HUAWEI เรียกร้องสหรัฐฯ ปลดแบนหัวเว่ยโดยใช้ปัญหา 'ความปลอดภัยทางไซเบอร์' เป็นข้ออ้าง | Techsauce

HUAWEI เรียกร้องสหรัฐฯ ปลดแบนหัวเว่ยโดยใช้ปัญหา 'ความปลอดภัยทางไซเบอร์' เป็นข้ออ้าง

หัวเว่ยได้ยื่นคำร้องเพื่อขอสรุปคำตัดสิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดค้านในชั้นศาลต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 889 ของกฎหมายการป้องกันประเทศ ปี 2562 (2019 NDAA) ของสหรัฐฯ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ยุติแคมเปญคว่ำบาตรหัวเว่ย เพราะไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์

การแบนหัวเว่ยโดยใช้ปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์มาเป็นข้ออ้าง “จะไม่ช่วยให้เครือข่ายปลอดภัยขึ้น และยังก่อให้เกิดความเข้าใจที่ผิดๆ ในเรื่องความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาที่แท้จริงที่เรากำลังเผชิญอยู่” นายซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายของหัวเว่ย กล่าว

“นักการเมืองสหรัฐฯ กำลังใช้อำนาจทั้งหมดของประเทศมาโจมตีบริษัทเอกชนเพียงแห่งเดียว”

“ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องปกติ และแทบจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยด้วยซ้ำ”

“รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าหัวเว่ยเป็นภัยคุกคามด้านความปลอดภัย เป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่มีที่มาที่ไป ทั้งหมดเป็นแค่การคาดเดาทั้งสิ้น” นายซ่ง กล่าวเสริม

ในเอกสารคำร้อง หัวเว่ยโต้แย้งว่า มาตรา 889 ของกฎหมายการป้องกันประเทศ ปี 2562 ของสหรัฐฯ มีการระบุชื่อหัวเว่ยโดยตรง โดยนอกจากจะห้ามไม่ให้หน่วยงานภาครัฐของสหรัฐฯ ซื้ออุปกรณ์และบริการต่างๆ จากหัวเว่ยแล้ว ยังห้ามหน่วยงานดังกล่าวไม่ให้ทำสัญญา มอบเงินทุนหรือปล่อยเงินกู้ยืมให้กับบุคคลที่สามที่ซื้ออุปกรณ์หรือบริการของหัวเว่ยด้วย แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบหรือความเชื่อมโยงใดๆ กับรัฐบาลสหรัฐฯ เลยก็ตาม

นายซ่ง ยังได้กล่าวถึงการเพิ่มชื่อหัวเว่ยเข้าไปในรายชื่อ “Entity List” ของกระทรวงพาณิชย์ สหรัฐอเมริกา เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า “การกระทำเช่นนี้จะกลายเป็นแบบอย่างที่อันตราย วันนี้เขาพุ่งเป้ามาที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมและหัวเว่ย ทว่าพรุ่งนี้อาจจะเป็นอุตสาหกรรมของคุณ บริษัทของคุณ หรือผู้บริโภคของคุณก็เป็นได้”  เขากล่าว

“ระบบตุลาการเป็นปราการด่านสุดท้ายของการผดุงความยุติธรรม หัวเว่ยมีความมั่นใจในความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของระบบศาลสหรัฐฯ เราหวังว่าศาลจะสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในกฎหมายการป้องกันประเทศของสหรัฐฯได้” นายซ่ง กล่าว

มร. เกลน เนเกอร์ หัวหน้าที่ปรึกษาของหัวเว่ยในคดีนี้ กล่าวว่ามาตรา 889 ของกฎหมายการป้องกันประเทศ ปี 2562 ของสหรัฐฯ ละเมิดกฎหมายจำกัดตัดสิทธิบุคคล กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย และเงื่อนไขกำหนดการแบ่งแยกอำนาจของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น คดีนี้จึงเป็น “เรื่องของกฎหมาย” โดยแท้ เนื่องจากประเด็นนี้ไม่มีข้อเท็จจริงเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้เราต้องยื่นคำร้องเพื่อขอสรุปคำตัดสินเพื่อเร่งกระบวนการในชั้นศาล

หัวเว่ยเชื่อว่า การที่สหรัฐฯ พยายามทำลายหัวเว่ยจะไม่ช่วยให้เครือข่ายมีความปลอดภัยมากขึ้น หัวเว่ยหวังว่าสหรัฐฯ จะเลือกแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและใช้มาตรการที่ซื่อตรงและมีประสิทธิผลเพื่อพัฒนาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ดีขึ้นเพื่อทุกคน หากว่าเป้าหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นเรื่องความปลอดภัยจริงๆ

เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งศาล การพิจารณาไต่สวนคำร้องจะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2562

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...