กรุงไทยธุรกิจบริการ ปรับตัวรับกระแส New Normal ขยายไลน์ดึงเทคโนโลยีสร้างความทันสมัยให้ธุรกิจ | Techsauce

กรุงไทยธุรกิจบริการ ปรับตัวรับกระแส New Normal ขยายไลน์ดึงเทคโนโลยีสร้างความทันสมัยให้ธุรกิจ

บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด (KTBGS) ในกลุ่มของธนาคารกรุงไทย โดยธนาคารถือหุ้น 100% เป็นผู้นำงานบริหารจัดการและขนส่งทรัพย์สิน (Cash in Transit) ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจหลัก หรือ Core Business ขององค์กร โดยมีบุคลากรเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ อย่างไรก็ตามการก้าวเข้าสู่ยุค Digital หรือ Cashless Society ส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมาก ซึ่งบริษัทก็ได้  เตรียมตัวมาแล้วเป็นระยะเวลากว่า 4 ปี โดยการควบคุมอัตราการเติบโตของบุคลากรด้านงานขนส่งทรัพย์สินและงานให้บริการด้าน ATM 

ปัจจุบัน KTBGS ถือเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจบริหารจัดการและขนส่งทรัพย์สินให้แก่สถาบันการเงิน โดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดที่ 26% โดยมีรายได้ในงานบริการขนส่งทรัพย์สินอยู่ที่     1,434 ล้านบาท (ข้อมูล : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำปี 2562)

คุณอรจรรยา จันทวรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด (KTBGS) ได้เปิดเผยว่า “สำหรับธุรกิจรถขนเงินตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาถือว่าได้รับผลกระทบพอสมควร เพราะปัจจุบันถือว่าเราได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว ผู้ต้องการใช้เงินสดมีจำนวนลดลง เพราะมีการใช้ดิจิทัล แบงค์กิ้ง เพิ่มมากขึ้น ทำให้รายได้ของธุรกิจขนส่งเงินสดมีอัตราที่ลดลงเทียบจากปีก่อนประมาณ 13% จาก 6M/62 = 763.69 ล้านบาท และ 6M/63 = 665.51 ล้านบาท อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดขึ้น เลยยิ่งทำให้ความต้องการใช้เงินสดลงอย่างต่อเนื่องอย่างที่เราทราบกัน

ทั้งนี้บริษัทเองก็ได้มีการปรับตัว เพื่อที่จะรักษาฐานรายได้ให้กับองค์กร จึงมีการเพิ่มรายได้ธุรกิจด้านอื่นของบริษัทที่ให้บริการอยู่ เช่น งานบริการติดตามทวงหนี้ งานบริการ call center งานบริหารอาคารและสถานที่ งานบริการรักษาความปลอดภัย งานบริการรักษาความสะอาด และชีวอนามัย ซึ่งเดิมเป็นธุรกิจที่ทำรายได้เป็นอันดับรองของบริษัท แต่ปัจจุบันบริษัทจะมุ่งเน้นการขยายตลาดในด้านนี้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

สำหรับในปีนี้ ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อระบบการดำเนินธุรกิจค่อนข้างมาก ธุรกิจขนส่งทรัพย์สินก็เช่นกัน เราต้องมีการคัดกรองพนักงานที่จะต้องปฎิบัติหน้าที่ รวมไปถึงการเพิ่มการรักษาความสะอาดตามเครื่องบริการการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ATM/ADM/RCM) อย่างทั่วถึง บริษัทจึงได้นำเทคโนโลยี งานระบบควบคุมทำความสะอาดตู้ ATM เข้ามาช่วยในการปฎิบัติงาน และเป็นการช่วยพนักงานในการทำรายงานงานและส่งมอบการทำงานและตรวจสอบคุณภาพของการปฏิบัติงานบริการทำความสะอาดให้ดีขึ้น นอกเหนือจากระบบ MDMS (Machine Drives Management Solutions) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ ที่บริหารจัดการควบคุมการแก้ไขตู้ ATM ในปัจจุบัน ซึ่งใช้มาเกือบ 8 ปี

นอกจากนี้บริษัทยังได้พัฒนาระบบ ESS (Employee Self Service) เพื่อบริหารจัดการบันทึกเวลาการทำงานเข้า-ออก ของพนักงานปฏิบัติการต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น พนักงานปฏิบัติการรักษาความสะอาด พนักงานปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย พนักงานปฏิบัติการขับรถ ฯลฯ และ การอนุมัติการทำงานล่วงเวลาของพนักงานปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดงานเอกสารทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น

หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 บริษัทได้มุ่งพัฒนารูปแบบการอบรมบุคลากรซึ่งมีกว่า             7,800 คน อย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการอบรมและพัฒนาจากรูปแบบเดิม (Offline) เป็นการพัฒนาบุคลากรสู่ Online สำหรับการอบรมที่ไม่เป็นเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และลดต้นทุนในการจัดการฝึกอบรมได้อย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับผลประกอบการในครึ่งปีแรกบริษัทมีรายได้รวม 1,202.77 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลประกอบการในระดับที่น่าพึงพอใจ ในขณะที่รายได้จากงานบริการขนส่งทรัพย์สินลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และแนวโน้มการใช้เงินสดที่ลดลง แต่การได้รับความร่วมมือจากพนักงานและผู้บริหาร ในการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดผลสูงสุดอย่างที่เห็น

สำหรับแผนในครึ่งปีหลังนั้น บริษัทได้มีแนวทางเช่นเดียวกับครึ่งปีแรก คือ การบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และหารายได้เพิ่มจากงานอื่นนอกเหนือจากงานบริการขนส่งทรัพย์สิน นอกจากนี้ในระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี 2563 บริษัทได้มุ่งเน้นพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสนับสนุนภายในของบริษัท เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการงานหน้าบ้านให้แก่ลูกค้าในระยะยาว เช่น บริษัทได้เริ่มใช้ระบบ E-Document ตั้งแต่ต้นปี 2563 ทำให้สามารถลดการใช้กระดาษและทำให้การจัดการระบบเอกสารภายในไม่ว่าจะเป็นการนำส่ง การนำเสนอ หรือการอนุมัติเอกสารภายในต่างๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค หรือพีซี เป็นต้น

โดยสรุปคือ บริษัทได้ปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤตดังกล่าว ด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ การเพิ่มลูกค้าในงานบริการรอง การลดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม Value ในงานทั้งงานบริการหลักและงานสนับสนุน อาทิ การเพิ่ม Productivity และ Efficiency ในงานบริการ การจัด Training Online ทดแทนรูปแบบเดิม การนำระบบ E-Document มาใช้ หรือการใช้ระบบการบริหารจัดการบุคลากร (ESS) กับงานสนับสนุนงานปฏิบัติการ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในปีนี้ได้ถึง 7.63 % (เทียบกับงบประมาณ)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...