OR จับมือ Mitsubishi Motors และไปรษณีย์ไทย ร่วมลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอร์รี่ขนส่ง | Techsauce

OR จับมือ Mitsubishi Motors และไปรษณีย์ไทย ร่วมลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอร์รี่ขนส่ง

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR สานต่อความร่วมมือกับ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในโครงการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอร์รี่ในการขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ 

OR

ดำเนินงานในเฟสที่ 2 เพื่อการศึกษา และทดสอบการขนส่งสินค้า และพัสดุในเส้นทางที่ลาดชันในจังหวัดภูเก็ต และชลบุรี มุ่งใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ในการนำจ่ายไปรษณียภัณฑ์เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก้าวสู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง

คุณทรงพล เทพนำโสมนัสส์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจเอนเนอร์ยี่โซลูชัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า หนึ่งในเป้าหมายของเราภายในปี 2030 คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจและเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ความร่วมมือกับมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย และ ไปรษณีย์ไทย จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจพลังงานแบบผสมผสานเพื่อการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ 

นอกจากนี้ โออาร์ ได้วางแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอีวี สเตชั่น พลัซ (EV Station PluZ) ให้มากขึ้น รวมเป็น 800 แห่ง ภายในปี 2566 ทั้งภายในและภายนอก พีทีที สเตชั่น พร้อมทั้งแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในการขยาย EV Station PluZ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมาย 7,000 หัวชาร์จในปี 2573 และเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มร. เออิอิชิ โคอิโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณพันธมิตรชั้นนำที่ให้ความร่วมมือกับเราเป็นอย่างดีมาตลอด ทั้งไปรษณีย์ไทย และ โออาร์ การผนึกกำลังทำงานร่วมกัน ช่วยให้เราเดินหน้าเข้าใกล้เป้าหมายด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง สอดคล้องกับวาระการส่งเสริมยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้าของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย 

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จะเดินหน้าแสวงหาโอกาสและร่วมมือกับพันธมิตรใหม่ ๆ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อช่วยขับเคลื่อนตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและส่งเสริมระบบเดินทางขนส่งในประเทศไทย การนำ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ มาทดลองใช้ในการนำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ จะเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในชีวิตจริง ทั้งเพื่อธุรกิจ และเพื่อการเดินทางไป-กลับที่ทำงานด้วยเส้นทางประจำทุก ๆ วัน” มร. โคอิโตะ กล่าวเพิ่มเติม

ในการดำเนินโครงการศึกษาระยะที่ 2 นี้ ไปรษณีย์ไทย จะทดลองใช้รถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์บนเส้นทางที่ลาดชันในจังหวัดภูเก็ตและชลบุรี รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นนี้มอบประสบการณ์การขับขี่ที่เงียบสงบ ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยศักยภาพการบรรทุกสินค้าได้สูงสุด 350 กิโลกรม พร้อมผู้โดยสาร 2 คน

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า เปิดเผยว่า ในปี 2566 แผนงานด้านการนำจ่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ไปรษณีย์ไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเติบโตของภาคธุรกิจที่ต้องพึ่งพาการขนส่ง และไปรษณีย์ไทยต้องมีการนำจ่ายทุกเส้นทาง ในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดมลพิษ ตลอดจนช่วยควบคุมต้นทุนและรายจ่าย ในด้านพลังงานน้ำมันซึ่งนับว่ามีความผันผวนในทุก ๆ ปี โดยแผนงานด้านดังกล่าวไปรษณีย์ไทยได้เริ่มดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 ปี โดยเฉพาะในปี 2565 ที่ได้ทดลองและเริ่มใช้ทั้งรถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้า รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า เช่น รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถตู้ นำจ่ายจริงในเส้นทางต่างๆ 

“ไปรษณีย์ไทยได้เริ่มเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการนำจ่ายพัสดุ – ไปรษณียภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนระยะยาว และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากการนำจ่ายของไปรษณีย์ไทยมีระยะทางที่ชัดเจนและต้องให้บริการในทุก ๆ วัน โดยนอกจากกลยุทธ์ ‘กรีนโลจิสติกส์’ แล้ว ยังมีการร่วมกับองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า อย่างมิตซูบิชิในการนำ “มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ” ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในงานขนส่งบนเส้นทางที่วิ่งเป็นประจำ ซึ่งพบว่าประหยัดค่าเชื้อเพลิง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับเป้าหมายในการลดคาร์บอนขององค์กร โดยในระยะเริ่มต้นปี 2566 นี้จะทดลองนำจ่ายในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้และมีการเติบโตในด้านธุรกิจขนส่ง ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป” ดร.ดนันท์ กล่าวเสริม 

มร.อาคิระ โกโตะ รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ สำนักนโยบายด้านบริการไปรษณีย์ กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารของญี่ปุ่น กล่าวว่า “เราสนับสนุนโครงการนี้เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในการใช้งานจริง ปัจจุบัน ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการก้าวสู่สังคมคาร์บอนเป็นกลาง อีกทั้งที่ญี่ปุ่นก็มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ เพื่อการขนส่งพัสดุทั่วประเทศอยู่ก่อนแล้ว การนำรถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ มีฟ มาปรับใช้กับกิจการขนส่งที่คล้ายคลึงกันในไทยจึงนับว่าเหมาะสมและเป็นไปได้จริง”

ในประเทศญี่ปุ่น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้จัดส่งรถยนต์ไฟฟ้ามิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ รวมทั้งสิ้น 10,000 คัน ให้กับบริษัทขนส่งต่าง ๆ รวมถึงบริษัทค้าปลีกและหน่วยงานรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ได้รวมถึงการจัดส่งมิตซูบิชิ มีฟ 1,800 คัน ไปยังการไปรษณีย์ของญี่ปุ่นเพื่อใช้ในกิจการไปรษณีย์

ภายใต้บันทึกข้อตกลงที่ลงนามในปีที่แล้ว มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จัดส่งรถยนต์ มิตซูบิชิ มินิแค็บ มีฟ จำนวน 2 คัน เพื่อการศึกษาและทำความเข้าใจถึงการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณิชย์ รวมถึงการเก็บข้อมูลการใช้งานเครื่องชาร์จไฟฟ้า พฤติกรรมการใช้งานในกลุ่มรถขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทย และความเป็นไปได้ที่จะขยายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มุ่ง “สรรค์สร้าง เคียงข้างสังคมไทย” และหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไอคอนสยาม คว้ารางวัล Asia’s Most Innovative Shopping Experience จาก Cathay Members’ Choice Awards 2024 ตอกย้ำโกลบอลเดสติเนชั่นอันดับ 1 ในใจนักท่องเที่ยวทั่วโลก

ไอคอนสยาม แลนด์มาร์คแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คว้ารางวัล Asia’s Most Innovative Shopping Experience จาก Cathay Members’ Choice Awards 2024...

Responsive image

เปิดตัว Subscription สำหรับ “เหมียวจด” พร้อมอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ รองรับ 16 แอปธนาคาร

KBTG ตอกย้ำผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงิน เปิดตัวระบบสมาชิก (Subscription) สำหรับ “เหมียวจด” (MeowJot) แอปพลิเคชันจดรายจ่ายอัตโนมัติจากสลิปโอนเงิน พร้อมรองรับสลิปจาก 16 แอปการเงินขอ...

Responsive image

ดีลอยท์ แต่งตั้ง ดร. เมธินี จงสฤษดิ์หวัง เป็นกรรมการผู้จัดการคนใหม่ มีผล 1 ตุลาคม 2567

กรุงเทพฯ 7 ตุลาคม 2567 – ดีลอยท์ ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ ต่อจาก นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ...