Red Hat เผยผลสำรวจปี 2022 ผู้นำองค์กรมองช่องว่างด้านทักษะเป็นอุปสรรค ต่อ Digital Transformation | Techsauce

Red Hat เผยผลสำรวจปี 2022 ผู้นำองค์กรมองช่องว่างด้านทักษะเป็นอุปสรรค ต่อ Digital Transformation

เร้ดแฮท (Red Hat) ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำองค์กรและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทุกปี โดยถามความเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายด้านไอที และเทคโนโลยีที่องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ในปีที่จะมาถึง รวมถึงความคืบหน้าในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรนั้น ๆ

รายงาน Red Hat 2022 Global Tech Outlook ประจำปีนี้ มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจหลายประการ เช่น AI/ML, เอดจ์ (Edge) และการประมวลผลโดยไม่ต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่องค์กรที่ตอบแบบสำรวจจัดให้มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ในปีนี้

รายงาน Red Hat 2022 Global Tech Outlook ประจำปีนี้ มีข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจหลายประการ เช่น AI/ML, เอดจ์ (Edge) และการประมวลผลโดยไม่ต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่องค์กรที่ตอบแบบสำรวจจัดให้มีความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ในปีนี้ และผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่า ช่องว่างด้านทักษะเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

ผลสำรวจยังเผยให้เห็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ องค์กรที่เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลกำลังวางแผนใช้กลยุทธ์ Hybrid Cloud แทนที่จะต้องพึ่งพา Private หรือ Public Cloud เพียงอย่างเดียว

ผลสำรวจสำคัญจาก Red Hat 2022 Global Tech Outlook

ช่วงต่าง ๆ ของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

การสำรวจครั้งนี้ได้มีการถามคำถามที่เจาะจงว่าบริษัทที่ตอบแบบสำรวจอยู่ในช่วงใดของเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ดี เช่น อยู่ในช่วงที่กำลังทำการเปลี่ยนแปลง ช่วงเร่งการเปลี่ยนแปลง หรือช่วงที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง โดยตัวเลขผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า องค์กรที่อยู่ในช่วง “เร่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” และ “กำลังเปลี่ยนแปลง” เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งจากผลสำรวจคือ มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่อยู่ในช่วง “หยุดกลางคัน” หรือ “ไม่มีแผน” ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นลูกค้าและที่ไม่ใช่ลูกค้าของเร้ดแฮท

การสำรวจครั้งนี้ยังได้จำแนกคำตอบเหล่านี้เป็นคำตอบจากผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นลูกค้าของเร้ดแฮท และจากผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของเร้ดแฮท เพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้ และผลสำรวจที่โดดเด่นที่สุดคือ เกือบสองเท่าของเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นลูกค้าเร้ดแฮทพิจารณาว่าตนเองอยู่ในช่วง “เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง" ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ผลสำรวจที่ได้นี้ สืบเนื่องจากผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นลูกค้าของเร้ดแฮท (53%) ระบุว่าเหตุผลหลักคือการมีช่องว่างด้านทักษะน้อยกว่าองค์กรที่ไม่ใช่ลูกค้าของเร้ดแฮท รวมถึงมีอุปสรรคที่แตกต่างกัน (เช่น หนี้ทางเทคนิค) และวิธีการวัดความสำเร็จ (เช่นให้บริการด้านไอทีได้เร็วขึ้น)

กลยุทธ์ด้าน Hybrid Cloud กับ Private Cloud

ผลสำรวจพบว่ามีองค์กรที่ตอบแบบสำรวจเพียง 5% เท่านั้นที่ยังไม่มีการวางแผนกลยุทธ์ในการใช้คลาวด์ และแม้ว่ามีองค์กรส่วนหนึ่ง (18%) ยังคงอยู่ในช่วงการสร้างกลยุทธ์ แต่ส่วนใหญ่มีแผนกลยุทธ์ในการใช้คลาวด์อยู่แล้ว รวมถึง 30% ที่ตัดสินใจใช้กลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์

หากเรารวมองค์กรที่เลือกใช้มัลติคลาวด์ ซึ่งเป็นคำที่หลายคนใช้สลับกันกับไฮบริดคลาวด์แล้ว จำนวนโดยรวมขององค์กรที่เลือกกลยุทธ์คลาวด์ที่ต้องใช้คลาวด์มากกว่าหนึ่งประเภทจะเพิ่มขึ้นเป็น 43% ซึ่งสูงขึ้นห้าเปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว

องค์กรที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและกลยุทธ์คลาวด์

เมื่อพูดถึงกลยุทธ์คลาวด์ องค์กรที่ประเมินตนเองว่าอยู่ในช่วงที่เป็น “ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง” หรือ กำลัง “เร่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้ความสำคัญกับไฮบริดคลาวด์อย่างมาก

ในทางกลับกัน องค์กรที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลมีแนวโน้มใช้ไพรเวทคลาวด์เป็นอันดับแรก สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรที่เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลมีความเข้าใจ และสามารถใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่น และได้สัมผัสประสบการณ์การทำงานที่เข้ากันได้ของแพลตฟอร์มโอเพ่นไฮบริดคลาวด์

ลำดับความสำคัญระหว่าง นวัตกรรม ความเรียบง่าย และ ค่าใช้จ่าย

องค์กรที่ประเมินตัวเองว่าอยู่ในช่วงเป็น “ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง” ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจำนวน 33% พิจารณาว่า “นวัตกรรม” เป็นสิ่งสำคัญลำดับสูงสุด มีเพียง 6% เท่านั้นที่เลือก “ความเรียบง่าย”และมีเพียง 2% ที่เลือก “ค่าใช้จ่าย” ซึ่งตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับกับองค์กรที่อยู่ในช่วง “หยุดกลางคัน” บนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่ง 13% ให้ความสำคัญสูงสุดกับ “นวัตกรรม” ในขณะที่ 11% ให้ความสำคัญกับ “ความเรียบง่าย” และ 13% ให้ความสำคัญกับ “ค่าใช้จ่าย”

ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าโครงการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลต่าง ๆ เริ่มต้นจากความพยายามให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แต่หลังจากนั้นจึงรับรู้ได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเติบโตของรายได้ และการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

เพราะเหตุใดจึงเลือกใช้กลยุทธ์โอเพ่นไฮบริดคลาวด์

ประโยชน์สูงสุดของกลยุทธ์ไฮบริดคลาวด์ คือ สามารถเลือกใช้โซลูชันที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละงานหรือแต่ละเวิร์กโหลดได้ เช่น องค์กรหนึ่ง ๆ อาจใช้โครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ภายในองค์กรเพื่อจัดเก็บข้อมูลสำคัญ แต่ใช้บริการพับลิคคลาวด์เพื่อพัฒนาหรือโฮสต์แอปพลิเคชัน เป็นต้น

องค์กรยังสามารถใช้บริการจากผู้ให้บริการพับลิคคลาวด์หลายรายพร้อมกัน เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน หรือสามารถย้ายเวิร์กโหลดจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง เพื่อให้ได้ราคาและใช้งานได้เหมาะสมตามความต้องการ  องค์กรบางแห่งอาจสนใจการประมวลผลที่เอดจ์ เพื่อกระจายการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลไปทำงานให้ใกล้กับแหล่งข้อมูลและผู้ใช้งานมากขึ้น เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า และทำการตัดสินใจทางธุรกิจได้แบบเรียลไทม์

กลยุทธ์โอเพ่นไฮบริดคลาวด์ช่วยให้องค์กรสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมด ด้วยแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรในการรันเวิร์กโหลดที่สามารถโยกย้ายไปใช้งานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างได้ ทำให้มีความยืดยุ่น มีความสามารถในการปรับขนาดการทำงาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร

กล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ให้บริการคลาวด์หรือสภาพแวดล้อมภายในองค์กรใดที่จะตอบสนองความต้องการทั้งหมดขององค์กรได้ และโซลูชันที่มีกรรมสิทธิ์ก็เป็นตัวจำกัดทางเลือกและความสามารถในการปรับตัวในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้องค์กรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องปรับปรุงสิ่งที่จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง องค์กรควรเลือกใช้ไฮบริดคลาวด์ที่สร้างบนโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้หลักเกณฑ์ของโอเพ่นซอร์ส ซึ่งช่วยให้ทีมที่ดูแลด้านการดำเนินงาน การพัฒนา และระบบความปลอดภัย สามารถสร้างและบริหารจัดการกลุ่มงานด้านไอทีทั้งหมดบนแพลตฟอร์มมาตรฐานหนึ่งเดียว ที่สามารถทำงานได้ทั้งกับระบบที่อยู่ภายในองค์กร เวอร์ชวลแมชชีน ไพรเวทคลาวด์ พับลิคคลาวด์ และเอดจ์

บทความโดย อาร์วิน สวามี, ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค เร้ดแฮท

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

รู้จักซิมการ์ด IoT จาก 1NCE เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั่วโลกใน 173 ประเทศ ด้วยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 ปี เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชันคุ้มค่าและจัดการง่าย...

Responsive image

AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ยกระดับชีวิต ส่งต่อพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม

AIS ตอกย้ำความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ คว้ารางวัล Creative Equality Award Creative ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จขอ...

Responsive image

กรุงศรีตั้ง ปาลิดา อธิศพงศ์ นั่งรักษาการกรรมการผู้จัดการของ Krungsri Finnovate เดินหน้าสตาร์ทอัปไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวปาลิดา อธิศพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate...