UNDP เผยการพัฒนามนุษย์ทั่วโลกเติบโตต่ำสุดในรอบ 35 ปี ไทยอยู่อันดับที่ 76

ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 76 จาก 193 ประเทศในรายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปีพ.ศ. 2568 ของ UNDP 

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เปิดเผยรายงานฉบับใหม่ที่ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนา มนุษย์กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยการเพิ่มขึ้นของการพัฒนามนุษย์ทั่วโลกที่ คาดการณ์ไว้สำหรับปีพ.ศ. 2568 ถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการวัดผลในปีพ.ศ. 2533 

เมื่อเผชิญกับการพัฒนามนุษย์ที่เติบโตต่ำที่สุดในรอบ 35 ปี รายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปีพ.ศ. 2568 (Human  Development Report 2025) ของ UNDP จึงสนับสนุนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้วยแนวทางใหม่ๆ รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งผลการสำรวจเกี่ยวกับ AI ทั่วโลกครั้งใหม่ในรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าผู้คน ยังคงมองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก AI ตามความเป็นจริง แต่ในขณะเดียวกันก็มองการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมี ความหวัง โดยร้อยละ 60 ของผู้คนทั่วโลกมอง AI ในแง่ดีว่าจะสร้างโอกาสในการทำงานให้กับมนุษย์ได้ 

รายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปีพ.ศ. 2568 ของ UNDP ภายใต้หัวข้อ "ทางเลือกที่สำคัญ: ผู้คนและความเป็นไปได้ใน ยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI)" ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอายุขัยเฉลี่ย จำนวนปีการศึกษา และรายได้มวลรวมประชาชาติ (Gross National Income: GNI) ของแต่ละประเทศทั่วโลก เพื่อพัฒนาดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human  Development Index: HDI) ซึ่งเป็นมาตรวัดการพัฒนาของมนุษย์ที่ครอบคลุมกว่าการวัดด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว 

  • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 76 จาก 193 ประเทศ ทำให้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี ‘การพัฒนามนุษย์สูง’ (High Human Development) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่สูงเป็นอันดับสองจากการจัดกลุ่มทั้งหมด โดยดัชนี การพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยลดลงมาเล็กน้อยจากปีที่แล้วที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ‘การพัฒนามนุษย์สูงมาก’ (Very High  Human Development) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอายุขัยเฉลี่ยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์ ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่าง บรูไน จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์

ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์อย่างรวดเร็วที่สุดในโลกในช่วงปีพ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2566 โดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก รวมถึงเอเชียใต้ ต่างเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ  50 อย่างไรก็ตามดัชนีการพัฒนามนุษย์ล่าสุดสะท้อนภาพรวมของโลกที่น่าเป็นห่วง อย่างความก้าวหน้าของทุกภูมิภาคทั่วโลก ที่ชะลอตัวลง และความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศร่ำรวยและยากจนที่ขยายกว้างมากขึ้น โดยช่องว่างระหว่างประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่างกับประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมากขยายกว้างมากขึ้นเป็นระยะเวลาสี่ปีติดต่อกัน 

อาคิม สไตเนอร์ (Achim Steiner) ผู้อำนวยการใหญ่ประจำ UNDP กล่าวว่า “หลายทศวรรษที่ผ่านมา เราถือว่าอยู่ ในกรอบเวลาที่จะบรรลุเป้าหมายที่โลกมีการพัฒนามนุษย์สูงภายในปี พ.ศ. 2573 แต่การชะลอตัวที่เกิดขึ้นครั้งนี้ส่งสัญญาณแห่งภัยคุกคามที่แท้จริงต่อความก้าวหน้าของการพัฒนามนุษย์ระดับโลก หากความก้าวหน้าที่ล่าช้าในปีพ.ศ. 2567 กลายเป็น 'บรรทัดฐานใหม่' ของประเทศต่างๆ เป้าหมายสำคัญที่เราอยากให้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2573 จะล่าช้าไปอีก หลายทศวรรษ ซึ่งจะทำให้โลกของเรามีความปลอดภัยน้อยลง แตกแยกมากขึ้น และเสี่ยงต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศมากขึ้น 

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของ UNDP ได้เพิ่มชั้นข้อมูลในการการวิเคราะห์การพัฒนามนุษย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นว่า อะไรเป็นตัว ‘ขับเคลื่อน’และ ‘ทำลาย’ ความก้าวหน้าของการพัฒนาในแต่ละประเทศ 

  • สำหรับดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ที่ถูกวิเคราะห์เพิ่มเติมคู่กับข้อมูลด้านความเหลื่อมล้ำ (Inequality-adjusted HDI: IHDI) พบว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยลดลง ขณะที่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ถูกวิเคราะห์เพิ่มเติมคู่กับข้อมูลด้านความเท่าเทียมทางเพศ ประเทศไทยกลับมีผลการดำเนินงานที่ดี เช่นเดียวกับสิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่ความก้าวหน้าใน ด้านสุขภาพ การศึกษา และรายได้ของชายและหญิงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน 

ประเทศไทยและมองโกเลียยังเป็นเพียงสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย โดยค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของผู้หญิงไทยอยู่ที่ 0.802 ซึ่งสูงกว่าค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของของผู้ชายไทยเล็กน้อย ซึ่งอยู่ ที่ 0.795

