ปตท. และ EWF เปิดตัวแพลตฟอร์มจัดหาพลังงานหมุนเวียนผ่านระบบบล็อกเชนสำหรับประเทศไทย | Techsauce

ปตท. และ EWF เปิดตัวแพลตฟอร์มจัดหาพลังงานหมุนเวียนผ่านระบบบล็อกเชนสำหรับประเทศไทย

ปตท. กลุ่มพลังงานข้ามชาติแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Energy Web Foundation (EWF) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านบล็อกเชนในภาคพลังงาน ประกาศร่วมกันถึงการพัฒนาแพลทฟอร์มการจัดหาพลังงานหมุนเวียนโดยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยแอพพลิเคชันถูกสร้างบนเครือข่ายบล็อกเชนทางด้านพลังงานโดยเฉพาะ (Energy Web Chain) และใช้ประโยชน์จากชุดพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สของ EW Origin เพื่อสร้างโซลูชันระดับภูมิภาคที่สอดคล้องกับมาตรฐาน International REC Standard (I-REC Standard)

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ของ CHPP บริษัทในเครือ GPSC และ ปตท. ขนาด 5 เมกะวัตต์ที่ตั้งอยู่ ณ สหกรณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดจันทบุรี

ปตท. ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มบริษัทต่างๆ เรื่องใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate; REC) ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งบริษัทข้ามชาติหลายแห่งกำลังหาซื้อใบรับรองพลังงานหมุนเวียนที่มาจากภูมิภาคฯที่ตรงกับการใช้ไฟฟ้าของพวกเขาจากโรงงานหรือสถานประกอบการที่มีอยู่ในภูมิภาคฯรวมถึงการตั้งโรงงานหรือสถานที่ประกอบการ ใหม่ในภูมิภาคฯ หลายบริษัทยังมองหาวิธีที่ดีขึ้นในการ enable and track sustainability commitments ลงไปถึงบริษัท supply chains ของพวกเขา ซึ่งการดำเนินงานมักจะตั้งอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งบางบริษัทยังมีความสนใจในการมีส่วนร่วมในการเร่งการเข้าถึงพลังงานสะอาดในชุมชน เช่น หลังคาโซลาร์ตามบ้านเรือน (Residential rooftop solar) ซึ่งโดยปกติแล้วการช่วยให้เกิดการเข้าถึงพลังงานสะอาดในระดับบ้านเรือนเป็นสิ่งที่บริษัทต่างๆไม่สามารถช่วยเหลือได้ในการซื้อใบรับรองในปัจจุบันซึ่งมักเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดระดับใหญ่ (Utility-scale) ซึ่งแพลทฟอร์มใหม่นี้จะช่วยให้บริษัทที่ต้องการสนับสนุนดังกล่าวสามารถเข้าถึง Product ดังกล่าวได้

ทั้งนี้ในตลาดพลังงานหมุนเวียนที่เกิดขึ้นใหม่ เช่นในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน I-REC ได้ผ่านการพิสูจน์เป็นมาตรฐานทางเลือกสำหรับบริษัทที่ตั้งอยู่ในตลาดนี้ แพลทฟอร์มสนับสนุนการซื้อขายพลังงานหมุนเวียนที่ปตท.และ EWF ร่วมกันพัฒนานั้นจะมีการเชื่อมแบบสองทิศทาง กับฐานข้อมูล I-REC ที่จัดการโดย Green Certificate Company

“แพลตฟอร์มใหม่นี้จะให้ประโยชน์กับทั้งฝั่งบริษัทที่ซื้อและบริษัทผู้พัฒนาพลังงานหมุนเวียน” คุณวรวัฒน์ พิทยศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและดิจิทัล ปตท. กล่าว “แพลตฟอร์มนี้จะช่วยจับคู่ความต้องการการใช้พลังงานกับพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ ได้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถบรรลุเป้าหมายทางด้านความยั่งยืน (Sustainability Goals) ได้ง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับพลังงานหมุนเวียนที่มี และเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนใหม่ด้านพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคฯ และเราภูมิใจในการสร้าง journey ใหม่นี้และปลดปล่อยศักยภาพทางด้านพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคฯ”

ณ Event Horizon Summit 2019 (20 มิ.ย.) ซึ่งเป็นงานระดับโลกทางด้าน Blockchain ในภาคพลังงาน โดยปตท. ได้ดำเนินการแสดงให้เห็นถึงการทำธุรกรรมที่ประสบความสำเร็จในแอปพลิเคชันทดลองรุ่นแรก (early test version) แล้วเสร็จ

