SCB ประกาศ ยกเว้นค่าธรรมเนียมหัก ณ ที่จ่าย SCB e-Withholding Tax | Techsauce

SCB ประกาศ ยกเว้นค่าธรรมเนียมหัก ณ ที่จ่าย SCB e-Withholding Tax

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตอกย้ำบทบาทการเป็นสถาบันการเงินหลักของประเทศที่ร่วมสานยุทธศาสตร์ National E-Payment ขยายสู่ทุกภาคส่วนด้วยความมุ่งมั่น ครั้งนี้ขานรับกรมสรรพากรกระตุ้นให้ภาคธุรกิจหันมาใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) มากยิ่งขึ้น 

โดยธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (บริการ SCB e-Withholding Tax) ทุกรายการระยะยาวแบบข้ามปีให้กับผู้ประกอบการที่สมัครใช้บริการตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 – 31 มีนาคม 2564 เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเริ่มต้นใช้งานและเปิดรับประสบการณ์ของระบบ e-Withholding Tax ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการทางภาษี ลดขั้นตอนและต้นทุนจากภาระการจัดทำและยื่นแบบรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ขจัดข้อผิดพลาดในการดำเนินการให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น พร้อมช่วยโลกลดปริมาณการใช้กระดาษ

คุณศิโรตม์ วิชยาภัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน GTS และ Ecosystems ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การดำเนินยุทธศาสตร์ National E-Payment ของประเทศไทยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลได้พลิกโฉมไปจากอดีต โดยเฉพาะระบบการชำระเงินแบบ Any ID (พร้อมเพย์) ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ นับเป็นความสำเร็จจากแรงขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนร่วมกัน ดังนั้น การผลักดันระบบภาษีและเอกสารธุรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้แพร่หลายในปัจจุบันจึงเป็นความท้าทายสำหรับทุกคนที่จะร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอีกครั้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะสถาบันการเงินหลักของประเทศ พร้อมสนับสนุนกรมสรรพากรอย่างเต็มที่ในการช่วยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเข้ามาสู่ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-withholding Tax) มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นอีกก้าวสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย 

ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงจัดแคมเปญ “SCB e-withholding Tax สมัครภายใน 31 มี.ค.64 ใช้ฟรีตลอดปี 2564” โดยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมบริการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ทุกรายการให้กับผู้ประกอบการที่สมัครใช้บริการ SCB e-Withholding Tax สำหรับผู้ประกอบการที่สมัครใช้บริการตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 – 31 มีนาคม 2564 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและจูงใจให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจเอสเอ็มอีเข้ามาใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพราะเชื่อว่าเมื่อได้ใช้งานจริงแล้วจะมองเห็นประโยชน์ของระบบ e-Withholding Tax ที่มีต่อตัวธุรกิจ และคู่ค้า ตลอดจนเป็นการยกระดับระบบภาษีของประเทศที่มีความโปร่งใส ทันสมัย เท่าทันต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลปัจจุบัน     

ทั้งนี้ บริการ SCB e-Withholding Tax จะมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นตัวกลางดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับกรมสรรพากรแทนผู้ประกอบการ มีจุดเด่นในการอำนวยความสะดวก ช่วยลดขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสารในการจัดส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้กับกรมสรรพากร ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และช่วยให้บริษัททำธุรกรรมได้รวดเร็วคล่องตัวยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบรายงานการโอนเงินได้ง่ายตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านระบบธนาคารออนไลน์เพื่อธุรกิจ (SCB Business Net) โดยกระบวนการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะผ่านระบบดิจิทัล ในอีกทางหนึ่งจึงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากปริมาณการใช้เอกสารในรูปแบบกระดาษที่ลดลง ซึ่งเรามั่นใจว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากที่พร้อมจะเปลี่ยนมาใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอกนิกส์ ด้วยมีประสิทธิภาพในการจัดการและคล่องตัวมากกว่ารูปแบบเดิม พร้อมเป็นระบบหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างกว้างขวางในอนาคต  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

“พร้อมเพย์” 8 ปีแห่งการพลิกโฉมระบบการเงินไทย ระบบที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนไทย

พร้อมเพย์ครบรอบ 8 ปี กับการเปลี่ยนโฉมระบบการเงินไทย สู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ จากโอนเงินง่ายๆ ด้วยเบอร์โทรศัพท์ สู่การเชื่อมโยงการชำระเงินข้ามประเทศ พร้อมก้าวสู่อนาคตการเงิน...

Responsive image

ttb spark REAL change: จุดประกายไอเดียสร้างสรรค์เพื่อชีวิตทางการเงินที่ยั่งยืน

เตรียมพบกับงาน “ttb spark REAL change” งานแสดงนวัตกรรมดิจิทัลครั้งใหญ่ของ ทีทีบี ที่ชวนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ไอเดียที่สร้างสรรค์ ตอบโจทย์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายให้...

Responsive image

Tech Provider ห้ามพลาด! ร่วมปั้น SMEs บุกตลาดใหม่กับ ETDA พร้อมทุนสนับสนุน 4.5 แสนบาท

ETDA เดินหน้าสานต่อ “SMEs GROWTH” ภายใต้ โครงการยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ ประจำปี 2568 โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับตัวและเติบโตอย่าง...