SAP เผยผลสำรวจล่าสุดผู้นำองค์กรธุรกิจใน SEA จำนวน 4,500 คน ภายในงาน SAP Forward Together | Techsauce

SAP เผยผลสำรวจล่าสุดผู้นำองค์กรธุรกิจใน SEA จำนวน 4,500 คน ภายในงาน SAP Forward Together

SAP เผยผลสำรวจล่าสุดที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้นำองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 4,500 คน ภายในงาน SAP Forward Together งานสัมมนาประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้ธีม New Reality of Businesses เมื่อเร็วๆ นี้ 

ผลสำรวจระบุว่าผู้นำองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้กระทบกับการดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคและกังวลว่าอาจส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 40 ขององค์กรธุรกิจยังคงใช้ กลยุทธ์รอดูสถานการณ์ (wait and see) เพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 SAP จึงตั้งเป้าที่จะช่วยองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เร่ง ‘พัฒนานวัตกรรม และ ปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหลังโควิด-19 

ปัจจุบันเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่องค์กรธุรกิจหันมาใช้เทคโนโลยีที่มีความ intelligent หรือชาญฉลาด เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ มากขึ้น องค์กรที่จะสามารถรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้นั้น จะต้องใช้กลยุทธ์การ “innovate และ transform” โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อปรับวิธีในการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

คุณเรเชล บาร์เจอร์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการของ SAP เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาและกำลังเดินหน้าเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว ซึ่งกำลังสะท้อนสัญญาณในการเริ่มต้นแข่งขันทางธุรกิจครั้งใหม่ ดังนั้นประเทศและองค์กรที่พลิกฟื้นเศรษฐกิจและก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วย่อมสามารถทิ้งห่างคู่แข่งได้ ในทางกลับกัน ประเทศและองค์กรที่ใช้ กลยุทธ์ รอดูสถานการณ์ (wait and see) อาจก้าวตามไม่ทันคู่แข่ง สิ่งสำคัญที่สุดในการวางกลยุทธ์ขององค์กรระยะยาว คือ ต้องไม่คาดหวังว่าทุกอย่างจะกลับคืนสู่สภาวะปกติเหมือนที่ผ่านมา ในยุค new reality  องค์กรที่หันมาใช้เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด และปรับตัวสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จะสามารถเพิ่มศัยกภาพในการทำงานภายในองค์กร โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (do more with less) เพื่อส่งมอบประสบการณ์และบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า สามารถบริหารจัดการซัพพลายเชนได้คล่องตัว และแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้องค์กรในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น”

ทิศทางธุรกิจในตลาดอาเซียนท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

ผลสำรวจเผยว่า ร้อยละ 63 ของผู้นำองค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ มองเห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้ามาตั้งแต่ต้นปี 2563 ขณะที่ ร้อยละ 21 ยังขาดความเข้าใจและอินไซต์เชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ องค์กรส่วนใหญ่ยังยึดกับแผนการบริหารแบบ ‘เชิงรับ’ โดยรอให้ภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักจากโควิด-19 คลี่คลายในเวลาที่เหมาะสม

แม้ว่าปัจจุบันองค์กรต่างๆ จะปรับกระบวนการทำงานไปสู่รูปแบบอีคอมเมิร์ซและการขายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ธุรกิจขนาดเล็กยังคงมีความกังวลต่อค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่องค์กรธุรกิจกว่าร้อยละ 20 เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับกลยุทธ์ด้าน Customer Experience เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในแพลตฟอร์มต่างๆ

นอกจากนี้ การบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนและงาน  operations เป็นอีกด้านที่องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้ให้ความสำคัญ โดยร้อยละ 22 ขององค์กรธุรกิจกำลังแพลนที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนและงาน operations ในอนาคต นอกเหนือจากรูปแบบการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มาตรการล็อคดาวน์ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านซัพพลายเชน เป็นไปในรูปแบบ Stop-go pattern ซึ่งมีการหยุดพักสลับกับเดินหน้าต่อในการทำธุรกิจร่วมกัน

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน องค์กรต่างตระหนักและกังวลถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 พร้อมโฟกัสไปที่วางแผนรับมือในระยะยาวและเน้นสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้นำองค์กรธุรกิจในอาเซียนกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าผลกระทบในครั้งนี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและวิธีการทำงานใหม่ โดยมีเพียงร้อยละ 1 ที่มองว่าสามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ (business-as-usual) ได้ในระยะยาว

เนื่องจากองค์กรต่างๆ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ (business-as-usual) ได้ ผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนจึงจัดลำดับความสำคัญขององค์กรใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การทำ business transformation หรือปรับวิธีในการทำธุรกิจ (ร้อยละ 21) รองลงมาคือการทำ Customer engagement  หรือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (ร้อยละ 15) การปรับปรุงกระบวนการทำงานทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ร้อยละ 14) การสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ร้อยละ 12) และ การเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการซัพพลายเชน (ร้อยละ 9) ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Boston Consulting Group ยังระบุว่า High-performing companies หรือบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตรวมถึงรับมือกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวครั้งใหญ่ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ได้เป็นอย่างดี ล้วนมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่คล้ายคลึงกันที่ทำให้พวกเขาสามารถรักษาความเป็นผู้นำได้ทั้งในระหว่างและหลังภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้  โดยแนวทางดำเนินธุรกิจของ High-performning companies ที่สามารถพัฒนา top-line และ bottom-line จะเน้นกลยุทธ์บริหารจัดการรูปแบบ ‘เชิงรุก’ เน้นการสร้างโอกาสในขณะที่เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เช่น เปลี่ยนแปลงองค์กรสู่การทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบเต็มตัว

รูปแบบของ Business Transformation ที่จะเปลี่ยนไปในโลกหลังโควิด-19

ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 การใช้งานเทคโนโลยีเพื่อทำ Business Transformation จะมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 บทบาทของเทคโนโลยีจะต้องสามารภตอบสนองจุดมุ่งหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังต่อไปนี้ 

•    ช่วยให้องค์กรปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว (Resiliency) เพื่อนำพาองค์กรผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายพร้อมปรับตัวสอดรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

•    ช่วยต่อยอดสร้างผลกำไรให้องค์กร (Profitability)  ทำให้เห็น top-line และ bottom-line วางรากฐานการเติบโตของธุรกิจรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน

•    ช่วยให้องค์กรดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy)

SAP พร้อมผลักดันให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเดินหน้าสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เพื่อรับมือและลดทอนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตครั้งนี้  ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาดหลากหลายรูปแบบที่จะสามารถช่วยองค์กรพัฒนานวัตกรรมและเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจได้ อาทิ

•    เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด (Intelligent technologies) ทำให้เห็นข้อมูลต่างๆ ขององค์กร เช่น ข้อมูลด้านบุคลากร ข้อมูลด้านสินทรัพย์ แบบเรียลไทม์ 

•    ปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Artificial Intelligence & Machine Learning) ที่สามารถใช้ในการประเมินผลและวางแผนการดำเนินงาน

•    ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation) ที่สามารถแบ่งเบาภาระงานที่ต้องใช้แรงงานคนในการปฏิบัติการ เพื่อให้พนักงานไปโฟกัสกับงานด้านอื่นๆ ที่มีคุณค่ามากกว่า 

จุดยืนของ SAP ในการช่วยเหลือองค์กรในประเทศไทย

SAP มุ่งมั่นในการช่วยเหลือให้องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ท้าทาย โดยเปิดให้สามารถ ใช้โซลูชันและเทคโนโลยีต่างๆ ของ SAP ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ 

•    SAP Ariba Discovery เครือข่ายทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่องค์กรต่างๆ สามารถแสดงความต้องการด้านการจัดซื้อ และซัพพลายเออร์เข้ามาตอบกลับเพื่อปิดดีล โดยสามารถใช้งานจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นี้

•    Qualtrics Remote Work Pulse  รีเสิร์ชออนไลน์ ที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของพนักงานว่าพนักงานต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรและข้อมูลในด้านใดบ้าง  เพื่อให้การทำงานของพวกเขาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การปรับตัวเข้ากับการทำงานรูปแบบใหม่ 

•    SAP Value Lifecycle Manager ซึ่งจะมี Tool ต่างๆ ที่ช่วยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรตนเอง กับองค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน  

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบกับผู้คนทั่วโลกรวมถึงภาคธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งเห็นได้จากการหยุดชะงักของการดำเนินงานในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าฝ่าวิกฤตไปได้ องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญในการสร้าง business continuity ครอบคลุมปัจจัยสี่ด้าน ได้แก่ ซัพพลายเชน, การเงิน, การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ การบริการลูกค้า ซึ่ง SAP มีเทคโนโลยีเหลากหลายที่จะสามารถช่วยองค์กรธุรกิจสร้าง business continuity ในสี่ด้านนี้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง  

SAP พร้อมสนับสนุนองค์กรในประเทศไทยในการวางโรดแมปและกลยุทธ์เพื่อปรับรูปแบบการทำธุรกิจสู่การทำธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาดเป็นตัวขับเคลื่อน หรือที่เรียกว่า อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว พร้อมปรับเปลี่ยนรับทุกความท้าทาย สามารถสร้างกำไรในรูปใหม่ๆ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

กว่า 25 ปีที่ผ่านมา องค์กรกว่า 2,000 แห่งในประเทศไทยได้ใช้โซลูชันของ SAP ในการทำ digital transformation เพื่อพลิกโฉมองค์กรสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เราพร้อมที่จะยืนเคียงข้างลูกค้าและพาร์ทเนอร์เพื่อรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำ digital transformation ได้ตามเป้าที่วางไว้ ตลอดจนเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต”นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...