ปัจจุบัน ประเทศไทยและตลาดอาเซียนยังคงเป็นตลาดใหม่สำหรับ I-RECs ที่ยังมีโอกาสอีกมาก โดยในปี 2018 มีการซื้อขายการรับรองคุณลักษณะพลังงาน (Energy Attribute Certificate; EAC) ทั่วโลกกว่า 1.2 พันล้านใบ โดยการซื้อขายส่วนใหญ่เกิดขึ้น ในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเรียกว่า การรับรองพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Certificates RECs) และ ในยุโรป (ซึ่งเรียกว่า การรับประกันแหล่งที่มา Guarantee of Origin; GOs) ทั้งนี้อาเซียนมีกำลังการผลิตที่ผ่านการรับรองเพียง 5 ล้านเมกะวัตต์ต่อชั่วโมง (MWh) ซึ่งน้อยกว่า 0.5% ของตลาด EAC ทั่วโลก

เมื่อปีที่แล้วพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยได้ให้พลังงานสะอาดประมาณ 28 ล้าน MWh แต่มีเพียง 0.16 ล้าน MWh ที่มีการออกใบจาก I-RECs (1 I-REC เท่ากับ 1 MWh) จึงเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่และคาดว่าตลาดนี้จะเติบโตขึ้นอีกได้มาก โดยจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2018-2037 หรือ Thailand’s Power Development Plan 2018 (PDP2018) คาดการณ์ว่าในปี 2037 ประเทศไทยจะผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็นสองเท่าของปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนในไทยและอาเซียน

“This scenario is tailor-made for a blockchain-based ‘leapfrog’ solution.” Jesse Morris chief commercial officer EWF กล่าว. “แพลทฟอร์มที่เรากำลังพัฒนาร่วมกับปตท. จะช่วยเชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทานที่เรารู้ว่ามีอยู่ ซึ่งแพลทฟอร์มจะช่วยในเรื่องของความโปร่งใสของข้อมูล, การรายงานความน่าเชื่อถือ และความสะดวก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตลาด EAC ที่เกิดใหม่”

ปตท. ได้ดำเนินการแสดงให้เห็นถึงการทำธุรกรรมที่ประสบความสำเร็จในแอปพลิเคชันทดลองรุ่นแรก (early test version) แล้วเสร็จ โดยโซล่าฟาร์มของ GPSC ขนาด 5 เมกะวัตต์ที่ตั้งอยู่ ณ สหกรณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดจันทบุรีเป็นผู้ขาย I-RECs 431 MWh ผ่าน Energy Web Chain ให้กับ 3Degrees ซึ่งเป็นบริษัทในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ให้คำปรึกษากับบริษัทต่างๆในเรื่อง Climate Change โดย 3Degrees จัดหา I-RECs ในนามของลูกค้าซึ่งมีการดำเนินกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ปตท. และ 3Degrees ล้วนอยู่ในกลุ่มพันธมิตรกับ EWF (EWF Affiliates)

ขณะนี้ทีมปตท.และEWF มุ่งเน้นในการสร้างโมดูลหลายๆ โมดูลสำหรับแอพพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผู้ใช้และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เข้ากับบล็อกเชนแอปพลิเคชัน, ความร่วมมือกับผู้ออกใบรับรอง I-REC และ การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลส่วนกลางของ I-REC, ตลาดสำหรับการซื้อขาย, การอ้างสิทธิ์, การรายงานใบรับรอง, และวิธีการสำหรับการทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก (small solar PV generators) สามารถเข้าร่วมในตลาดได้อยากสะดวกและง่าย ส่วนโมดูลเพิ่มเติมยังอยู่ในระหว่างการหารือเกี่ยวกับการชาร์จไฟที่สะอาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับข้อตกลงการซื้อไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA) ซึ่งแพลทฟอร์มดังกล่าวจะถือว่าเป็น แพลทฟอร์มจัดหาพลังงานหมุนเวียนที่มีระดับการพัฒนาที่ทันสมัยที่สุดและเป็น blockchain-based I-REC platform แรกในประเทศไทย โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการซื้อขายเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มรูปแบบภายในพฤษภาคม 2020

ผู้พัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียน บริษัทที่ต้องการจัดหาพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคฯ และหน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อทีมปตท.และ EWF ได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA เปิดเวที AGROWTH เร่งการเติบโตดีพเทคสตาร์ทอัพเกษตร

NIA เดินหน้าสร้างสตาร์ทอัพ สายเกษตรให้เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อเร่งการเติบโตและแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนในภาคเกษตร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบเดิมไปสู่การพึ่...

Responsive image

ไทยมี ‘ผู้บริหารหญิง’ นั่งบอร์ด แค่ 19% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก-อาเซียน

มีผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ (ร้อยละ 23.3) ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 นับตั้งแต่รายงานฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2565...

Responsive image

EVAT จับมือ กฟผ. และ ม.กรุงเทพธนบุรี จัดแข่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง พร้อมลงนาม MOU พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จับมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี พร้อมเดินหน้าจัดงานแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3 พร้อมลงนามบั...