สำหรับการพัฒนามนุษย์ของไทยที่ถูกวิเคราะห์ในสมการว่าการพัฒนามนุษย์มีต้นทุนที่ส่งผลกระทบต่อโลกมากน้อยแค่ไหน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และรอยเท้าทางวัตถุ พบว่า คะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ของไทยลดลง เล็กน้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Planetary pressures– adjusted HDI: PHDI) ที่อยู่ที่ 0.726 ซึ่งยังถือว่าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน สะท้อนให้เห็นถึงความ มุ่งมั่นของประเทศไทยต่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่เป็นบวกต่อธรรมชาติ 

เมื่อการพัฒนามนุษย์ทั่วโลกชะลอตัว รายงานฉบับนี้จึงเน้นถึงแนวทางใหม่ ๆ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ด้วยการนำเสนอผลการสำรวจทั่วโลกเกี่ยวกับ AI ครั้งใหม่ ที่แสดงให้เห็นว่าผู้คนมองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก AI ตามความเป็นจริง แต่ก็มีความหวังว่า AI จะสามารถนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การพัฒนามนุษย์ได้ โดยผู้ตอบแบบสำรวจครึ่งหนึ่งจากทั่วโลกคิดว่างานของตนอาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี แต่ 6 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า ยังคาดหวังว่า AI จะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการจ้างงาน รวมถึงสร้างโอกาสในการทำงานที่อาจยังไม่มีอยู่ในปัจจุบัน 

  1. มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่กลัวว่า AI อาจนำไปสู่การสูญเสียงาน ในทางตรงกันข้าม ในประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำและปานกลางพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสำรวจคาดหวังว่า AI จะช่วยเพิ่มผลผลิต และผู้ตอบแบบสำรวจ 2 ใน 3 คาดว่าจะใช้ AI ในด้านการศึกษา สุขภาพ หรือการทำงานภายในปีหน้า 
  2. ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 1 ใน 5 รายงานว่า พวกเขาใช้ AI อยู่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนำ AI มาใช้จริงอย่างทั่วถึง 
  3. ผู้ตอบแบบสำรวจ 2 ใน 3 ในประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ต่ำคาดว่าจะใช้ AI ในการศึกษา สุขภาพ หรือการทำงานภายในปีหน้าซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ต

นีฟ มารี คอลิเออร์-สมิธ (Niamh Collier-Smith) ผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย กล่าวว่า "เราหวังว่าข้อมูล การพัฒนามนุษย์ในปีนี้จะส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่น่าเสียดายที่สิ่งที่เราเห็นคือการชะลอตัวของการพัฒนาของมนุษย์ทั่วโลก ถึงอย่างนั้น ยังมีหลายวิธีที่จะปรับเปลี่ยนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งรวมถึงการนำ AI เข้ามาช่วย เพราะผลสำรวจทั่วโลกของ UNDP แสดงให้เห็นว่า ผู้คนมองว่า AI เป็นโอกาสเพียงหนึ่งครั้งในรอบชั่วอายุคน ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูการพัฒนามนุษย์ นับเป็นการส่งข้อความให้กับประเทศไทยและแต่ละประเทศในการคว้าโอกาสนี ้ไว้ตอนนี ้”

รายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปีพ.ศ. 2568 อธิบาย 3 ขั้นตอนที่แต่ละประเทศสามารถดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์จาก  AI ในการพัฒนาของมนุษย์: 

  • สร้างเศรษฐกิจที่ผู้คนสามารถทำงานร่วมกับ AI แทนที่จะแข่งขันกับ AI 
  • ผนวกตัวแทนของมนุษย์ไว้ในวงจรชีวิตของ AI ทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการใช้งาน 
  • ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อปรับปรุงระบบการศึกษาและสุขภาพให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการในศตวรรษที่  21 

อ่านรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2568 ฉบับเต็มได้ที่ : https://hdr.undp.org/content/human-development-report-2025 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อีเวนต์ธุรกิจแห่งปีเพื่อผู้ประกอบการ B2B! PEAK B2B SME CONFERENCE 2025 Unlock Future SMART

นำทัพโดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ร่วมกับกูรูแถวหน้าของเมืองไทย เปิดมุมมองการบริหาร การจัดการ เทคโนโลยี AI การเงิน การลงทุน การตลาด และอื่นๆ อีกมากมาย ให้คุณปลดล็อกศักยภาพ พาธุรกิจ...

Responsive image

ttb ร่วมมือ LINE Pay เสริมแกร่งร้านอาหารทั่วไทย ยกระดับโซลูชันการรับชำระเงิน เพิ่มโอกาสธุรกิจร้านอาหารครบวงจร

ttb จับมือ LINE Pay เชื่อม Wongnai POS รองรับทุกช่องทางจ่าย ลดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัวให้ร้านอาหาร เติบโตได้อย่างยั่งยืน...

Responsive image

นวัตกรรมเปลี่ยนโลกการผลิตแล้ว คุณพร้อมก้าวสู่อนาคตแล้วหรือยัง? พบกันที่ Manufacturing Expo 2025

พบกับ Manufacturing Expo 2025 มหกรรมแห่งเทคโนโลยีเครื่องจักรและการผลิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน! งานเดียวที่รวม 7 งานแสดงเฉพาะทาง ครอบคลุมทุกมิติของการผลิต ตั้งแต่พลาสติก แม่พิมพ์...