ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) แล้วจริงหรือ? | Techsauce

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) แล้วจริงหรือ?

อีกกระแสบนโลกดิจิตอลที่กำลังได้รับความสนใจ คงหนีไม่พ้นเรื่อง การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือ” หรือที่เรียกว่า Mobile Payments ที่นับวันยิ่งขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย และกำลังก่อให้เกิดการทำธุรกรรมการชำระเงินยุคใหม่ ที่จะทำให้การชำระเงินค่าสินค้าและบริการในรูปแบบเดิมๆ เริ่มหยุดชะงักลงไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการขยายตัวมากขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 1) การเติบโตของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนและรูปแบบการใช้ชีวิตดิจิตอลที่เพิ่มมากขึ้น 2) โครงข่ายโทรคมนาคมและกระบวนการทำธุรกรรมทางด้านการเงินที่ดีขึ้น และ 3) การผลักดันการใช้ National e-payment หรือระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาลพยายามผลักดัน

ล่าสุด Marketbuzzz ในฐานะผู้นำนวัตกรรมการสำรวจวิจัยทางการตลาดรูปแบบใหม่บนมือถือ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการหลักด้าน Mobile Research & Digital Media ภายใต้ระบบ Eco-System ของ Buzzebees จึงได้ทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคบนฐานข้อมูลของบัซซี่บีส์ ในหัวข้อ “การใช้มือถือในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่างๆ” เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยสำรวจคนไทยที่ใช้สมาร์ทโฟน รวมจำนวน 2,000 คน เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานะปัจจุบันของการใช้บริการในการชำระค่าสินค้าและบริการแบบดิจิตอล และสะท้อนให้เห็นว่ามือถือได้ส่งผลต่อวิถีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการชำระค่าสินค้าและบริการอย่างไร

infograph-pic-mobile-payment-for-press

ข้อมูลหลักๆ ที่ได้จากผลสำรวจ แสดงให้เห็นว่า

  • 50% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมีการใช้งาน Mobile Payments รูปแบบต่างๆ อยู่แล้ว
  • Mobile Banking และ Mobile Shopping เป็นสองรูปแบบที่มีการใช้งานมากที่สุดด้วยจำนวนผู้ใช้มือถือกว่าครึ่งหนึ่งที่ใช้สองรูปแบบนี้ โดย Mobile Banking มีการใช้งานบ่อยครั้งกว่า เฉลี่ยใช้งานกว่า 6 ครั้งต่อเดือน  และ Mobile Shopping ใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4 ครั้งต่อเดือน
  • มีเพียง 17% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ใช้ Mobile Wallet อยู่ในขณะนี้ ซึ่งมีศักยภาพในการเติบโต พิจารณาจากจำนวนครั้งต่อเดือนที่ใช้ Mobile Wallet เฉลี่ยสูงถึง 5 ครั้ง ซึ่งใช้งานบ่อยครั้งกว่าธุรกรรมการชำระเงินในรูปแบบอื่นๆ ยกเว้น Mobile Banking
  • มีการใช้งาน TrueMoney สูงสุดอยู่ที่ 51% ของกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟน รองลงมาคือ Line Pay ด้วยอัตราการใช้งานอยู่ที่30% และ mPay อยู่ที่ 28% ตามลำดับ
  • ในขณะที่ Mobile Wallet ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่สำหรับผู้ที่เคยใช้แล้ว ส่วนใหญ่สูงถึง 96% พบว่าใช้งานง่ายมากและยิ่งง่ายดายมากยิ่งขึ้นหากมี:
    • จุดให้บริการที่มากขึ้นและครอบคลุมทุกแห่ง – แสดงให้เห็นว่าเป็นที่ยอมรับ โดยมีจุดให้บริการในหลายพื้นที่
    • ระบบการออกใบเสร็จที่ดีขึ้น – ไม่จำเป็นต้องมีใบเสร็จแบบกระดาษ แค่ใบเสร็จบนระบบก็เพียงพอ
    • การใช้งานหน้าจอที่มีประสิทธิภาพ – เช่น การทำธุรกรรมแบบแตะและจ่าย (tap and go) รวดเร็วทันใจ
    • สำหรับผู้ใช้ Mobile Payments จำนวน 2 ใน 3 กล่าวว่า พวกเขาจะใช้ Mobile Payments ในปริมาณเดียวกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ครั้งต่อเดือน และอีก 1 ใน 3 กล่าวว่า พวกเขาจะใช้ในปริมาณที่บ่อยครั้งมากขึ้น
    • ผู้บริโภคที่เคยใช้ Mobile Payments เกือบทุกคนต่างเห็นตรงกันว่า อุปสรรคในการใช้ Mobile Payments จะลดลง ถ้าMobile Payments ทำให้การชำระค่าสินค้าและบริการมีความสะดวกง่ายดายมากขึ้น มีทางเลือกในการชำระเงินมากขึ้น สามารถชำระเงินได้ทุกที่ทุกเวลา และรวดเร็วกว่าการชำระเงินรูปแบบอื่น ถึงแม้จะยังมีข้อกังวลอยู่บ้างในเรื่องของระดับความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม 55% ของผู้ใช้ยังเชื่อว่าระดับความปลอดภัยยังอยู่ในระดับสูง

จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของ Mobile Payments ในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมร. แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Marketbuzzz บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด ในฐานะที่เคยร่วมงานกับ Ipsos และ TNS เอเจนซี่ยักษ์ใหญ่ด้านวิจัยทางการตลาดระดับโลก มากว่า 20 ปี ได้ให้ความเห็นว่า “ผลการสำรวจของ Marketbuzzz ครั้งนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นของ Mobile Payments ว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยการใช้สมาร์ทโฟน แน่นอนว่าย่อมเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยนระบบทางการเงินโดยได้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งผู้บริโภคต่างก็ต้องการระบบการชำระเงินที่มีความสะดวกสบาย มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงคนไทยต้องการระบบการชำระเงินแบบทันทีหรือเรียลไทม์มากขึ้น และการใช้มือถือแทนการถือเงินสดหรือบัตรเครดิตเป็นทางเลือกที่สามารถทำได้”

มร. บาร์โทลี่ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในขณะที่ผู้บริโภคมีความต้องการต่างๆ ระบบการชำระเงินก็ต้องการความร่วมมือในการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินที่มากยิ่งขึ้นระหว่างธนาคาร ผู้ค้าปลีก ธุรกิจโทรคมนาคม บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (หรือ FinTech)และระบบการจัดการร่วมกัน เพื่อนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ ของการชำระเงินที่รวดเร็ว ไร้ขีดจำกัด และปลอดภัย”

pic-mr-grant-bertoli

“ในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้า Mobile Payments หรือการทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย จะเติบโตอย่างมีศักยภาพและนับเป็นอีกทางเลือกในการชำระเงินที่สามารถปฎิบัติได้ในทุกๆ วัน ซึ่งทุกวันนี้เรายังแชทผ่านทางมือถือ ค้นหาข้อมูลผ่านทางมือถือ เล่นเกมผ่านทางมือถือ ท่องอินเตอร์เน็ตผ่านทางมือถือ แล้วทำไมเราจะชำระเงินผ่านทางมือถือไม่ได้” มร. บาร์โทลี่ กล่าวทิ้งท้าย

ปัจจุบัน Marketbuzzz ได้นำฐานข้อมูลของบัซซี่บีส์ที่มีฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่จริงกว่า 22 ล้านคน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาจัดทำผลสำรวจอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ สามารถสำรวจได้ทุกที่ทุกเวลา 24/7 นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบและปรับเปลี่ยนแบบสอบถามได้หลากหลายประเภทตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงยังมีบริการด้านการวิจัยอีกหลากหลายรูปแบบ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนา    แบรนด์ การประเมินผลโฆษณาและสื่อต่างๆ การวิเคราะห์ประสบการณ์ลูกค้าและลูกจ้าง และการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เดลต้า ประเทศไทย ชูธงนวัตกรรม ESG คว้าดัชนี FTSE4Good ตอกย้ำความเป็นเลิศ

เดลต้าได้รับคัดเลือกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE4Good Index Series ซึ่งจัดทำโดย FTSE Russell ผู้ให้บริการด้านดัชนีและข้อมูลระดับโลก...

Responsive image

GMM Music เผย Digital Streaming ตัวเร่งสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงไทย

อุตสาหกรรมเพลงไทยยุคดิจิทัล
อุตสาหกรรมเพลงไทยกำลังเข้าสู่ยุคทองของการเติบโตแบบก้าวกระโดด จากพลังแห่งโลกดิจิทัลที่ทำให้ดนตรีไทยทะยานสู่ระดับโลก โดยปี 2023 ตลาดเพลงไทยขยายตัว 16% เที...

Responsive image

รู้จัก MoneyThunder แก้หนี้นอกระบบด้วย AI แอปสินเชื่อออนไลน์จาก ABACUS Digital

สำรวจปัญหาหนี้นอกระบบในไทยที่ส่งผลกระทบต่อคนกว่า 21 ล้านคน พร้อมทำความรู้จัก MoneyThunder แอปสินเชื่อ AI ที่ช่วยคนไทยเข้าถึงเงินทุนอย่างปลอดภัยและยั่งยืน...