPH เปิดเผยว่า ผู้นำและผู้มีส่วนร่วมควรเดินในทางเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องสร้างเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่ในองค์กร และการสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะปัญหาท้าทายในการยกระดับสู่ดิจิทัล

ในการอภิปรายนี้ คุณ Nicholas Ma ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก ชี้ให้เห็นว่า การยกระดับสู่ดิจิทัลไม่ได้เป็นเพียงกลยุทธ์แบบสำเร็จรูปที่ให้ผลลัพธ์ได้ทันที การยกระดับสู่ความเป็นดิจิทัลมีองค์ประกอบสำคัญมาก ๆ อยู่ 2 ประการ อย่างแรกคือองค์กร และสองคือเทคโนโลยี โดยในการจัดการกับปัญหาเรื่องทักษะและยกระดับความคล่องตัวขององค์กรนั้น หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าลงทุนในการบ่มเพาะบุคลากรมากความสามารถในสายดิจิทัล และทำงานกับพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบโซลูชันใหม่ ๆ ตามสภาวการณ์ต่าง ๆ ในการยกระดับสู่ดิจิทัล ซึ่งคุณ Nicholas Ma กล่าวไว้ว่า "เมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น คลาวด์ และ AI มีความก้าวหน้ามากขึ้น เทคโนโลยีดิจิทัลก็เป็นสิ่งที่นำไปใช้ต่อยอดจากการใช้งานในสำนักงานได้ โดยนำไปใช้ในระบบการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงผลิตภาพไปเลย เราผนึกกำลังกับพาร์ทเนอร์ เพื่อใช้เวลาหาวิธีใช้เทคโนโลยีและโซลูชันระดับแนวหน้าของเราให้ได้ผลดีที่สุด ทำความเข้าใจธุรกิจของลูกค้า โดยเน้นที่ปัญหาท้าทายของลูกค้า แล้วจึงพัฒนาโซลูชันเพื่อสนับสนุนพวกเขาโดยเฉพาะ ในการทำเช่นนี้ เราได้สร้าง Open Lab 13 แห่งทั่วโลกเพื่อสนับสนุนการร่วมคิดค้นนวัตกรรม และสำหรับเอเชียแปซิฟิกนั้น เรามี OpenLab ในสิงคโปร์และไทย"

Brandon Wu ซีทีโอกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก เปิดเผยว่า หัวเว่ยมีแผนในการมอบประสบการณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องให้องค์กรต่าง ๆ พร้อมใช้แอปพลิเคชันแบบคลาวด์เนทีฟที่ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การทำงานข้ามคลาวด์ หรือทราฟฟิก นอกจากนี้ หัวเว่ยยังงัดใช้นวัตกรรมไอซีทีเพื่อการประหยัดพลังงานและความยั่งยืน ด้วยการนำเสนอไซต์งานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับประสิทธิภาพของเครือข่ายศูนย์ข้อมูล และนำเสนอการเชื่อมต่อที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการขยายการเชื่อมต่อแบบออปติคอลครอบคลุมเครือข่ายครัวเรือนและแคมปัส เพื่อลดการใช้พลังงานลงอีก

นอกจากนี้ คุณ Brandon Wu ยังได้บอกเล่านวัตกรรมล่าสุดที่หัวเว่ยเตรียมเปิดตัวในตลาดด้วย ได้แก่

  1. โซลูชัน OptiXsense ของหัวเว่ย และผลิตภัณฑ์รุ่น EF3000 ซึ่งทำหน้าที่วัดการสั่นของเลเซอร์ เพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่อยู่แวดล้อมวัตถุที่กำลังตรวจสอบ เพื่อให้ลดสัญญาณเตือนที่ผิดพลาดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
  2. ออฟฟิศดิจิทัล ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอัจฉริยะอย่าง "Office Twins" ได้แก่ Wi-Fi 6e AP และ HUAWEI IdeaHub เพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้ห้องประชุมและประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศ ด้วยความร่วมมือที่ไหลลื่นระดับกิกะบิตในทุกหนทุกแห่ง
  3. โซลูชันเครือข่าย IP เชิงกำหนดตัวแรกของอุตสาหกรรม ซึ่งรองรับการวางเครือข่ายแบบ multi-hop ได้หลายหมื่นโหนด เพื่อให้เครือข่าย IP ทำงานในลักษณะเชิงกำหนด ส่งผลให้โรงงานดิจิทัลทำงานแบบไม่ใช้แรงงานมนุษย์ได้
  4. เครือข่ายการขนส่งทางแสง (OTN) แบบไฮบริด หัวเว่ยได้ผสานจุดแข็งทางเทคโนโลยีของ PON และ OTN เข้าด้วยกัน จนกลายเป็น H-OTN ตัวแรกในตลาด ซึ่งช่วยลดการสูญเสียแพ็คเก็ต ขณะที่ทำงานได้น่าเชื่อถือ 99.999% สำหรับบริการที่สำคัญต่อธุรกิจ
  5. OceanStor Pacific ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายตัวแรกของอุตสาหกรรมสำหรับ High Performance Data Analytics (HPDA) โซลูชันนี้ทำให้ประมวลผลข้อมูลระหว่างบิ๊กดาต้า, AI และการประมวลผลสมรรถนะสูงรวมกันได้ ทั้งยังรวมขีดความสามารถในการจัดเก็บลงในอุปกรณ์ตัวเดียว โดยมีกระแสข้อมูลแบบปรับตัวรองรับ IO ทั้งขนาดเล็กและใหญ่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...