สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จับมือ 8 พันธมิตร ร่วมมือในการพัฒนา National EMS Data Exchange Platform หรือ แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ
โดยพันธมิตรทั้ง 8 ได้แก่ สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร), ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศสํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, บริษัท โทรคมนาคมแหง่ ชาติ จํากัด (มหาชน) ( NT), สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ, บริษัท Microsoft และบริษัท คอราไลน์ จํากัด
เนื่องจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เล็งเห็นถึงความสําคัญในเรื่องของการปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และการขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยข้อมูล เพื่อนําไปสู่การยกระดับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในรูปแบบดิจิทัลทั้งระบบ
จึงได้มีการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดโครงการการปฏิรูประบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดทําเครื่องมือสําหรับการบริหารจัดการข้อมูล หรือ เป็นแพลตฟอร์มกลางสําหรับการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของทั้งประเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. เพื่อให้มีนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล และมาตรฐานของข้อมูล (Data Governance)
2. เพื่อให้มีข้อมูลในเชิงคุณภาพทีสามารถบริหารจัดการได้ (Data Quality Control)
3. เพื่อให้มีมาตรฐานการเข้าถึงข้อมูล (Data Access Control)
4. เพื่อให้มีมาตรการการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Control)
5. เพื่อให้มีระบบศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานในระดับประเทศ สําหรับการขับเคลื่อนภารกิจด้านการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
6.เพื่อให้ระบบฯสามารถเป็นช่องทางสําหรับการแลกเปลี่ยนเชื่อมต่อบูรณาการและเปิดเผยข้อมูลของ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบ
7.เพื่อนําข้อมูลที่ได้จากระบบไปสู่การวิเคราะห์ ปรับปรุงการให้บริการและการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชาชนได้อย่างครอบคลุม ทั่วถึง เท่าเทียม อย่างมีมาตรฐาน และทันสมัย
นาวาเอกนายแพทย์พิสิทธิ เจริญยิ่ง รองเลขาธิการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า หากมีระบบในการจัดการ แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นรูปธรรม จะทําให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยรูปแบบของการดําเนินการของโครงการจะเป็นการปฏิรูปองค์กรเพื่อเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
และการพัฒนา National EMS Data Exchange Platformโครงการดังกล่าวจะส่งผลประโยชน์สูงสุดทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนในด้านของการบูรณาการ แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งยังช่วยลดต้นทุนในระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ที่สําคัญยังส่งผลต่อประชาชนในภาพรวม ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึงตามเจตนารมย์ของสถาบันการแพทฉุกเฉินแห่งชาติ
และตามเจตนารมย์นโยบายของประเทศในเรื่องของการที่จะทําให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นระบบหนึ่งในการรับประกันความมั่นคงปลอดภัยของประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความสามารถด้านการแข่งขันในเชิงเศรษฐกิจ เชิงโครงการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย
1. ให้บริการในรูปแบบ One Stop Service
2.ให้บริการได้โดยไม่ต้องใช้สําเนาเอกสาร
3. มีความโปร่งใส แม่นยํา ตรวจสอบได้
4. มีการอัพเดทข้อมูลโดยอัตโนมัติ (Real-Time Dashboard)
5. หน่วยงานเจ้าของข้อมูลสามารถจัดเก็บและดูแลข้อมูลเองโดยเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐการพัฒนาโครงการแพลตฟอร์มกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน
"จึงเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ โดยในแต่ละหน่วยงาน จะให้ความสนับสนุนตามความสามารถ และความถนัดของหน่วยงาน ทั้งนี้ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วม ต่างมีความตั้งใจเดียวกัน คือ การเห็นความสําเร็จของโครงการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นต้นแบบของการใช้ประโยชน์จาก Big Data และการทํางานด้วยการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลให้โครงการอื่นๆ ต่อไป" นาวาเอกนายแพทย์พิสิทธิ กล่าวทิ้งท้าย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด