Leading Innovation Workshop คอร์สสู่การสร้างผู้นำด้านนวัตกรรม | Techsauce

Leading Innovation Workshop คอร์สสู่การสร้างผู้นำด้านนวัตกรรม

เขาว่ากันว่า "นวัตกรรมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ถ้าขาดผู้นำ" องค์กรที่จะขับเคลื่อนสู่นวัตกรรมได้อย่างแท้จริงนั้น ไม่ใช่ว่ามีเทคโนโลยีสุดเจ๋งแต่อย่างใด แต่เริ่มต้นจากผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และทัศนคติที่พร้อมและกล้าเปลี่ยนแปลง เป็นหัวเรือใหญ่ที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรนั้นๆ

จึงเป็นที่มาของโปรแกรม “Leading Innovation” เน้นความสำคัญของหลักการ แนวปฏิบัติ และเครื่องมือด้าน Innovation รวมถึงบทบาทของผู้นำด้านนวัตกรรม (innovation leader) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทักษะและความสามารถด้านนวัตกรรมให้กับบุคลากรและทีมงานในองค์กร  โดยผู้นำด้านนวัตกรรมถือเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันองค์กรให้เกิดนวัตกรรมต่อเนื่อง และพัฒนาไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

วิทยากรได้พัฒนาเนื้อหาและกิจกรรมในโปรแกรมนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แนวโน้มธุรกิจ และบริบทเฉพาะของประเทศไทย

ตัวอย่างองค์ความรู้ที่น่าสนใจในโปรแกรม:

  • Innovation concepts and practices  --- หลักการและแนวปฎิบัติด้านนวัตกรรมที่ช่วยสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการภายใน (intrapreneurial spirit) และสร้าง ‘วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม’ (innovation culture) ในองค์กร
  • Roles of innovation leader --- บทบาทสำคัญของผู้นำด้านนวัตกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมบุคลากรและทีมงานในด้านทักษะนวัตกรรมต่างๆ เช่น การค้นหา insights  การนำเสนอและสื่อสารไอเดีย การสร้างสรรค์กระบวนการทำงานใหม่ๆ การทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ (cross-disciplinary) การสร้างโอกาสและพัฒนาไอเดียธุรกิจอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
  • “CO-STARTM” approach for value creation --- แนวคิดและเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาไอเดีย โดยช่วยสร้างและนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ยั่งยืนในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมในองค์กร
  • Coach and feedback --- เทคนิคการโค้ชและให้ feedback กับไอเดีย/โปรเจ็คอย่างมีคุณภาพ และช่วยให้บุคลากรและทีมงานสามารถปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดไอเดีย/โปรเจ็คได้

What is CO-STARTM?

CO-STARTM เป็นแนวคิดและเครื่องมือที่ช่วยสร้างคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ (value proposition) ซึ่งคิดค้นโดย Laszlo Gyorffy และ Lisa Friedman แห่ง Enterprise Development Group (EDG)

ทั้งนี้ แนวคิด CO-STAR ได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ได้แก่

    • การค้นหาโอกาสด้านนวัตกรรม
    • การสร้างสรรค์ solutions
    • การพัฒนา value proposition
    • การสื่อสารไอเดียธุรกิจให้ชัดเจน
    • การสร้าง prototype ต้นทุนต่ำ
    • การร่วมมือกับทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
    • เพื่อต่อยอดไอเดียธุรกิจ/โปรเจ็ค

Who is the workshop instructor?

Laszlo Gyorffy. M.S. – President, Enterprise Development Group ใน Silicon Valley, California, USA  มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการให้คำปรึกษาและพัฒนาองค์กรในระดับโลก เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ การพัฒนาแนวปฏิบัติด้านนวัตกรรม รวมถึงการออกแบบองค์กรและพัฒนาภาวะผู้นำแก่องค์กร ให้ประสบความสำเร็จในโลกที่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างลูกค้าองค์กร: BBC | Hewlett Packard | Phillips | Universal Music Group

Who should attend?

  • องค์กรที่ต้องการสร้าง ‘วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม’ และบ่มเพาะแนวคิดและวิธีการทำงาน ที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ การพัฒนาธุรกิจ และผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของตลาด
  • ผู้บริหารภาคเอกชนและภาครัฐ ที่ให้ความสำคัญต่อการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และต้องการปลูกฝังแนวคิดและทักษะความเป็นผู้ประกอบการในองค์กร (intrapreneurial spirit)
  • ผู้บริหารและ Talent ในสายงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม R&D การตลาด การพัฒนาธุรกิจ

สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภณัฐ Email: [email protected] Tel. 02-319-7677 ext. 204

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...