11 อาชีพเตรียมปรับตัวรับ New Normal ชี้อาชีพแพทย์, ทนายความ, สถาปนิก, วิศวกร เปลี่ยนแน่! | Techsauce

11 อาชีพเตรียมปรับตัวรับ New Normal ชี้อาชีพแพทย์, ทนายความ, สถาปนิก, วิศวกร เปลี่ยนแน่!

สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย ผนึก 11 อาชีพ ร่วมถกข้อสรุปแนวทางการประกอบอาชีพยุค New Normal หลังโควิด-19 จบ อาทิ ทักษะและกระบวนการทำงานที่ต้องปรับ ความต้องการจ้างงาน สวัสดิการฉุกเฉิน กฎระเบียบมาตรฐานอาชีพใหม่ การใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ฯลฯ  

4 อาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ได้แก่ 

1. แพทย์ยุคใหม่ใส่ใจระบบสุขภาพออนไลน์ หนุนผู้ป่วยดูแลสุขภาพตนเองจากที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง

2. ทนายความยุคใหม่ ต้องพร้อมรับ e-Filing อำนวยความสะดวกประชาชน ยื่นฟ้องร้อง สืบพยาน พิจารณาคดีความผ่านระบบ VDO Conference โดยไม่ต้องขึ้นศาล 

3. สถาปนิกต้องจัด Criteria งานออกแบบใหม่ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและส่งเสริมการเข้าถึงบริการของผู้คน 

4. วิศวกรไทยต้องปรับตัว ต่อยอดความรู้พัฒนาเทคโนโลยี ต่อยอดความรู้ผลิตนวัตกรรมสู้โควิด-19 และพร้อมรองรับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต 

ทั้งนี้ งานเสวนาในหัวข้อ “การเตรียมตัวรับ New Normal หลังวิกฤตไวรัสโควิด-19” จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผ่านระบบ Cisco Webex ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึง โควิด-19  (COVID-19) ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อทุกสรรพสิ่งทั่วโลก ทั้งกระบวนการทำงานของวิชาชีพ

ต่าง ๆ และพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนสู่สิ่งใหม่ (New Normal) ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพทวีคูณ อาทิ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) รวมถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์จากที่บ้าน ทั้งการสั่งอาหาร ชมภาพยนตร์แบบไลฟ์สตรีม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 

ดังนั้น สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยสภาวิชาชีพ 11 แห่ง ได้แก่ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาทนายความ สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สัตวแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด และสภาวิชาชีพบัญชีฯ จึงได้ร่วมกันจัดงานเสวนา ในหัวข้อ “การเตรียมตัวรับ New Normal หลังวิกฤตไวรัสโควิด-19” ผ่านระบบ Cisco Webex ขึ้น เพื่อหาข้อสรุปถึงแนวทางการปรับตัวประกอบอาชีพทั้ง 11 สาขาวิชาชีพควบคุม ในยุคที่พฤติกรรมผู้คนเปลี่ยน อาทิ ‘ทักษะและกระบวนการทำงานที่ต้องปรับ’ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสและโรคอุบัติใหม่ในอนาคต  ‘ความต้องการจ้างงาน’ ที่มีศักยภาพสูงและพร้อมปรับตัวรับสถานการณ์ ‘สวัสดิการฉุกเฉิน’ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์กรณีได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ‘กฎระเบียบมาตรฐานอาชีพใหม่’ ที่ให้ความสำคัญกับสุขอนามัยประชาชนเป็นหลัก ‘การใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน’ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเข้าถึงบริการและความรู้ ฯลฯ

ทั้งนี้ จากงานเสวนาดังกล่าว พบว่า มี 4 แนวทางในการปรับตัวสำหรับการประกอบวิชาชีพเพื่อรองรับ New Normal หลังโควิด-19 ที่น่าสนใจ ดังข้อสรุปต่อไปนี้ 

-    แพทย์ยุคใหม่ใส่ใจเฮลท์เทค (Health Tech) ด้วยพฤติกรรม New Normal ของผู้คนที่เลือกใช้ชีวิตประจำวันที่บ้านมากขึ้น แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพต่อเนื่อง ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร จึงจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือระบบสุขภาพออนไลน์ อาทิ Telenursing Telemedicine Telepharmacy เพื่อนำมาสนับสนุนการทำงาน และพร้อมเสิร์ฟความรู้สุขภาพถึงบ้านประชาชน ที่ครอบคลุมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ การจัดส่งใบสั่งยา การนัดหมายและติดตามอาการผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง

-    ทนายความยุคใหม่ ต้องพร้อมรับ e-Filing สภาทนายความ ถือเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีการปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา ศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้พัฒนาระบบ e-Filing System ระบบยื่นฟ้องและส่งคำคู่ความ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ให้สามารถยื่นฟ้องร้อง ยื่นเอกสารสำคัญ สืบพยาน รวมถึงพิจารณาคดีความผ่านระบบ VDO Conference โดยไม่ต้องเดินทางไปขึ้นศาล นอกจากนี้ สภาทนายความ ยังมีสายด่วน 1167 พร้อมให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย มาตรการ ข้อควรปฏิบัติ และสิทธิที่ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการพึงได้

-    สถาปนิกต้องจัด Criteria งานออกแบบใหม่ ด้วยเงื่อนไขของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ สถาปนิกยุค New Normal จะต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ออกแบบใหม่ใน 6 ด้านสำคัญ คือ ความหนาแน่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดโซนนิ่ง การสัญจร ระบบถ่ายเทอากาศ และการลดการสัมผัส (ข้อมูล: ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) สู่ การทำงานร่วมกับวิศวกรในการปรับปรุงโครงการงานออกแบบสถานที่ต่าง ๆ ในอนาคต เช่น ร้านค้าแผงลอย ตลาดอาหาร ศูนย์อาหาร ฯลฯ ที่ผู้คนสามารถเข้าใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย และไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

-    วิศวกรไทยต้องปรับตัว ต่อยอดความรู้พัฒนาเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม ถือเป็นกลไกหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหาในหลากมิติ ดังนั้น วิศวกรยุคใหม่ ต้องพร้อมปรับตัว เรียนรู้ และบูรณาการความรู้สู่การประดิษฐ์นวัตกรรมสู้โควิด-19 ตลอดจนรองรับโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ในอนาคต เช่น การพัฒนา Co-Bot หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับทีมแพทย์ เทคโนโลยีไร้สัมผัส (Touchless Technology) โดรนเทคโนโลยี (Drone Technology) ในการจัดส่งเวชภัณฑ์และอาหาร หรือห้องตรวจเชื้อพิเศษ เพื่อลดเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงการคิดค้นแนวทางการจัดการขยะติดเชื้อ ภายใต้กระบวนการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ฯลฯ 

อย่างไรก็ดี สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย มุ่งยกระดับมาตรฐานสภาวิชาชีพในระดับสากล ผ่านขบวนการแห่งความร่วมมือและความเข้มแข็งที่สภาวิชาชีพแต่ละแห่ง เสริมสร้างและสานสัมพันธ์อันยิ่งใหญ่ต่อกัน เพื่อ ประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาวิชาชีพและสังคมไทยในอนาคต ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...