NIA เผยผลสำรวจคนยุคใหม่ในองค์กรนิยมทำงานแบบ Work From Home ตอบโจทย์วิถีชีวิต | Techsauce

NIA เผยผลสำรวจคนยุคใหม่ในองค์กรนิยมทำงานแบบ Work From Home ตอบโจทย์วิถีชีวิต

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ชี้การทำงานที่บ้านเตรียมก้าวสู่ภาวะปกติใหม่ หรือ New Normal ของรูปแบบการทำงานของหลายองค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชน เผยในช่วงการระบาดของโรคโควิด – 19 ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานรุ่นใหม่ในองค์กร พบว่าส่วนใหญ่พึงพอใจต่อรูปแบบดังกล่าว เนื่องจากตอบโจทย์วิถีชีวิต สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ทั้งยังชื่นชอบที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการงาน เช่น การสื่อสาร การจัดเก็บข้อมูล ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อ “การสร้างองค์กรนวัตกรรมภาครัฐ” เพื่อรองรับการทำงานและอำนวยความสะดวกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งหากได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีจะนำโมเดลนี้ไปเป็นต้นแบบให้กับองค์กรภาครัฐ หรือบริษัทเอกชนที่ต้องการยกระดับตนเองสู่องค์กรยุคใหม่ที่นำเทคโนโลยีและเครื่องมือทันสมัยมาใช้ในการทำงาน 

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า         จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ก่อให้เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลากหลายมิติ หนึ่งในนั้นก็คือ “การทำงานที่บ้าน” หรือ Work From Home ที่ได้กลายเป็นปรากฏการณ์การทำงานรูปแบบใหม่ และอาจเป็น New Normal ของหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน และยังถือเป็นอีกก้าวของการยกระดับองค์กรสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่พร้อมรับมือการการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลก 

NIA ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่เป็นองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมของประเทศ และมีโอกาสได้เข้าไปร่วมประเมินศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กรทั้งหน่วยงานขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งจากมาตรการทำงานที่บ้านในช่วงที่ผ่านมา NIA ได้มีการสำรวจความเห็นต่อระรบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในองค์กรซึ่งร้อยละ 36.4 เป็นคนรุ่นใหม่ พบว่ากว่าร้อยละ 44.3 มีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น เนื่องจากมองว่างานส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์หรือวางแผนสามารถทำที่ใดก็ได้ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และการประชุมติดตามงานก็มีความกระชับมากขึ้น ร้อยละ 50 มองว่าการทำงานที่บ้านเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ควรทำต่อ 

แม้ว่าจะผ่านวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เพราะเชื่อว่าเป็นการทำงานที่สามารถบริหารจัดการเวลาได้เต็มที่ทั้งเรื่องงานและกิจกรรมส่วนตัว สร้างสมดุลชีวิตการทำงาน หรือ work life balance แต่ต้องมีการวางแนวทางต่าง ๆ ให้ชัดเจน และตอบโจทย์การทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงร้อยละ 62.5 เสนอให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการ เช่น การสื่อสาร การจัดเก็บ/แก้ไข/สืบค้นข้อมูลร่วมกัน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ฯลฯ ซึ่งเหมาะกับองค์กรนวัตกรรมยุคใหม่ที่บุคลากรควรมีความพร้อมที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ ในการทำงานอยู่เสมอ 

“ในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด – 19 NIA ยังได้ศึกษาข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและเริ่มพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ภายใต้แนวคิด “การสร้างองค์กรนวัตกรรมภาครัฐ” เพื่อรองรับการทำงานและอำนวยความสะดวกให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกสำนักงาน โดยเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาระบบงานให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพ และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การทำงานรูปแบบใหม่ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต และเริ่มเตรียมการปรับเปลี่ยนสำนักงานสู่การเป็น Innovative Workplace ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับสู่สภาพการทำงานปกติ ทั้งนี้ หากการศึกษาแนวทางและรูปแบบการปฏิบัติงานดังกล่าวมีประสิทธิภาพ NIA จะนำโมเดลนี้ไปเป็นต้นแบบให้กับองค์กรภาครัฐ หรือบริษัทเอกชนที่ต้องการยกระดับตนเองสู่องค์กรนวัตกรรม ซึ่งขณะนี้มีหลายองค์กรที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และสร้างโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” 

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากสถานการณ์โควิด - 19 คลี่คลาย อาจจะเห็นการทำงานที่บ้านของหลายบริษัทในประเทศไทยอย่างจริงจัง รวมถึงหน่วยงานในกำกับราชการ ที่จะขยายโอกาสให้บุคลากรได้ทำงานจากนอกสำนักงานมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้มีความยืดหยุ่น รวมทั้งยังจะได้เห็นสตาร์ทอัพและนักพัฒนาเทคโนโลยีออกมานำเสนอแพลตฟอร์มใหม่ๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกกับการทำงานเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างโอกาสการพัฒนาองค์กรเข้าสู่การเป็น “องค์กรนวัตกรรม” ที่ไม่ใช่เพียงแค่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความเป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น แต่จะเป็นองค์กรที่สามารถหาโซลูชั่นใหม่ๆ ที่ช่วยในการบริหารจัดการแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน และสามารถรับมือได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทโลก รวมถึงเห็นการเปลี่ยน “วัฒนธรรมองค์กร” ที่รู้จักกล้าคิด กล้าตั้งคำถาม และกล้าที่จะทดลองลงมือทำในสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้น การพัฒนาทักษะทรัพยากรมนุษย์ที่รู้จักเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และไม่ยึดติดกับโมเดลเดิมที่เคยประสบความสำเร็จ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ครบรอบ 20 ปีในไทย ย้ำจุดยืนผู้นำ AI-IoT และ “Edge AI” ยกระดับ Smart Manufacturing, Smart City และ ESG สู่ความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม บริษัท แอดวานซ์เทค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชัน AI, IoT และคอมพิวเตอร์เฉพาะทาง ได้จัดงานฉลองครบรอบ 20 ปีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ...

Responsive image

ยกระดับบริการลูกค้าด้วย AI BOTNOI Voice บน AWS ช่วยองค์กรไทยสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

AWS ประกาศในวันนี้ว่า BOTNOI สตาร์ทอัพด้าน Generative AI ของไทยที่เชี่ยวชาญในการสร้างผู้ช่วยเสมือนจริงสำหรับการสนทนา ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม BOTNOI Voice ขึ้นบนคลาวด์ของ AWS...

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...