กระทรวงอุตสาหกรรม มอบรางวัล การแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) เเก่ทีมผู้ชนะ เผยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาบุคลากร ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ พร้อมรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นำโดย คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย พร้อมด้วยคุณสมศักดิ์ ปรางทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
นำทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคตทั้งประเภทสถาบันการศึกษาและประชาชนทั่วไป เข้าพบเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คุณกฤชนนท์ อัยยปัญญา เพื่อรับมอบถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ทั้งนี้การเเข่งขันได้สิ้นสุดลงวันที่ 3 เมษายน 2565 โดยได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จัดการแข่งขันที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึ่งรวมทีมที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 7 รางวัลโดยเเบ่งเป็น
- ทีม E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
- รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้เเก่ทีมวิทยาลัยเทคนิคตราด
- รองชนะเลิศอันดับสอง ได้เเก่ทีม BB5 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- รางวัลชนะเลิศในกลุ่มนี้คือทีม Itimgarage X Crafting lab ได้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
- รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ทีม โมโตอีวี
- เเละรองชนะเลิศอันดับสอง ได้เเก่ทีม Pari automotive
คุณกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมอบรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้ให้เเก่เยาวชนไทย เเละประชาชนที่มีเเนวคิดด้านนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อันนำมาซึ่งการต่อยอดเเละพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เเข็งเเกร่งเเละเติบโตในระดับภูมิภาคในอนาคต การมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์สมัยใหม่ จะช่วยทำให้ เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดังกล่าว เเละช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งยังถือเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเเนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย”
ด้านคุณสมศักดิ์ ปรางทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เผยว่า "ในส่วนของ กฟผ. ได้มีการศึกษา พัฒนา ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทต่างๆ หลายมิติ โดยเฉพาะการดัดแปลงจักรยานยนต์ไฟฟ้าผ่านโครงการสนับสนุนการเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลงเพื่อธุรกิจเเห่งอนาคต ซึ่งการเข้ามาสนับสนุนในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เรียกว่า Circular economy เเละเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลธุรกิจ BCG ที่จะช่วยในเกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนในอนาคต"
คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เผยว่า “การจัดการเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคตในครั้งนี้ ถือเป็นการจัดการเเข่งขันครั้งเเรกในประเทศไทย ที่ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมมือกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเเห่งประเทศไทย (กฟผ.) นับเป็นจุดมุ่งหมายที่ดีในการเริ่มต้น การพัฒนาบุคลากรด้านยานยนต์ไฟฟ้า เเละเพื่อสร้างความตระหนักรับรู้ ของภาคประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาถึงบทบาทของยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งทุกทีมที่เข้าร่วมการเเข่งขันในครั้งนี้ล้วนเเล้วเเต่มีความสามารถ มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ ผ่านการเเข่งขันอย่างเข้มข้นจนนำมาสู่ 2 ทีม ที่เป็น ผู้ชนะเลิศของทั้ง 2 กลุ่ม ได้เเก่ ทีม E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ตัวเเทนจากภาค นิสิต นักศึกษา เเละทีม Itimgarage X Crafting lab ตัวเเทนจากภาคประชาชน”
โดยการเเข่งขัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต (EVAT x EGAT Electric Motorcycle Conversion Contest for Business Opportunity) มีผู้เข้าร่วมเเข่งขันรวมทั้งสิ้นกว่า 92 ทีม แบ่งเป็นทีมประเภทสถาบันการศึกษา 81 ทีม และเป็นทีมประเภทบุคคลทั่วไป 11 ทีม เพื่อชิงถ้วยรางวัลจาก นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เเละเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดกว่า 100,000 บาท และรางวัลอื่น ๆ ซึ่งได้มีการจัดขึ้นตั้งเเต่วันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. การไฟฟ้านครหลวง
3. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
4. กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย
5. บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จํากัด
6. บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จํากัด
7. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
8. บริษัททรู คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด