R3 ผู้ให้บริการชั้นนำด้านเทคโนโลยีสำหรับวิสาหกิจ กับความท้าทายในตลาดเอเชีย-ไทย | Techsauce

R3 ผู้ให้บริการชั้นนำด้านเทคโนโลยีสำหรับวิสาหกิจ กับความท้าทายในตลาดเอเชีย-ไทย

ในโลกที่มีบล็อกเชนอย่างน้อย 1,000 แบบ และเครือข่ายบล็อกเชนที่แตกต่างกันถึง 4 เครือข่าย ส่งผลให้อุปสรรคหลักสำหรับการเพิ่มขึ้น ทำให้ในการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนให้แพร่หลายยังคงเป็นเรื่องความสามารถในการทำงานร่วมกัน ปัญหานี้เกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชียซึ่งมีการแบ่งกลุ่มตลาดกันอย่างชัดเจนมาก โดยประเทศต่าง ๆ ล้วนมีระดับการพัฒนาและการใช้งานบล็อกเชนที่แตกต่างกัน รวมถึงการพัฒนากฎระเบียบที่เอื้อต่อการใช้บล็อกเชนให้ครอบคลุมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

อย่างไรก็ดี เอเชียยังคงเป็นศูนย์กลางยุทธศาสตร์เพื่อการลงทุนและการค้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าสูง อีกทั้งภูมิภาคนี้ยังมีความพยายามขับเคลื่อนนวัตกรรมสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDC) ให้เกิดการพัฒนามากขึ้นผ่านโครงการนำร่องมากมาย รวมถึงแนวทางการใช้สกุลเงิน CBDC รวมเพื่อให้สามารถทำธุรกรรมข้ามพรมแดนที่มั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ จึงถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าจับตามอง 

คุณอามิต กอช, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลและบริการ และ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่ง R3 เปิดเผยถึงความท้าทายหลักที่ R3 เผชิญอยู่ภายในตลาดเอเชียที่ว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้เอเชียเป็นภูมิภาคที่ R3 ให้ความสำคัญในการร่วมงานกับผู้มีอำนาจออกกฎระเบียบของประเทศเพื่อการพัฒนาข้อกำหนดกฎหมายในเรื่องโทเคนดิจิทัล เห็นได้จากโครงการ Ubin ขององค์การเงินตราสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) และโครงการอินทนนท์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

จึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จะต้องพยายามไม่ให้เกิดการหยุดชะงักของการเชื่อมต่อและปกป้องโปรโตคอลและเครือข่ายบล็อกเชนต่าง ๆ จากการทำงานในคลังข้อมูล ดังนั้น ความท้าทายของ R3 คือการหาโซลูชั่นเพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันให้ครอบคลุมมากขึ้น แทนที่จะพยายามปิดกั้นลูกค้าให้ต้องผูกติดกับการทำสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบเดียว

สำหรับ R3 ได้มีการเพิ่มทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการทำงานร่วมกันของบล็อกเชนมาอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา โดยขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (DLT) ที่มีมากขึ้นซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของตลาดที่มีการควบคุมนี้ ช่วยให้สามารถระบุถึงรูปแบบของ “ระบบเพื่อการเชื่อมโยง (Bridges)” ของอีโคซิสเต็มที่น่าลงทุนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และในขณะนี้ R3 ได้เข้าสู่ระยะของการสร้างสรรค์อีโคซิสเต็มสำหรับบล็อกเชนเพื่อการดำเนินงานด้านสินทรัพย์ดิจิทัลระดับวิสาหกิจและเครือข่ายเงินตรา

ความท้าทายของ R3 ในประเทศไทย

 สำหรับประเทศไทยซึ่งมีการประกาศใช้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้เห็นว่าประเทศกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านด้านระบบดิจิทัลโดยพยายามก่อตั้งให้ประเทศเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมดิจิทัลแห่งเอเชียแปซิฟิก ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไทยมีการเติบโตทางเทคโนโลยีอย่างมากทั้งในหน่วยงานรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งต่างเปิดรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มมากขึ้น อาทิ บล็อกเชน และเมื่อเร็ว ๆ นี้รัฐบาลไทยยังเตรียมประกาศข้อปฏิบัติการจดทะเบียนธนาคารดิจิทัล (Virtual Banking Licensing Guidelines) ภายในไม่ช้า

 ด้วยการพัฒนากรอบการทำงานด้านการจดทะเบียนธนาคารดิจิทัล R3 เชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมในภาพรวมจะมีความชัดเจนในเรื่องกฎระเบียบที่จำเป็น ตลอดจนได้แบบพิมพ์เขียวเพื่อปูทางสู่การพัฒนาธนาคารดิจิทัลของประเทศในอนาคต สิ่งนี้ถือเป็นหลักชัยสำคัญในภาคธุรกิจธนาคารและการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นวัตกรรมเป็นตัวสร้างความแตกต่างที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการครองใจผู้ใช้งานที่ต่างก็คาดหวังและต้องการบริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น 

ท้ายที่สุด เมื่อประเทศไทยก้าวสู่ธุรกิจธนาคารดิจิทัลอย่างรวดเร็ว บล็อกเชนก็จะยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในธุรกิจการเงินดิจิทัล โดยจะมอบโซลูชั่นการทำธุรกรรมที่ง่าย โปร่งใสกับทุกฝ่าย และครอบคลุมการทำงานหลายระบบได้อย่างสอดคล้องกัน 

ด้วยเหตุนี้ R3 จึงสานต่อการทำงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ถือประโยชน์ในระดับรัฐและสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก อาทิ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการอินทนนท์-ไลออนร็อก (Project Inthanon-Lionrock) โดยได้เริ่มดำเนินงานโครงการสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currencies: CBDC) ร่วมกับองค์การเงินตราฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority) 

ซึ่งต่อมา ทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และจีนต่างก็มาเข้าร่วมส่วนหนึ่งของโครงการ Multiple CBDC Bridge รูปแบบใหม่ โดย R3 ยังร่วมมือกับธนาคารกรุงเทพในการนำ Corda ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบ open-source ของ R3 มาใช้ยกระดับการทำงานและเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบริการซื้อขายให้เป็นระบบดิจิทัล  

แม้ว่า R3 จะเล็งเห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เริ่มเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทั่วไปในประเทศไทยเมื่อวิสาหกิจต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล แต่ก็ยังคงเชื่อมั่นว่าคนไทยพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากระบบการธนาคารดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในความเป็นจริงกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นผู้สูงอายุจะได้รับประโยชน์จากธนาคารดิจิทัลมากที่สุด เนื่องจากจะได้รับความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการธนาคารต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น โดยที่พวกเขาไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาธนาคารด้วยตัวเอง

ในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใดก็ตาม กุญแจสำคัญในการปลดปล่อยศักยภาพทั้งหมดของธนาคารดิจิทัลก็คือการให้ข้อมูลแก่สาธารณชน โดยเฉพาะกลุ่มประชากรวัย 50 ปีขึ้นไป ซึ่งนอกจากการช่วยให้พวกเขามีความเข้าใจถึงประโยชน์ของธนาคารดิจิทัลและวิธีการใช้งานแล้ว การรณรงค์ภาคประชาชนก็มีความสำคัญเช่นกันเพื่อสอนถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นต้นที่จำเป็น (Cyber Hygiene) เพื่อที่พวกเขาจะไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญกรไซเบอร์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับงานสัมมนา Social Value thailand Forum 2024 เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาเปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs...

Responsive image

เปิดตัวโครงการนำร่อง "กำแพงพักใจ ที่พักใจให้เยาวชน" ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิ Wall of Sharing, Ooca และ สปสช.

โครงการนี้มีเป้าหมายในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตสำหรับเยาวชน 2,500 คนในกรุงเทพฯ ด้วยบริการให้คำปรึกษาออนไลน์ฟรี และยังลดภาระในการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต โดยที่เยาวชนจะได้รับก...

Responsive image

"Brother" ยกระดับมาตรฐานบริการรอบด้าน มุ่งสร้างความพึงพอใจลูกค้าพร้อมตั้งเป้าโต 6%

Brother พร้อมต่อยอดความสำเร็จจากปี 2566 มุ่งตอบโจทย์โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ยกระดับงานให้บริการสู่มาตรฐานขั้นสูง เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด พร้อมเสริมแกร่งฐานลูกค้ากลุ่...