รู้จักบริหารเงินให้ธุรกิจ SMEs ไปรอดในยุคดิจิทัล | Techsauce

รู้จักบริหารเงินให้ธุรกิจ SMEs ไปรอดในยุคดิจิทัล

การกลับมาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจหลายภาคส่วนโดยเฉพาะเอสเอ็มอี (SMEs) นอกจากจะต้องปรับแผนธุรกิจ ปรับองค์กรให้เป็นดิจิทัลเพื่อการอยู่รอดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ SMEs ควรให้ความสำคัญ คือการบริหารจัดการการเงินอย่างรอบด้าน ได้มีโอกาสเข้าไปฟังสัมมนาหัวข้อ Financial for SMEs: ครบทุกเรื่องการเงิน พาธุรกิจรอดในยุคดิจิทัล ที่ทางยูโอบี เดอะ ฟินแลบได้ร่วมกับ Techsauce จัดขึ้น 

เนื้อหามุ่งเน้นไปที่การบริหารจัดการการเงินอย่างรอบด้าน ของธุรกิจจริงในการบริหารการเงินให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต ทั้งเรื่องการทำบัญชีที่ถูกต้อง การประหยัดภาษี การใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ รวมถึงเรียนรู้จาก case study ของธุรกิจจริงในการบริหารการเงินให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล ที่ต้องให้ความสำคัญของการบริหารเงินให้ธุรกิจไปรอด

SMEsต้องรู้การทำบัญชียุคใหม่

ปัญหาที่พบบ่อยของเจ้าของธุรกิจคือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักไม่ย้อนกลับไปดูรายละเอียดของบัญชีที่ผ่านมาว่ารายรับ รายจ่าย  มีที่มาที่ไปอย่างไร จะมุ่งเน้นเพียงรายรับและกำไรที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างปัญหา สิ่งที่ต้องระวัง คือ รายจ่ายเเฝง ที่อาจมีผลในภายหลัง ดังนั้นการสร้างระบบการทำบัญชีที่มีระเบียบจะช่วยให้องค์กรสามารถดูแลการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการทุจริต ลดปัญหาการขาดทุนระยะยาวได้ดี 

อีกปัญหาสำคัญของธุรกิจSMES ที่ตามมาคือ การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาช่วยเสริมสภาพคล่องที่ผ่านมามักจะไม่ได้รับการอนุมัติ แม้ว่าสินเชื่อจะมีจากหลากหลายแหล่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือสินเชื่อเหล่านี้ถูกออกแบบโครงสร้างมาเพื่อช่วยให้กลุ่มบริษัทสามารถดำเนินสภาพคล่องให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น   เเต่ละที่จะมีข้อกำหนดเเตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ และสิ่งที่SMEs ควรรู้เพื่อให้กู้เงินผ่าน คือ ต้องเป็นบริษัทที่ไม่เคยเป็นหนี้เสีย หรือ NPL และยังมีกำไรในปีปัจจุบัน จากปัญหาดังกล่าว การวางแผนบริหารด้านบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ระบบบัญชีที่ดีจะสามารถทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว คุณจักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร CFP® ผู้ร่วมก่อตั้ง Money Buffalo เว็บไซต์ด้าน "การเงิน การลงทุน" อันดับต้นของประเทศไทยได้กล่าวถึง การทำบัญชีที่ถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการSMEs เพื่อให้สามารถขอ soft loan ได้สะดวกขึ้น และการใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ในการจัดการด้านการเงินของธุรกิจSMEs 

เปิดเคล็ดลับจัดการการเงิน iberry group อาณาจักรอาหารที่เริ่มจากร้านไอศกรีม

กรณีศึกษาของ iberry groupเป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงิน เคล็ดลับและกลยุทธ์ที่ใช้ในการขยายร้านอาหาร โดยคุณอัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้ง ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นและเติบโต รวมถึงการบริหารเงินในยามวิกฤตวงโควิด-19ที่ผ่านมา

iberry group สู้วิกฤตโควิด-19 ด้วยการวางเเผนบริหารจัดการทางด้านการเงิน และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการงาน การบริหารเงินสดเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องรู้กระแสเงินสดมีมากน้อยแค่ไหน และจะต้องหาช่องทางเพิ่มเงินจากที่ไหนได้บ้าง เช่น การขอ soft loanสำรองจากธนาคาร เพื่อเอาเงินมาไว้แก้ปัญหาสภาพคล่องในอนาคต พร้อมนำเทคโนโลยีระบบ ERP เข้ามาใช้เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และทำให้เรารู้ถึงความผิดพลาดด้านการเงินได้เร็วขึ้นและแก้ไขปัญหาได้ทันที  

