KBank ตั้งเป้าหมายปี 64 สินเชื่อโต 4-6% ลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ ยกระดับความสามารถ | Techsauce

KBank ตั้งเป้าหมายปี 64 สินเชื่อโต 4-6% ลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ ยกระดับความสามารถ

กสิกรไทยตอบรับนิว นอร์มอล ปรับแผนยุทธศาสตร์ มุ่งสร้างการเติบโต แบรนด์แข็งแกร่งเชื่อถือได้ และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันระยะยาว เพื่อเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในทุกกลุ่ม ตั้งเป้าหมายสินเชื่อโต 4-6% มุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพ ท่ามกลางความท้าทายจากผลกระทบของโควิด-19 

คุณขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทั่วโลกยังเผชิญความท้าทายและความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกระดับ แม้จะเริ่มมีความหวังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ภาพรวมเศรษฐกิจโลกอาจจะค่อย ๆ ฟื้นตัว สำหรับ ธนาคารกสิกรไทยได้กำหนดเป้าหมายทางการเงินในปี 2564 ดังนี้

  • การเติบโตของเงินให้สินเชื่อ (Loan Growth) ตั้งเป้าที่ 4-6% สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการเติบโตสินเชื่อลูกค้าบุคคลที่ 11-13% จากการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อ สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ตั้งเป้าเติบโต 2-4% และสินเชื่อบรรษัทธุรกิจ ตั้งเป้าเติบโต 1-3% 
  • ผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin:NIM) ตั้งเป้าที่ 3.1-3.3% สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย
  • การเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ (Net Fee Income Growth) ตั้งเป้าเติบโตเล็กน้อยที่ Low single digit จากธุรกิจบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมรับจากการให้สินเชื่อ และธุรกิจจัดการกองทุน
  • ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้ จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) ตั้งเป้าที่ Mid-40s ด้วยแรงกดดันด้านรายได้ที่ชะลอตัว แต่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการจัดการต้นทุนและการปรับปรุงผลิตภาพ (Productivity) รวมถึงการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต
  • เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL Ratio (Gross)) ตั้งเป้าที่ 4.0-4.5% โดย       โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพเงินให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคารจะมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
  • Credit Cost ตั้งเป้าที่ Up to 160 bps ภายใต้สมมติฐานเกี่ยวกับโควิด-19 รวมทั้งการที่ธนาคารยังคงใช้หลักความระมัดระวังและนโยบายทางการเงินที่รอบคอบในการพิจารณาสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 

คุณขัตติยา กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ทบทวนแผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ กล่าวคือ ธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจบนหลักการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) โดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) และมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มอำนาจให้ทุกชีวิตและธุรกิจของลูกค้าในทุกๆกลุ่ม โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ 3 ด้าน 

1. พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตทางธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้า

  • เป็นผู้นำในการให้บริการชำระเงินทางดิจิทัล (Dominate Digital Payment) เพื่อเข้าถึงและให้บริการลูกค้าในสถานที่และเวลาที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงได้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมแก่ลูกค้าต่อไป 
  • ยกระดับการปล่อยสินเชื่อทั้งด้านธุรกิจและบุคคล (Reimagine Commercial & Consumer Lending) เพื่อสร้างรายได้ด้วยการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเจาะกลุ่มลูกค้าสินเชื่อรายย่อย การนำข้อมูลธุรกรรมทางธุรกิจที่ได้จากคู่ค้าใน Value Chain มาวิเคราะห์เพื่อหาลูกค้าใหม่ รวมถึงการบริหารต้นทุนด้านความเสี่ยงและการปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ขยายการให้บริการลงทุนและประกันไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงการลงทุนและประกัน (Democratize Investment & Insurance) ด้วยผลิตภัณฑ์ของธนาคารฯ บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน รวมถึงการให้บริการจากพันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร ด้วยแพลทฟอร์มการลงทุนที่ช่วยให้ลูกค้าสะดวกและมีข้อมูลในการตัดสินใจได้
  • รุกตลาดภูมิภาค AEC (Penetrate Regional Market) เพื่อให้ธนาคารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและทำธุรกิจใน AEC ที่กำลังเติบโตทั้งทางด้านประชากรและเศรษฐกิจ
  • ยกระดับประสบการณ์บริการและการขาย (Strengthen Sales and Service Channel Experience) พัฒนาบริการของช่องทางต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าทำรายการได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึงมีรูปแบบการขายและบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อสร้างคุณค่าที่มากขึ้นจากการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพทั้งทรัพยากรบุคคล ข้อมูล การเงิน และเทคโนโลยี (Improve Value-Based Productivity)

2. สร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ (Strong Trusted Brand) ผ่านการสื่อสารและบริหารประสบการณ์ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับจากการทำธุรกิจกับธนาคาร

3. ยกระดับความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ตามโครงการ Transformation ทั้ง 8 โครงการ

  • การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการสร้าง Ecosystem ควบคู่กับการพัฒนาช่องทางการขายและให้บริการของธนาคาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า (Ecosystem Partnership & Harmonized Channel)
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอสินเชื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Intelligent Lending)
  • บริหารความเสี่ยงด้านต่าง ๆ และแนวทางการป้องกันในเชิงรุก (Proactive Risk & Compliance Management)
  • การพัฒนาบริการรับชำระเงินระหว่างประเทศ (Regional Payment & Settlement)
  • การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Data Analytics)
  • ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber Security)
  • การพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อมุ่งสู่การเป็น Agile Organization (Performing Talent and Agile Organization)
  • พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ธนาคารเป็นผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในระดับภูมิภาค (Modern World Class Technology Capability)

คุณขัตติยา กล่าวตอนท้ายว่า ด้วยแผนยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการทางการเงินอย่างรอบคอบ ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรให้สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต จะช่วยสร้างความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA จับมือ CCC ปั้นหลักสูตรปั้นผู้เชี่ยวชาญ AI-ระบบอัตโนมัติ-IoT ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ธุรกิจนวัตกรรม เพื่ออนาคตอุตสาหกรรมไทย

NIA ร่วมมือกับ CCC Academy และเครือข่ายพันธมิตร เปิดตัว โปรแกรมเร่งสร้างผู้เชี่ยวชาญเอกชน เพื่องานปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติ และไอโอที (AI, Robotics and IoT Corporate Coaching pro...

Responsive image

สภาดิจิทัลฯ จับมือ ม.หอการค้าไทย และสมาคมโอเพ่นซอร์สฯ ลงนาม MOU สร้างบุคลากรดิจิทัลรับตลาดแรงงานใหม่

สภาดิจิทัลฯ จับมือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและสมาคมสมาพันธ์โอเพ่นซอร์สแห่งประเทศไทย ลงนาม MOU ขับเคลื่อนเทคโนโลยี การศึกษา และนวัตกรรม สร้างกำลังคนดิจิทัล ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่...

Responsive image

KBTG คว้ารางวัลระดับโลก พัฒนาโซลูชัน AI เพื่อธุรกิจ Face Liveness Detection เจ้าแรกในเอเชีย

KBTG พัฒนา Face Liveness Detection เจ้าแรกในเอเชียที่ผ่านมาตรฐานสากล iBeta Level 2 ทั้งโซลูชัน Active และ Passive พร้อมให้บริการผ่านแบรนด์ AINU ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการเทคโนโลยียืน...