SCB Julius Baer มองตลาดโลกช่วงสิ้นปี แนะลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง และกลุ่มเทรนด์โลกแห่งอนาคต | Techsauce

SCB Julius Baer มองตลาดโลกช่วงสิ้นปี แนะลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง และกลุ่มเทรนด์โลกแห่งอนาคต

บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) เผย “มุมมองเศรษฐกิจโลก-ปลายปี 2564” (2021 Year End Market Outlook) ที่จัดทำโดย “จูเลียส แบร์” นำเสนอถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนในช่วงสิ้นปี รายงานเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกกำลังผ่านเข้าสู่ช่วงกลางของวัฏจักร (Mid-Cycle Opportunities) และอัตราเงินเฟ้อกลับมาอีกครั้ง ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ เชื่อมั่นว่าภาพรวมตลาดโลกยังคงมีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้ในระยะยาว พร้อมให้มุมมองต่อการลงทุน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. โอกาสจากการผ่านเข้าสู่ช่วงกลางของวัฏจักร (Mid-Cycle Opportunities) 2. การลงทุนในตราสารหนี้ ต้องบริหารเชิงรุกและเลือกคุณภาพเครดิตอย่างระมัดระวัง 3. เทรนด์กระแสการลงทุนของโลกในอนาคต และ 4.บริษัทที่มีความยืดหยุ่นและสามารถฟื้นตัวได้เร็ว

มร. โจเซฟ คาเซราส กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารฝ่ายแนะนำการลงทุนและผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “จากมุมมองเศรษฐกิจโลกไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ที่จัดทำขึ้นโดยจูเลียส แบร์ เราพบว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กินเวลาไปมากกว่า 18 เดือนแล้วนั้น สร้างผลกระทบต่อทุกภาคส่วนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทั่วโลกล้วนเผชิญกับความท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำแนะนำสำหรับการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ที่อาจจะมาพร้อมกับการทำ QE Tapering เรายังคงมองว่าเป็นโอกาสลงทุนในช่วงกลางของวัฏจักรเศรษฐกิจ (Mid-Cycle Opportunities) ซึ่งผ่านช่วงการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วที่มีการขยายตัวอย่างมากมาแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจจะไม่ขยายตัวต่อ ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจจะเริ่มลดลงแต่ก็ยังคงมีอยู่ทั้งนโยบายการเงิน และการคลังจะช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ ตลาดหุ้นในฝั่งประเทศพัฒนาแล้วยังมีความน่าสนใจลงทุน โดยยังเน้นลงทุนในกลุ่มเติบโต (Growth) และเพิ่มการลงทุนในกลุ่มที่เน้นตั้งรับ (Defensive) เพื่อลดความผันผวน”

มุมมองเศรษฐกิจโลกไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 มี 4 ปัจจัยหลักที่มีผลกับการลงทุนดังนี้

  • ภาพใหญ่ในการลงทุน – โอกาสจากการผ่านเข้าสู่ช่วงกลางของวัฏจักร (Mid-Cycle Opportunities) ภายหลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ต่อจากนี้คาดว่าจะเห็นการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ซึ่งนำไปสู่ภาพเศรษฐกิจที่มีโอกาสเข้าสู่ระยะกลางของวัฏจักร ด้านการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย และผลกำไรจากการผลิตต่าง ๆ ส่งผลให้อัตราการเติบโตภายหลังวิกฤตโควิดจะยังแข็งแกร่งอยู่ สำหรับตลาดหุ้น “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” แนะนำการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีการเติบโตสูง (Growth Stocks) และเพิ่มหุ้นกลุ่มเชิงรับ (Defensive) โดยได้ปรับคำแนะนำเป็นเพิ่มการลงทุนในหุ้นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และคงคำแนะนำเดิมที่ชอบหุ้นในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ (Healthcare), กลุ่มเทคโนโลยี (IT), กลุ่มสถาบันการเงิน (Financials) และหุ้นปันผลที่สร้างรายได้สม่ำเสมอ ในส่วนตลาดหุ้นจีนนั้น มองว่ายังมีความเสี่ยงนโยบายภาครัฐที่เข้มงวดรวมถึงการเข้าแทรกแซงในบางธุรกิจอยู่ เราจึงปรับคำแนะนำเป็นการลงทุนหุ้นคุณภาพในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นประเทศจีน
     
  • ตราสารหนี้  – ต้องบริหารเชิงรุกและเลือกคุณภาพเครดิตอย่างระมัดระวัง “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” เชื่อว่าการบริหารตราสารหนี้ในส่วนของอายุตราสารที่เลือกลงทุนเป็นสิ่งสำคัญในช่วงที่อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากภาพความผันผวนที่สูงในตลาดและการเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้ลงทุน อีกทั้งการเข้าสู่ช่วงกลางของวัฏจักร (Mid-Cycle) คงเป็นไปได้ยากที่ทุกการลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ดีเสมอกันทั้งหมด แม้ว่าเราจะยังเห็นภาพการปรับมุมมองเชิงบวกที่มากกว่ามุมมองเชิงลบก็ตาม เรายังคงแนะนำให้ลงทุนในความเสี่ยงด้านเครดิตระดับปานกลาง แต่เน้นการคัดเลือกคุณภาพของผู้ออกตราสารด้วยความระมัดระวัง

  • เทรนด์กระแสการลงทุนของโลกในอนาคต – ปัจจัยที่เราให้ความสำคัญ การคัดเลือกบริษัทที่เป็นผู้นำที่จะได้ประโยชน์จากเทรนด์การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของโลกในระยะยาวถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องใช้แนวคิดแบบมองไปข้างหน้า (Looking Forward investment approach) ในการพิจารณาการลงทุน “ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์” ให้ความสำคัญไปที่ 3 การลงทุนหลักที่น่าสนใจและเชื่อว่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดี ได้แก่
    • การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า (Circular Economy)
    • การใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี (Healthy Living)
    • ยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility)

  • บริษัทที่มีความยืดหยุ่นและสามารถฟื้นตัวได้เร็ว  เคล็ดลับแห่งความสำเร็จ บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกล้วนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่แพร่ขยายไปทั่วทุกภาคธุรกิจ หากมองลึกไปถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จของบริษัทที่สามารถอยู่รอดได้และกระทั่งสร้างกำไรให้กับบริษัทได้แม้ว่าจะเป็นช่วงวิกฤตก็ตาม พบว่าบริษัทเหล่านี้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม คือ บริษัทที่มีความยืดหยุ่นสูง คือ มีอำนาจสูงในการกำหนดราคา มีรูปแบบการเติบโตของธุรกิจที่เป็นอิสระจากวัฏจักรเศรษฐกิจ และโดยทั่วไปไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain disruption)

“จากปัจจัยทั้ง 4 นั้น เรายังเชื่อว่ายังมีโอกาสด้านการลงทุนจากสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มการเจริญเติบโตสูง และกลุ่มเทรนด์โลกแห่งอนาคต และควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไม่ควรที่จะลงทุนแค่ผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่ง โดย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ มีทีม Expert Advisory ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่มีความรู้ และประสบการณ์ ความสามารถด้านการบริหารความมั่งคั่งมาตรฐานเดียวกับจูเลียส แบร์ พร้อมให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้าคนสำคัญเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารพอร์ตได้อย่างยืดหยุ่น และสร้างความยั่งยืนได้ในระยะยาว” มร. โจเซฟ กล่าวทิ้งท้าย


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...

Responsive image

Schneider Electric เผย องค์กรไทยมี Green Gap สูง 98% มีแผนความยั่งยืน มีเพียง 53% ที่ทำได้ชัดเจน

Schneider Electric เผยผลประกอบการปี 2566 ทั่วโลกรายได้ 35,902 ล้านยูโร โตขึ้น ราว 13 เปอร์เซ็นต์ และด้วยโซลูชั่นด้านความยั่งยืน ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยคาร์บอนในปี 2566 เพียง...