ประหยัดภาษีแบบ SMEs เรื่องใกล้ตัวคนทำธุรกิจ

คุณถนอม เกตุเอม บล็อกเกอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีแห่ง TAX Bugnoms กล่าวถึงการเตรียมตัววางแผนภาษีสำหรับธุรกิจSMEs เพื่อประหยัดภาษีและไม่พบปัญหาตามมาภายหลัง "เราจะวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจแบบไหนและอย่างไรดี" เพราะเรื่องของ "ภาษี" นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในการทำธุรกิจ สำหรับSMEsที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ การลดค่าใช้จ่ายนั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของภาษี ยิ่งลดได้มากแค่ไหน ยิ่งแปลว่ากำไรของธุรกิจยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย และวิธีการประหยัดภาษีแบบง่ายๆ ดังนี้ เลือกรูปแบบของธุรกิจให้ถูกต้อง และวางแผนใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีต่างๆให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

“ทางกรมสรรพากรได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ผู้ที่ยื่นภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตจะได้รับผลประโยชน์ทางภาษีมากขึ้น เช่น การขยายเวลา หรือส่วนลดด้านภาษีบางประเภท ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้จะก่อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่มีการปรับตัว ด้วยการการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางด้านภาษีมาใช้เพิ่มขึ้นทั้งในด้านของการจ่ายภาษี และการลดต้นทุนอีกด้วย”

นอกจากนี้ธุรกิจSMEs ควรให้ความสำคัญในเรื่องในประเด็นดังต่อไปนี้ 1.ธุรกิจควรมี cash flow ดี มีกำไร  2.ควรมีทางเลือกในการการลงทุนที่จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี  3.การจ้างงานบุคลากร หรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรประเภทต่างๆ สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้และจะเสียภาษีลดลง 4.ผู้ประกอบการควรตรวจดูงบการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล เป็นประจำเพื่อตรวจสอบข้อมูลว่าตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจด้านธุรกิจ และความได้เปรียบด้านภาษีอีกด้วย 

ปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล เพิ่มโอกาสทางธุรกิจกับโครงการ Smart Business Transformation

นับเป็นปีที่ 2 สำหรับโครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP  ซึ่งดำเนินการโดย ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และ เดอะ ฟินแล็บ โดยได้ปรับตัวสู่แพลตฟอร์มดิจิทัล เดอะ ฟินแล็บ ออนไลน์ (The Finlab Online) เพื่อสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถนำดิจิทัลโซลูชันไปใช้ปรับเปลี่ยนธุรกิจและให้เห็นผลลัพธ์เชิงบวกได้มากขึ้น

คุณพอลลีน ซิม หัวหน้ากลุ่มงาน เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่าโครงการ SBTP จะเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี เหมือนการจับคู่ SMEs กับดิจิทัลเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เป็นการนำเทคโนโลยีโซลูชันจากฝั่ง Tech Startup   ที่เหมาะสมกับธุรกิจ          มาสนับสนุน SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สามารถนำโซลูชันไปใช้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันมี Tech Startup ในเครือข่ายของ ฟินแล็บถึง 1,500 บริษัท ครอบคลุม 48 ประเทศ และได้ช่วยเหลือ SMEs กว่า 3,000 บริษัท ในภูมิภาครวมถึงประเทศไทย 

ด้านคุณสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement & FinTech Innovation กล่าวว่า ในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 SMEs มีความต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพิ่มมากขึ้น หลายรายมีหน้าร้านเพียงออฟไลน์ ทำให้มีความต้องการผันตัวเองให้เป็นออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้น เราจึงได้ปรับรูปแบบโครงการจากเดิม เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการได้มากขึ้น โดยยังคงมีแกนหลัก 3 ข้อ ได้แก่ การให้ความรู้แก่ SMEs เมื่อมีความรู้แล้วและเข้าใจว่าต้องการอะไร การแนะนำและจับคู่กับเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการช่วยให้ SMEs สามารถนำเอาเทคโนโลยีไปใช้งานได้จริง

คุณสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement & FinTech Innovation โดยทางโครงการฯ จะมีแบบทดสอบที่อยู่บนเว็บไซต์ หรือเรียกสั้นๆว่า DNA ผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้เพื่อที่จะได้รู้ว่าตนเองมีความต้องการดิจิทัล ด้านใดบ้าง หลังจากนั้นเมื่อทราบแน่ชัดว่าต้องการอะไร ขั้นตอนต่อไปคือการหา Tech Solution ที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง โดยการทำแบบทดสอบอีก 1 ตัว คือ DSA และเมื่อทำแบบทดสอบนี้เสร็จสิ้นระบบ จะทำการโชว์ Tech Solutions ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ขึ้นมาให้ ขณะที่ SME บางรายที่รู้แน่ชัดว่าตนเองต้องการอะไรก็สามารถเลือก Tech Solutions ที่อยู่บนแพลตฟอร์มได้เลยซึ่งปีนี้ได้มีการเพิ่ม Tech Solutions ที่เป็นคนไทยเข้าไปด้วยเพื่อรองรับการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในเรื่องของภาษา และราคาของเทคโนโลยีโซลูชันที่เหมาะสมและตอบโจทย์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...