Lazada University Smart Campus Day จัดงานรวมกูรูแนะความสำเร็จให้ผู้ประกอบการบนสนาม E-commerce | Techsauce

Lazada University Smart Campus Day จัดงานรวมกูรูแนะความสำเร็จให้ผู้ประกอบการบนสนาม E-commerce

ในยุคที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังแบ่งบาน แม้ผู้ประกอบการจะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก แต่ก็มีความท้าทายรออยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้โลกของอีคอมเมิร์ซหมุนไปไวยิ่งขึ้น รวมไปถึงปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมอย่างโรคระบาด แล้วเราจะเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร

ภายในงาน Lazada University: Smart Campus Day เพื่อเปิดตัว Lazada University แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ของลาซาด้าที่ปรับโฉมใหม่เพื่อช่วยเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีไทย ดร. ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้ก่อตั้ง SOdAPrintinG.com ธุรกิจรับพิมพ์ภาพลงบนแคนวาสเพื่อเป็นของขวัญชิ้นเดียวในโลก หนึ่งในวิทยากรที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ให้คำตอบว่าการจะชนะความท้าทายได้นั้น ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกว่าตัวเองถนัดอะไร และลูกค้าคือใครกันแน่ 

ดร.ธีรศานต์กล่าวว่า “คุณต้องรู้มากกว่าแค่ลูกค้าคุณคือผู้หญิง อายุ 18-35 ปี แต่ต้องรู้เจาะลงไปว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน ใช้แบรนด์อะไร สไตล์เป็นอย่างไร เพื่อที่จะเจาะกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด และต้องรู้จักจุดแข็งตัวเองและเลือกสิ่งที่เหมาะที่สุด อย่างทุกวันนี้มีโซเชียลมีเดียและเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจมากมาย เราต้องเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของเรา และต้องเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันให้ได้”

ตัวอย่างความสำเร็จของ SOdAPrintinG จากการรู้จักกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี คือแคมเปญที่แบรนด์ทำบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยแบรนด์จับได้ว่ากลุ่มลูกค้าคือวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่พูดเรื่องความรัก ใช้เพลงเป็นสื่อ และใช้ TikTok เป็นเครื่องมือ จึงเกิดไอเดียแต่งเพลงให้ไวรัลบนโลกออนไลน์ จุดสำคัญคือเนื้อเพลงต้องชัดเจน แทรกคีย์เวิร์ดธุรกิจในเนื้อเพลง บีตเพลงต้องติดหู และที่สำคัญ ท่อนฮุกต้องจบใน 15 วินาที เพราะกลุ่มคนที่เล่น TikTok มักจะเซฟวิดีโอไปโพสต์ต่อทางอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กสตอรี่ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 15 วินาที ช่องทางเหล่านี้เป็นช่องทางที่คนอื่นๆ จะได้เห็นสินค้าและเข้ามาสอบถาม จนนำไปสู่การสร้าง Traffic กลับไปยังร้านค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

การรู้จักลูกค้าอย่างดียังช่วยระบุ Pain Point ของลูกค้าได้ถูกต้อง ซึ่งคือโอกาสสำหรับแบรนด์ เช่น ในช่วงโควิด-19 ปัญหาของผู้หญิงที่เป็นกลุ่มลูกค้าของ SOdAPrintinG คือการใส่แมสก์แล้วหน้าไม่เรียวและมีเครื่องสำอางค์ลอกติดแมสก์ SOdAPrintinG จึงใช้โอกาสนี้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นแมสก์แฟชั่นที่ไม่ติดเครื่องสำอางค์ และยัง Collab กับศิลปินออกแบบแมสก์ลายพิเศษอีกด้วย 

“เราต้องมองให้ออกว่าจะทำให้แบรนด์โตต่อเนื่องได้อย่างไร เช่น การผสมผสานสินค้าขายดีของเราเข้ากับสินค้าอื่นที่คนนิยมซื้อ และสิ่งที่จะช่วยให้มองออกได้คือการใช้ Data มาวิเคราะห์ ซึ่งถ้าคุณเป็นผู้ค้ากับลาซาด้า คุณจะสามารถนำข้อมูลจาก Data Dashboard มาใช้วิเคราะห์ได้ทันที”

ด้านคุณพงศ์รัตน์ อรุณวัฒนาพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไปบริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด (มหาชน) เจ้าของแบรนด์ Tigerplast อีกหนึ่งวิทยากรของงานกล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งในการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จคือการมีมายด์เซ็ตที่ดี โดยมายด์เซ็ตในการทำธุรกิจของบริษัทแจ๊กเจีย มี 3 ข้อด้วยกัน คือ 1. สิ่งใหม่ๆ มีไว้ให้ลอง  2. คิดแล้วทำเลย และ 3. พลาดแล้วเรียนรู้และปรับปรุง 

คุณพงศ์รัตน์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของแบรนด์ Tigerplast ว่า ช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทแจ๊กเจียออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 ตัว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนวัตกรรมสเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพการกรองหน้ากากผ้า ซึ่งบริษัทไม่เคยทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมมาก่อน ถือเป็นการลองสิ่งใหม่เป็นครั้งแรก และเนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้น ทำให้ไม่สามารถรอให้ทุกอย่างพร้อมก่อนจะลงมือทำได้ จึงต้องลงมือทำพร้อมเรียนรู้ไปด้วยในระหว่างทาง ซึ่งบริษัทใช้เวลาในการเตรียมการไปจนถึงวางจำหน่ายราว 2 สัปดาห์เท่านั้น เมื่อมีข้อผิดพลาด เช่น สินค้ามีตำหนิจากการผลิตและขนส่ง ก็ต้องรับผิดชอบด้วยการส่งผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ให้ พร้อมกับเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า เพื่อแทนคำขอโทษ แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่การดูแลลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า และถือเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เนื่องจากการดูแลลูกค้าเช่นนี้สามารถสร้างความรู้สึกในทางบวกให้กับลูกค้าได้

คุณพงศ์รัตน์ยังเสริมแง่มุมเกี่ยวกับการขายสินค้าบนอีคอมเมิร์ซว่า “ทุกอย่างในอีคอมเมิร์ซเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เคยคิดว่ามีอาวุธเพียงชุดเดียวก็สามารถใช้ได้ตลอด แต่จริงๆ แล้วลาซาด้ามีฟีเจอร์ใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่อง เช่น มีการบรอดแคสต์ที่ช่วยให้เข้าถึงลูกค้าที่เพิ่มสินค้าของเราลงในรถเข็นแล้วแต่ยังไม่กดซื้อ หรือถ้าร้านของเราอยู่บน LazMall ก็จะสามารถใช้ฟีเจอร์ Marketing Solutions Portal ที่ช่วยให้รู้ว่าโฆษณาตัวไหนที่ดึงคนมาร้านได้ เราจึงต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อใช้ประโยชน์จากอาวุธที่ลาซาด้ามีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด”

การทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป แพลตฟอร์ม Lazada University จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยติดอาวุธและผลักดันความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีไทย นอกจากนี้ ลาซาด้ายังมีโปรแกรม Lazada Seller Ambassador (LazSA) ที่คัดเลือกเพื่อนผู้ประกอบการที่มีความสามารถมาเป็นตัวแทนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนผู้ประกอบการของครอบครัวลาซาด้าให้ก้าวสู่ความสำเร็จไปพร้อมๆ กันอีกทางหนึ่งด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank-Orbix Tech จับมือ ptt พัฒนานวัตกรรมใหม่บน Blockchain สำหรับออกตราสารหนี้

KBank-Orbix Tech จับมือ ptt ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรมรูปแบบใหม่บนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) สำหรับธุรกรรมทางการเงินในการออกตราสารหนี้...

Responsive image

KCE เปิดบ้านรับ BOI และคณะผู้ประกอบการกว่า 36 องค์กร ชมการผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์

KCE จัดเปิดบ้านต้อนรับบีโอไอและคณะผู้ประกอบการ 36 องค์กร เยี่ยมชมกระบวนการผลิตแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์...

Responsive image

ICONSIAM x TikTok ดัน Thai Soft Power สู่เวทีโลก

ไอคอนสยาม ผนึกกำลัง TikTok สร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลักดัน Thai Soft Power สู่เวทีโลก...