จับตาเทรนด์และรูปแบบความต้องการคลาวด์ปี 2021 | Techsauce

จับตาเทรนด์และรูปแบบความต้องการคลาวด์ปี 2021

การระบาดของโควิด-19 สอนให้เรารู้ว่าการจะรับมือวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิดนั้น องค์กรต่างๆ ต้องมีความคล่องตัว ยืดหยุ่นปรับตัวเร็ว และมีมาตรการด้านซิเคียวริตี้รองรับ ผลก็คือองค์กรต่างๆ เริ่มหันมาใช้ไฮบริดคลาวด์ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานและข้อมูลปริมาณมากได้จากทั้งระบบภายในองค์กร คลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์สาธารณะ ในภาวะที่การดำเนินงานบางอย่างต้องหยุดชะงักหรือเกิดการล็อคดาวน์

คุณสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่าระบบคลาวด์ในส่วนถัดไปที่ธุรกิจจะมองหา จะต้องรองรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ต้องสร้างครั้งเดียวและปรับใช้ได้บนทุกแพลตฟอร์ม 

การลงทุนในระบบคลาวด์จะเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวสำคัญที่เราจะได้เห็น และเหล่านี้คือความสามารถหลักหกด้านที่องค์กรจะมองหาจากระบบคลาวด์ในปี 2021

1. ระบบคลาวด์เฉพาะสำหรับอุตสาหกรรม

วันนี้ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลอันเข้มงวด กำลังเผชิญกับข้อกำหนดพิเศษด้านความปลอดภัย การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ จากรายงานการประมาณการฉบับหนึ่ง พบว่าค่าใช้จ่ายในการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับคิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งหมดของธนาคารส่วนใหญ่ อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่ยากลำบากและใช้คนจำนวนมากสำหรับองค์กรหลายแห่ง 

ในปี 2021 องค์กรจะมองหาความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการคลาวด์เพื่อให้แน่ใจถึงมาตรฐานและบริการที่สอดคล้องกับความต้องการที่เจาะจงของอุตสาหกรรมของตน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน โทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ และภาครัฐ ซึ่งมีการควบคุมด้านกฎระเบียบที่เข้มงวด องค์กรจะมองหาบริการบนระบบคลาวด์อย่างการเข้ารหัสคีย์ที่ใช้ในการเข้ารหัส (Keep Your Own Key: KYOK) เพื่อให้มีเฉพาะองค์กรนั้นๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของตนได้ รวมถึงโมดูลความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์ที่ช่วยปกป้องอีกชั้นหนึ่ง และมาตรฐานความปลอดภัย FIPS 140-2 ระดับ 4 ของคลาวด์ ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม

2. มาตรฐานร่วมของการทำคอนเทนเนอร์

เมื่อองค์กรเริ่มย้ายโครงการต่างๆ สู่คลาวด์มากขึ้น การสร้างมาตรฐานร่วมแบบเดียวกับทีมไอทีของลูกค้าจะเป็นสิ่งจำเป็น การตัดสินใจเกี่ยวกับแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่ใช้จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ โดยมีเรื่องของความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ระบบที่โอเพน และความคล่องตัว เป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจนี้ โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่ต้องมีการทำ app modernization จำนวนมาก (ในกลุ่มธนาคารหรือบริษัทโทรคมนาคม) ไม่ว่าแอพพลิเคชันเหล่านี้จะเป็นแบบสร้างขึ้นเองหรือสำเร็จรูป การสร้างมาตรฐานบนแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์จะช่วยขจัดฝันร้ายด้านการจัดการที่องค์กรจำนวนมากต้องเจอในวันนี้

3. การประมวลผลแบบ Edge และ Satellite

แบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นและเวลาแฝงที่ต่ำลงของ 5G จะเร่งให้เกิดการนำการประมวลผลแบบ edge มาใช้ การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี 5G และ edge computing จะนำสู่การใช้งานและนวัตกรรมใหม่ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ในอุตสาหกรรมพลังงานที่ใช้โดรนตรวจสอบ ส่งภาพ วิดีโอ และข้อมูลเซ็นเซอร์ไปยังเอไอในระบบคลาวด์เพื่อตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลหรือเข้าถึงได้ยากอย่างเสาไฟฟ้า หม้อแปลง และท่อส่งก๊าซ เป็นต้น อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้กล้องจับภาพในขณะที่สินค้าถูกลำเลียงไปตามสายการผลิตและใช้เอไอวิเคราะห์ภาพเพื่อตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมขนส่งที่สามารถติดตามและตรวจสอบการขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถควบคุมและคาดการณ์ระบบโลจิสติกส์ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น หรือในอุตสาหกรรมการเกษตรที่สามารถสำรวจพืชผลในไร่โดยไม่ต้องมีคนควบคุม โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยภาพเพื่อประเมินอัตราการเติบโตของพืชหรือการสูญเสียผลผลิตเนื่องจากศัตรูพืช ช่วยให้เกษตรกรปรับระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างเหมาะสม – เหล่านี้คือศักยภาพที่ระบบคลาวด์ต้องสามารถรองรับได้

4. คลาวด์ที่รองรับระบบออโตเมชันจะกลายเป็นกระแสหลัก 

ระบบคลาวด์จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการนำระบบออโตเมชันที่ผสานเอไอ มาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจและการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ระบบบริการลูกค้าแบบ contactless และดิจิทัล จะจำเป็นต้องใช้ออโตเมชันที่ผสมผสานเอไอเพื่อนำสู่บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล ธุรกิจค้าปลีก ธนาคาร โทรคมนาคม และภาครัฐ จะมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้งานออโตเมชันอัจฉริยะมากขึ้น

5. คลาวด์ที่เสริมกำแพงการรักษาความปลอดภัย

การใช้ประโยชน์จากโซลูชันซิเคียวริตี้บนคลาวด์ในการสร้างส่วนควบคุมทั่วไป สำหรับจัดการกับภัยคุกคามทั่วทั้งองค์กรจะกลายเป็นจริงขึ้นมา โดยมีสถานการณ์ Work from Home และช่องทางการโจมตีที่หลากหลายขึ้นเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดความต้องการนี้มากขึ้น แนวคิดนี้จะจำเป็นสำหรับทุกอุตสาหกรรมเพราะเรื่องซิเคียวริตี้เป็นเรื่องสำคัญของทุกองค์กร โดยจะเป็นการใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยและภัยคุกคามทั้งหมดจากภายในองค์กร ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่มีอยู่บนคลาวด์เพื่อจัดการภัยคุกคามให้สำเร็จ และแบ่งปันข้อมูลอินเทลลิเจนซ์ด้านซิเคียวริตี้ให้แก่องค์กรอื่นๆ ในคอมมิวนิตี้

6. การใช้เอไอกับระบบปฏิบัติงานหลัก

นอกเหนือจาก use case ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง การป้องกันการฉ้อโกง การเพิ่มความปลอดภัย การสร้างความมีส่วนร่วมของลูกค้าแล้ว เราจะเห็นการนำเอไอมาใช้ในการปฏิบัติงานหลักด้านไอทีเพื่อช่วยคาดการณ์การหยุดทำงานของระบบ และช่วยให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างทันท่วงที อย่างการใช้ระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) และโลกเสมือน (Augmented Reality) เพื่อให้ช่างภาคสนามสามารถปรึกษาระบบเอไอหรือรับคำแนะนำโดยตรงผ่านภาพจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่อีกที่หนึ่ง  

ธุรกิจค้าปลีกที่กำลังพยายามปรับประสบการณ์การช็อปปิงในโชว์รูมสู่รูปแบบดิจิทัล และภาครัฐที่พยายามปรับเปลี่ยนการให้บริการประชาชนให้เป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น จะเป็นภาคส่วนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเร่งนำเอไอมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านไอทีนี้ 

การศึกษาพบว่าแพลตฟอร์มคลาวด์แบบไฮบริดสามารถสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรมากกว่า 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับรูปแบบเดิมที่เป็นระบบคลาวด์สาธารณะ และไฮบริดคลาวด์จะเป็นระบบที่ตอบโจทย์เทรนด์และรูปแบบความต้องการคลาวด์ปี 2021 อย่างแท้จริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ttb spark REAL change: จุดประกายไอเดียสร้างสรรค์เพื่อชีวิตทางการเงินที่ยั่งยืน

เตรียมพบกับงาน “ttb spark REAL change” งานแสดงนวัตกรรมดิจิทัลครั้งใหญ่ของ ทีทีบี ที่ชวนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ไอเดียที่สร้างสรรค์ ตอบโจทย์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายให้...

Responsive image

Tech Provider ห้ามพลาด! ร่วมปั้น SMEs บุกตลาดใหม่กับ ETDA พร้อมทุนสนับสนุน 4.5 แสนบาท

ETDA เดินหน้าสานต่อ “SMEs GROWTH” ภายใต้ โครงการยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ ประจำปี 2568 โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับตัวและเติบโตอย่าง...

Responsive image

Future Food Leader Summit 2025 ปั้นไอเดีย 'อาหารฟื้นฟู' สู่ธุรกิจแห่งอนาคต

TASTEBUD LAB ร่วมกับ Bio Buddy พร้อมขับเคลื่อนอนาคตอาหารของ จัดงาน Future Food Leader Summit 2025: Regenerative Food for the Future เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและนวัตกรรมอาหารอย่า...