การก้าวเข้าสู่ปี 2020 เป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าน่าตื่นเต้น เพราะนี่คือปีที่หลายๆ คนกำหนดไว้ให้เป็นการมาถึงของเหตุการณ์สำคัญด้านเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งยานยนต์อัตโนมัติที่จอดเรียงรายอยู่บนถนน ไปจนถึงผู้ช่วยเสมือน (virtual assistants) ที่คาดเดาล่วงหน้าถึงความต้องการของเราและพร้อมที่จะดำเนินการตามการร้องขอ ไปจนถึงทกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอัจฉริยะจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงเข้าหากัน
และเมื่อหยุดคิดถึงสิ่งที่ประสบความสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจพอสมควร เมื่อเรายังไม่มียานยนต์อัตโนมัติวิ่งไปกลับบนถนนหนทางต่างๆ ผู้ผลิตยานยนต์ต่างกำลังเดินหน้าเพื่อเข้าใกล้ยานยนต์ที่เป็นอัตโนมัติในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดีไวซ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ระบบและแอปพลิเคชันจำนวนมาก รวมไปถึงแอปพลิเคชันด้านเฮลธ์แคร์ เครื่องจักรอุตสาหกรรมตลอดจนถึงระบบด้านการเงินที่เราใช้ต่างถูกเชื่อมต่อและทำให้กลายเป็นอัจฉริยะ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า as “the edge.”
สิ่งที่อยู่ที่ฐานรากของทุกนวัตกรรมและความก้าวหน้าคือข้อมูลมหึมาจำนวนมหาศาล พร้อมพลังในการประมวลผล ไปจนถึงความสามารถในการทำงานข้ามโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ปลายทาง ไปยังคลาวด์และคอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อดึงข้อมูลไปพร้อมการทำงานของมัน และด้วยจำนวนข้อมูลอันมหาศาลที่กำลังมุ่งหน้าเข้ามาหาเราในอีก 10 ปีข้างหน้า เราทำได้เพียงจินตนาการว่าโลกที่อยู่รอบตัวเราจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรเมื่อถึงปี 2030 ด้วยแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่แม้กระทั่งเราก็ยังไม่เคยนึกไปถึง
ปี 2020 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่พวกเราที่เดลล์ เทคโนโลยีส์เรียกว่า ทศวรรษหน้าของข้อมูล (Next Data Decade) และไม่ต้องสงสัย เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ด้วยความคาดหวังใหม่ๆ อย่างเต็มเปี่ยมถึงสิ่งที่เทคโนโลยีสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ทั้งในรูปแบบของการใช้ชีวิต การทำงาน และการใช้งานเพื่อการพักผ่อน เช่นนั้นแล้ว อะไรคือเทคโนโลยีเทรนด์และการพัฒนาหรือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่จะเป็นตัวบ่งบอกถึงรูปแบบของสิ่งที่จะเข้ามาในอีก 10 ปีข้างหน้า และนี่คือการคาดการณ์ (predictions) ถึงสิ่งที่กำลังจะมาถึงในปีนี้
ปัจจุบัน เรามีสิ่งที่เรียกว่าข้อมูล (data) จำนวนมหาศาลอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็น บิ๊ก ดาต้า หรือเมตะ ดาต้า (meta data) จะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง (structured) หรือข้อมูลหลากหลายแบบไม่มีโครงสร้าง (unstructured data) อันประกอบด้วยข้อมูลอยู่ในคลาวด์ ในอุปกรณ์ที่อยู่ปลายทาง ไปจนถึงในดาต้าเซ็นเตอร์หลัก หรือในทุกๆ ที่ อย่างไรก็ตาม องค์กรธุรกิจต่างดิ้นรนในการที่จะทำให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ใช่จะถูกส่งไปที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เพราะพวกเขาขาดความสามารถในการมองเห็นข้อมูล (data visibility) ขาดความสามารถสำหรับทีมงานด้านไอทีในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากจำนวนของระบบและบริการต่างที่ถูกถักทอเข้าไว้ด้วยกันตลอดทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานมีจำนวนมากเกินไป และในการเริ่มต้นของปี 2020 นี้ ซีไอโอจะหันมาปรับทำให้การมองเห็นข้อมูล (data visibility) เป็นสิ่งสำคัญในลำดับบนสุด เพราะถึงที่สุดแล้ว ข้อมูลคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้วงล้อ (flywheel) ของนวัตกรรมหมุนไป
เราจะเห็นองค์กรธุรกิจเร่งการปฏิรูปทางดิจิทัล (digital transformation) ด้วยการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของพวกเขาเรียบง่ายและเป็นแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะหลอมรวมระบบและการบริการให้เป็นโซลูชันแบบองค์รวม (holistic) ที่จะช่วยให้สามารถควบคุมและชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น ความมั่นคงในด้านสถาปัตยกรรม ข้อตกลงการทำออเคสเทรชั่น (orchestration)และบริการจะเปิดประตูใหม่ในด้านการจัดการข้อมูล ซึ่งนั่นจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับข้อมูลในการที่จะถูกนำไปใช้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง ในการที่จะขับเคลื่อนไอทีโดยอัตโนมัติ และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้น เร็วขึ้นที่จะทำให้นวัตกรรมของทศวรรษหน้าเติบโตต่อไป
แนวคิดที่ว่าไพรเวทคลาวด์ และพับบลิคคลาวด์ ไม่เพียงแต่สามารถจะอยู่ร่วมกันจนกลายเป็นภาพของความเป็นจริงภายในปี 2020 นี้ โดยกลยุทธ์ไอที มัลติ-คลาวด์ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาปัตยกรรมไฮบริดคลาวด์จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจในการมองเห็นและการจัดการข้อมูลที่ดีกว่าให้กับองค์กรธุรกิจ ในขณะที่สร้างความเชื่อมั่นว่าข้อมูลทั้งหมดยังสามารถเข้าถึงได้และยังคงปลอดภัย ที่จริงแล้ว ไอดีซีได้ทำนายไว้ว่าภายในปี 2021 องค์กรธุรกิจในระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกจะพึ่งพาการผสมผสานระหว่างคลาวด์ที่เป็น on-premises กับไพรเวทคลาวด์ที่กำหนดไว้ใช้งานเฉพาะส่วน (dedicated private cloud) ไปจนถึงพับบลิคคลาวด์หลายแห่ง และแพลตฟอร์มเดิม (legacy platform) ในการตอบสนองต่อความต้องการโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ไพรเวทคลาวด์ไม่ได้เพียงอยู่ในใจกลางของดาต้าเซ็นเตอร์เท่านั้น จากการที่ 5G และการนำระบบปลายทางเข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง ไพรเวท ไฮบริดคลาวด์ จะปรากฏตัวขึ้นในจุดที่อยู่ปลายทางด้วยเพื่อทำให้แน่ใจถึงความสามารถในการมองเห็นและการจัดการข้อมูลแบบเรียล-ไทม์ในทุกที่ที่ได้รับการติดตั้งและให้บริการ นี่หมายความว่าองค์กรจะมีความคาดหวังให้คลาวด์ของพวกเขาและผู้ให้บริการให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถให้การรองรับความต้องการไฮบริดคลาวด์ได้ในทุกสภาพแวดล้อมทั้งหมด นอกเหนือจากนั้น เราจะเห็นการรักษาความปลอดภัย (security) และการคุ้มครองข้อมูล (data protection) ถูกบูรณาการในเชิงลึก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของไฮบริดคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่คอนเทนเนอร์ และ Kubernetes ยังคงรอได้รับการผลักดันในการการพัฒนาแอปพลิเคชัน การวางมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์จะไม่ใช่การเริ่มต้น…หากแต่จะถูกสร้างให้ผสานเข้าสู่ทุกเส้นสายของกลยุทธ์ในการจัดการข้อมูลโดยองค์รวมตั้งแต่อุปกรณ์ปลายทาง (edge) ไปถึงการประมวลผลที่ส่วนกลาง (core) ไปจนถึงคลาวด์ (cloud)
หนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์เมชั่น คือทรัพยากร โดยทั้งรายจ่ายลงทุน (CapEx) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) มักจะเป็นปัจจัยในการสร้างข้อจำกัดเสมอ เมื่อมีความพยายามที่จะวางแผนและคาดเดาล่วงหน้าถึงความต้องการใช้งานพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าโดยยังไม่ต้องพูดถึงในอีก 3-5 ปีข้างหน้า รูปแบบของการให้ซอฟต์แวร์ในรูปแบบของบริการ (SaaS) และการใช้งานคลาวด์กำลังเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านการนำไปใช้และความนิยม มอบความยืดหยุ่นให้กับองค์กรให้สามารถจ่ายค่าใช้บริการได้ตามจำนวนที่ใช้งานและตามการเติบโต
ในปี 2020 ทางเลือกของการใช้บริการแบบยืดหยุ่นได้ (flexible consumption) และรูปแบบบริการแบบ as-a-service ช่วยเสริมความเร็วให้กับองค์กรในการคว้าจับโอกาสในการทรานส์ฟอร์มตัวเองเข้าสู่รูปแบบของไอทีที่เกิดขึ้นได้ด้วยคลาวด์ และกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined) ด้วยเหตุนี้ องค์กรจะสามารถเลือกรูปแบบทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับธุรกิจเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโซลูชันแบบครบวงจร (end-to-end) ที่ช่วยในด้านการเคลื่อนย้ายข้อมูล (data mobility)และการมองเห็น (visibility) หรือกระทั่งดึงเวิร์กโหลดที่หนาแน่นที่สุดด้าน AI และแมชชีน เลิร์นนิ่งเมื่อต้องการ
“Edge” ยังคงพัฒนาต่อไป - ด้วยการทำงานอย่างหนักเพื่อกำหนดว่ามันคืออะไรและที่ตรงไหนที่ควรอยู่ เมื่อจำกัดไว้ที่อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) เป็นเรื่องยากที่ว่าระบบไหน แอปพลิเคชันหรือบริการไหนจนถึงผู้คนและสถานที่ที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้าหากัน ดังนั้น ‘edge’ จึงเกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ และกำลังที่จะขยายตัวออกไปโดยมีองค์กรธุรกิจเป็นผู้นำพา เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในการรองรับ
การเชื่อมต่อ 5G กำลังสร้างรูปแบบการใช้งานใหม่และความเป็นไปได้ต่างๆ ทั้งสำหรับการบริการด้านเฮลธ์แคร์ บริการทางการเงิน ทางการศึกษา และในอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยเหตุนี้โซลูชั่น SD-WAN และระบบเครือข่ายที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ หรือ software-defined networking จึงกลายเป็นแกนหลักของโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบองค์รวมเพื่อสร้างความมั่นใจว่าปริมาณดาต้า เวิร์กโหลดอันมหาศาลจะเดินทางได้ด้วยความเร็วอย่างปลอดภัยในระหว่าง edge ที่อยู่ปลายทางไปยังส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใจกลางก่อนไปสู่สภาพแวดล้อมแบบคลาวด์ ทั้งนี้ โซลูชั่นระบบเครือข่ายแบบเปิด (open networking) จะเหนือกว่าระบบ proprietary เนื่องจากองค์กรจะตระหนักรู้ว่าหนทางเดียวที่จะจัดการ และสร้างความปลอดภัยให้ข้อมูลได้ในระยาวจำเป็นต้องมีทั้งความยืดหยุ่นและความคล่องตัวที่มีเพียงเครือข่ายที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ (software-defined networking) เท่านั้นที่สามารถทำได้
นวัตกรรมด้านพีซียังคงขยายแนวเขตของทั้งรูปลักษณ์และประสิทธิภาพใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในทุกปี เริ่มตั้งแต่หน้าจอที่ให้ทั้งความสมจริงและทั้งขนาดที่ใหญ่มากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่ฟอร์ม แฟคเตอร์มีขนาดที่เล็กลงกว่าเดิมและเพรียวบางยิ่งขึ้น แต่ที่มากยิ่งไปกว่านั้นก็คือสิ่งที่ทำงานในส่วนที่เป็นหัวใจของพีซีที่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากกว่าที่เคย ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชันที่ใช้ AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง ได้สร้างสรรค์ระบบที่ปัจจุบันสามารถรู้ได้ว่าเมื่อไหร่ หรือจุดที่ควรต้องเพิ่มพลังและขีดความสามารถในการประมวลผลโดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ ด้วยระบบไบโอเมทริกซ์ พีซีรู้ได้ในทันทีว่านี่คือคุณ ในช่วงจังหวะที่คุณมองไปที่หน้าจอ และในเวลานี้ AI และแมชชีน เลิร์นนิ่ง แอปพลิเคชันฉลาดเพียงพอที่จะมอบความสามารถให้กับระบบของคุณในการปรับแต่งเสียงและสีตามเนื้อหาของสิ่งที่คุณกำลังดูหรือเกมที่คุณกำลังเล่น
ในปีนี้ ความก้าวหน้าต่างๆ ในด้าน AI และแมชชีน เลิร์นนิ่งจะเปลี่ยนพีซีของเราให้สมาร์ทเพิ่มมากขึ้นและทำงานร่วมกันได้มากขึ้น พีซีจะมีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอายุการใช้งานแบตเตอรี่สำหรับช่วงเวลาที่มีประสิทธิผลมากที่สุดของเรา กลายเป็นแม้กระทั่งเครื่องจักรแบบพอเพียงที่สามารถรักษาตัวเอง (self-heal) และสามารถยืนยันตัวเองเพื่อการซ่อมบำรุงซึ่งจะช่วยลดภาระของผู้ใช้ และที่แน่นอนจะช่วยลดจำนวนในการเกิดความขัดข้องด้านไอทีลง และนั่นจะเป็นทั้งความสุขและให้ทั้งผลิตผลในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในส่วนของผู้ใช้งานและกลุ่มคนด้านไอทีที่คอยช่วยดูแลระบบ
นวัตกรรมแบบยั่งยืนจะยังคงเป็นศูนย์กลางต่อไป จากการที่องค์กรต่าง ๆ เช่นเราต้องการสร้างความมั่นใจว่าผลกระทบที่พวกเขามีต่อโลกจะไม่มาพร้อมกับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อโลกใบนี้ การลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในการด้านการรียูส และการทำรีไซเคิลเพื่อนวัตกรรมในแบบวงปิด (closed-loop) จะเร่งความเร็วให้ฮาร์ดแวร์ที่ขนาดเล็กลงกว่าเดิมขณะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมทั้งสร้างขึ้นด้วยสินค้ารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ (eWaste) ขณะที่ใช้วัสดุที่มีอยู่เดิมแล้วให้มากที่สุด ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ เราได้บรรลุเป้าหมายตามแผนงาน Legacy of Good 2020 ก่อนเวลาที่กำหนด – ดังนั้นเราจึงกำหนดเป้าหมายใหม่สำหรับปี 2030 เพื่อรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่เทียบเท่าสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าซื้อ นำเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนด้วยประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดทำจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุหมุนเวียน รวมทั้งใช้วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุทดแทน 100 เปอร์เซ็นต์ในบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด
และเมื่อเราก้าวเข้าสู่ทศวรรษหน้าแห่งข้อมูล (Next Data Decade) ผมเชื่อมั่นและรู้สึกตื่นเต้นถึงสิ่งที่อนาคตกำเอาไว้ในมือ ย่างเก้าต่อๆ ไปที่องค์กรต่างๆ จะเดินไปในปีนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลที่มีอยู่
จะกำหนดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ที่ทุกคนจะได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นการรักษาทางการแพทย์ที่เร็วขึ้น และอากาศที่สะอาดขึ้น และก่อนที่เราจะรู้ถึงสิ่งนั้น เรากำลังรอสิ่งที่กำลังจะตามมาในอีก 10 ปีข้างหน้านี้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด