LINE OpenChat กับ community ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาออนไลน์ | Techsauce

LINE OpenChat กับ community ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาออนไลน์

การเรียนการสอนออนไลน์ยังคงเป็นเรื่องที่ทั้งสถานศึกษาและบุคลากรผู้สอนต่างกำลังเร่งพัฒนาเพื่อหาจุดสมดุลในการสร้างการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ผู้เรียนไปพร้อมๆ กัน และเมื่อทุกอย่างถูกยกมาอยู่บนโลกออนไลน์ ผู้สอนและผู้เรียน หรือแม้แต่ผู้ปกครองเองก็ต่างต้องเผชิญกับความท้าทายต่อประสิทธิภาพในการสอนและการเรียนรู้   ที่จำเป็นต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมบนโลกดิจิทัลซึ่งต่างจากโลกออฟไลน์อย่างสิ้นเชิง ทักษะการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ จึงเป็นเหมือน Hard Skill สำคัญของแวดวงการศึกษาไทยในตอนนี้ที่ต่างกำลังหาวิธีไหนที่ลงตัวที่สุด เหมาะกับการเป็นวิถีชั่วคราว หรือใช้อย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีหลัก? 

LINE OpenChat จึงถูกนำมาเป็นอีกเครื่องมือสำคัญในการช่วยบริหารจัดการห้องเรียนออนไลน์ จากการเป็นแชทคอมมูนิตี้ออนไลน์ขนาดใหญ่ที่บุคลากรในแวดวงการศึกษาไทยนำมาช่วยให้ “เข้าถึง” และบริหารจัดการห้องเรียนออนไลน์ได้อย่างเต็มที่ จากการเป็นฟีเจอร์บนแอปฯ LINE ทำให้การเชื่อมต่อกับผู้เรียนออนไลน์ได้ใช้งาน อย่างไร้รอยต่อ นี่คือจุดเด่นสำคัญที่ผู้บริโภคในโลกดิจิทัลต่างมองหาในยุค NOW NORMAL ชีวิตวิถีใหม่  ของวันนี้

เปิดอินไซท์ใช้งานจริงจาก สถาบันการศึกษา

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

พ.ท.ธนกฤต วิชาศิลป์ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และรองหัวหน้าศูนย์สารสนเทศ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า บอกถึงการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการเรียนการสอน“เนื่องจากการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จะมีการประเมินและให้คะแนนทักษะด้าน ไอทีและการทำงานเป็นทีม ดังนั้นการใช้เครื่องมือดิจิทัลของนักศึกษาจึงมีความสำคัญ ประชุมกลุ่มออนไลน์จะต้องมีการบันทึกเป็น VDO เพื่อส่งให้อาจารย์ประเมินและให้คะแนน เราใช้ระบบ Learning Management System (LMS) เป็นแพลตฟอร์มหลักในการบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์และจะมีวีดีโอบันทึกการสอนล่วงหน้าที่จะถูกวางไว้ บนระบบ LMS หรืออาจจะส่งให้นักศึกษาผ่านทาง LINE OpenChat ซึ่งแล้วแต่รายวิชา”

“โดยเราใช้ LINE OpenChat หลักๆ แล้วเพื่อ 2 จุดประสงค์ หนึ่งคือเพื่อเป็นแพลตฟอร์มสื่อสารระหว่างอาจารย์   และนักศึกษา สองคือใช้เพื่อสื่อสารภายในองค์กรนอกเหนือจากการคุยผ่านกรุ๊ป LINE และ LINE Official Account  จุดเด่นของโอเพนแชทคือนักศึกษาสามารถตั้งชื่อตัวเองเป็นชื่อนามสกุลจริงหรือเลขประจำตัวได้โดยไม่กระทบกับบัญชี LINE ส่วนตัว สมาชิกที่เข้ามาใหม่สามารถอ่านข้อความบนห้องแชทย้อนหลังได้ทั้งหมด เกือบ 100% ของอาจารย์    และนักศึกษาใช้งาน LINE อยู่แล้ว ดังนั้นการเลือกใช้โอเพนแชทเป็นแพลตฟอร์มในการติดต่อสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจและเปลี่ยนมาใช้งานได้ทันที แต่หากใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ จะมีปัญหาเรื่องความไม่คุ้นเคยกับหน้าตาโปรแกรม” อาจารย์ธนกฤตอธิบายเสริม 

โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1

ขณะที่ นางณัฐสรัลพร กวีสิริโชติกุล ครูชำนาญการพิเศษปฏิบัติหน้าที่ทำการสอนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง “LINE OpenChat เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้สามารถติดตามการเรียนของนักเรียนในช่วงโควิด–19 ที่ผ่านมา ทั้งยังแนะนำให้ครูท่านอื่นใช้ตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของการระบาดเมื่อปีก่อน ซึ่งปกติจะใช้โอเพนแชทในการสื่อสารกับนักเรียน ผู้ปกครองเพื่อแจ้งข่าวสาร และการจัดการเรียนการสอนของคุณครู ในสายชั้น ประโยชน์ของโอเพนแชทนอกจากจะใช้สื่อสารสะดวกและเข้าถึงทุกคนง่าย ยังสามารถกำหนดบทบาทของ   แอดมิน กำหนดกิจกรรมในห้องแชท และโน้ตที่เป็นเหมือนกระดานประกาศซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้บ่อย”

นอกจากนี้ คุณครูณัฐสรัลพรยังอธิบายถึงการใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ในการบริหารจัดการชั้นเรียนในช่วงล็อกดาวน์ว่าต้องมีการนัดหมายนักเรียนและผู้ปกครองไว้ล่วงหน้าในแต่ละวันว่าจะมีกิจกรรมการเรียนการสอนอะไรบ้าง โดยจะใช้โปรแกรมประชุมออนไลน์อื่นๆ แชร์ลิงก์วิดีโอสื่อการสอนเข้ามาช่วยเป็นสื่อกลาง โดยจะส่งลิงก์ไว้  บนโอเพนแชทเพื่อให้นักเรียนที่อยู่ตามห้องโอเพนแชทที่ถูกแบ่งไว้เป็นรายวิชานั้นๆ ได้เข้าเรียนได้ตามตารางทุกวัน         เมื่อเรียนเสร็จแล้วนักเรียนจะทำการบ้านหรือรายงานส่งผ่านห้องโอเพนแชทหรือแชร์ไดรฟ์ แล้วแต่กำหนด

นี่อาจจะยังไม่ใช่บทสรุปว่าวิธีไหนที่จะสามารถสร้างห้องเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทดลองหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยทั้งผู้สอนและผู้เรียนนั้นชี้ให้เห็นถึงกระบวนก้าวสำคัญของบุคลากรในแวดวงการศึกษาไทยว่าเป็นอีกภาคส่วนที่ไม่นิ่งนอนใจที่จะปรับตัวและพัฒนา แม้ต้องเจอกับอุปสรรคที่เป็นเหมือนตัวเร่งให้เปลี่ยนแปลงก็ตาม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Tokenization Summit 2024 by Token X พบกูรูระดับโลกเจาะลึกวิสัยทัศน์การปฏิวัติ Digital Asset

เวทีสัมมนาสุดยิ่งใหญ่ “Tokenization Summit 2024” ภายใต้หัวข้อ Unveiling the Next Big Thing ขนทัพผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ มาให้ความรู้ แ...

Responsive image

TikTok จับมือ ลาลีกา สานต่อความร่วมมือ ยกระดับคอมมูนิตี้คนรักฟุตบอล

TikTok จับมือ ร่วมมือ LALIGA (ลาลีกา) ลีกฟุตบอลของประเทศสเปน เดินหน้าความร่วมมือต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หลังจากความสำเร็จในการร่วมมือกันครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำไปสู่การขยายความร่วมมื...