KPMG วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในปี 2019 | Techsauce

KPMG วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในปี 2019

KPMG รายงานว่า การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความท้าทายในการเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นความท้าทายที่ผู้เกี่ยวข้องด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เจ้าของ นักลงทุน ผู้บริหารจัดการ และนักวางแผน จะเผชิญในปัจจุบันและอนาคต

ในรายงานพยากรณ์แนวโน้มเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน (Emerging Trends) พบว่าปีนี้จะเป็นปีที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

“ปีนี้จะเป็นปีที่ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล (data & analytics) เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ซึ่งถือว่าเป็นปีที่การตัดสินใจโดยอ้างอิงจากการใช้หลักฐานมากขึ้น เป็นปีที่แต่ละองค์กรจะใช้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่โอกาส และการตัดสินใจที่สำคัญ” ริชาร์ด เธรลฟอลล์ ประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

“ซึ่งนับว่าเป็นข่าวดี ถ้าการตัดสินใจอ้างอิงจากหลักฐานข้อมูลมากขึ้น จะทำให้เล็งเห็นโอกาสและทางเลือกมากขึ้นกว่าก่อน และพอตัดสินใจได้ดีขึ้น ก็จะมีแนวโน้มว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจมากขึ้น” เธรลฟอลล์ กล่าว

ทางทีมผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานของเคพีเอ็มจีได้วิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานในปี 2019 (Emerging Trends 2019) รายงานนี้อธิบายถึงความเป็นมาของแนวโน้มหลักๆ 10 อย่างด้วยกัน และยังได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกว่าแนวโน้มเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประกอบกับให้คำแนะนำกับผู้เกี่ยวข้องด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อจะสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

“ผู้ที่สามารถรับมือกับแนวโน้มต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเข้าใจผลกระทบในวงกว้าง จะสามารถตัดสินใจได้แม่นยำ และขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้” เธรลฟอลล์ กล่าว

โดยแนวโน้มที่จะต้องจับตามองในปีนี้ ที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานมีดังนี้

1. ภาครัฐกลับมามีบทบาทมากขึ้นอีกครั้ง โมเดลธุรกิจและโซลูชั่นใหม่ๆ เริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานดั้งเดิมของเจ้าหน้าที่และผู้กำกับด้านกฎระเบียบ ดังนั้นรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับภาคเอกชนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน

2. ข้อมูลจะเป็นแรงขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ครบถ้วนและเข้าถึงง่ายขึ้นจะทำให้ผู้ทำกิจการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหาข้อมูลเชิงลึกที่ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลอดวงจรการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน

3. เมกะโปรเจกต์จะมีความท้าทายมากขึ้น เพื่อที่จะป้องกันผลกระทบเชิงลบจากสภาวะทางการเมืองและความกดดันทางการเงิน ผู้ดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ควรต้องเปรียบเทียบสมรรถนะ (benchmarking) กับโครงการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน และเรียนรู้จากบทเรียนของโครงการอื่นๆ ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

4. ธุรกิจต่างสนใจในตลาดที่กำลังขยายตัว เมื่อมีความต้องการในการเติบโตเพิ่มมากขึ้นในตลาดที่กำลังขยายตัว นโยบายของภาครัฐก็เริ่มที่จะให้ความสำคัญกับการคัดเลือก เตรียมการ และรับมอบโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น

5. ยอมรับในหลักฐาน เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนตัดสินใจด้านโครงสร้างพื้นฐานจะมีกระบวนการตัดสินใจที่ครบถ้วน และอ้างอิงจากหลักฐานข้อมูลมากขึ้น ทำให้สามารถตอบโจทย์และความต้องการของสังคมได้ดีขึ้น

6. ความยั่งยืนได้รับความสนใจจากสังคม ในขณะที่นโยบายด้านความยั่งยืนก้าวหน้าขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สังคมจะกดดันและเพ่งเล็งเรื่องความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การส่งมอบ การซ่อมบำรุง และการจัดหางบประมาณ

7. ความก้าวหน้าชนะความแตกแยก ผู้เกี่ยวข้องด้านโครงสร้างพื้นฐานจะทบทวนนโยบายระยะยาวใหม่ เพื่อที่จะขยายกิจการและเข้าสู่ตลาดที่มีการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

8. การแข่งขันด้านเทคโนโลยีมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น การแข่งขันด้านเทคโนโลยีจะทวีความเข้มข้นขึ้นเนื่องจากผู้เล่นต่างหาโอกาสใหม่ๆ ที่จะพัฒนาการบริการ สินค้า และเพิ่มรายได้

9. ลูกค้าเป็นใหญ่ รัฐบาลจะให้ความสำคัญด้านการเข้าใจกระบวนการตัดสินใจของผู้ใช้และจะเริ่มวางแผนโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้ข้อมูลตามระยะเวลาจริงและการพยากรณ์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึก

10. การพึ่งพาอาศัยกันและกันจะนำไปสู่โอกาส นักวางแผนโครงสร้างพื้นฐานจะเริ่มวางแผนระยะยาวหลายแผน โดยมีขีดความสามารถในการวางแผนรองรับโครงการและกรณีที่หลากหลาย เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากการร่วมมือกันที่เพิ่มขึ้น

“โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงถึงแนวโน้มดังกล่าว เนื่องจากโครงการใน EEC จะมุ่งเน้นและสนับสนุนการเติบโตระยะยาวจากนโยบาย new S-curve ของรัฐบาล และการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาปรับใช้” คุณธเนศ เกษมศานติ์ หัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและรัฐบาล เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว “ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ทำให้โครงการต่างๆ ภายใต้ EEC ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ทั้งจากในและต่างประเทศ การที่จะทำให้โครงการเหล่านี้ประสบผลสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระหว่างแต่ละฝ่าย และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรม รวมถึงด้านการเงิน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล และข้อมูลเชิงลึกมาช่วย การร่วมมือและการตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูลข้างต้น จะทำให้มีการวางแผน และการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...

Responsive image

AstraZeneca รับรางวัล Most Innovative Company จาก BCCT จากความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม AI ด้านสุขภาพ

แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข้ารับรางวัล Most Innovative Company (รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมด้านนวัตกรรม) จาก สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการเป็นผู...