Merkle Capital ในเครือ Cryptomind Group เปิดตัวกลยุทธ์การลงทุนใหม่ M-Next Generation เน้นลงทุนโทเคนดิจิทัลในกลุ่มอุตสาหกรรมของ Web 3.0 และเริ่มลงทุนขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท
บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด ในเครือ คริปโตมายด์ กรุ๊ป เปิดตัวกลยุทธ์ M-Next Generation เป็นกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบเต็มอัตราที่เน้นการลงทุนในโทเคนดิจิทัลชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมที่โอกาสเติบโตสูงในภาคของ Web 3.0 คริปโตมายด์ กรุ๊ป มีความมุ่งหวังอยากให้นักลงทุนทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยสามารถเริ่มลงทุนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท
อีกทั้งยังคงมุ่งมั่นคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้กับนักลงทุนของเราอย่างต่อเนื่อง โดยกลยุทธ์ M-Next Generation จะมีการเสนอขายกลยุทธ์ครั้งแรกระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์นี้ และจะเริ่มบริหารจัดการสินทรัพย์อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
คุณอัครเดช เดี่ยวพานิช ประธานกรรมการ คริปโตมายด์ กรุ๊ป และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมอร์เคิล แคปปิตอล กล่าวว่า ทุกวันนี้เทรนด์การลงทุนในโลกคริปโทมีวิธีที่หลากหลายมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก เช่น liquid staking derivatives, layer 2 หรือแม้แต่ AI ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ก็จะทำให้เราพลาดโอกาสในการลงทุนได้ ด้วยความที่ เมอร์เคิล แคปปิตอล เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดนี้และมีทีมงานคอยติดตามเทรนด์ตลาดอย่างสม่ำเสมอ
เราได้คิดกลยุทธ์ใหม่ภายใต้ชื่อ M-Next Generation เป็นกลยุทธ์การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแบบเต็มอัตราที่เน้นการลงทุนในโทเคนดิจิทัลชั้นนำในกลุ่มอุตสาหกรรมที่โอกาสเติบโตสูงในภาคของ Web 3.0 เพื่อเป็นทางเลือกและอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนที่สนใจในตลาดนี้แต่ไม่ได้มีเวลาติดตามตลาดมากนักหรือไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มากพอ เพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสการลงทุนในเทรนด์ใหม่ๆที่มีโอกาสเติบโตสูง
โดยกลยุทธ์ M-Next Generation เป็นกลยุทธ์ที่เราจะเน้นลงทุนในกลุ่มโทเคนดิจิทัลซึ่งมี Market cap ระดับปานกลาง ในกลุ่ม DeFi, Web 3 service และ Metaverse Project ต่างๆ ที่ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ใหม่ๆ และมี Upside ผลตอบแทนที่สูงในระยะสั้นถึงกลาง โดยจะแตกต่างกับกลยุทธ์อื่นที่เราเน้นลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมี market cap ที่สูงทำให้ Upside อาจจะไม่สูงเท่าโทเคนดิจิทัล โดยนักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัยภายใต้การบริหารและการจัดการความเสี่ยงของทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเรา นายอัครเดช กล่าวเสริม
กว่าจะมาเป็น Web 3.0 โดยเว็บนั้นเริ่มจาก Web 1.0 ที่ทุกคนสามารถเข้ามาอ่านหรือเขียนเท่านั้น ข้อมูลของผู้ใช้งานจะไม่ถูกบันทึก ตัวอย่างของ Web1 ได้แก่ Yahoo, Sanook, Java ต่อมาในยุค Web 2.0 เป็นยุคที่เริ่มมีการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานมากขึ้น โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทำได้กิจกรรมได้มากกว่าการอ่าน ดู หรือเขียน สามารถสร้างเนื้อหาได้เองผ่านช่องทางต่างๆ กล่าวคือผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับแพลตฟอร์มได้มากขึ้น เช่นสามารถกดปุ่ม like เพื่อแสดงความต้องการของผู้ใช้งานว่าชอบอะไร หรือสนใจอะไร คอนเทนต์แนวไหน
ตัวอย่างของ Web2 เช่น Google, Facebook, Twitter, Tiktok โดยผู้ใช้งานในยุคนี้จะเป็นการให้ข้อมูลตัวเองกับ platform Web2 เพียงฝ่ายเดียวผ่านการลงทะเบียนต่างๆโดยจะต้องให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเอง ถือเป็นยุคที่ข้อมูลนั้นมีความสำคัญมากเลยทีเดียว การก้าวสู่ Web 3.0 จะเป็นยุคที่ผู้ใช้สามารถเป็นเจ้าของข้อมูลได้ กล่าวคือผู้ใช้งานสามารถอ่าน สร้าง และปฏิบัติการแบบกระจายศูนย์ผ่านเทคโนโลยีบล็อคเชนเป็นหลัก โดยยุคนี้ได้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาโดยที่กรรมสิทธิ์ของข้อมูลผู้ใช้งานจะกลับไปที่ผู้ใช้งานมากขึ้นผ่านการควบคุมต่างๆได้ด้วยตัวเอง มิใช่ตัวกลางอีกต่อไป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด