สิ่งที่คนไทยสับสนกันมากคือ วัคซีน Sinovac เป็นของเจ้าสัว CP หรือไม่ ก่อนอื่นต้องแยกความแตกต่างก่อนว่า บริษัทที่เป็นเจ้าของ Sinovac คือ บริษัท Sinovac BioTech จำกัด และในบัญชีผู้ถือหุ้น ไม่มีเครือ CP มาเกี่ยวข้องแม้แต่หุ้นเดียว และเช่นเดียวกับบริษัทวัคซีนทั่วโลก ที่ต้องมีการกระจายการผลิตไปยังบริษัทย่อยๆ เช่นเดียวกับ Sinovac ที่มีบริษัทลูกของลูกที่ไประดมทุนในอเมริกา และ มีกองทุนในอเมริกามาร่วมทุน รวมถึงบริษัทของญาติคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ไปลงทุน 15% ในบริษัทลูกของ Sinovac ที่บริษัทนี้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตวัคซีน Sinovac เพื่อนำไปใช้ในประเทศจีน ไม่ได้ผลิตเพื่อการส่งออก และที่สำคัญบริษัทนี้ไม่มีอำนาจใดๆ ในบริษัท Sinovac และไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อขาย และไม่สามารถมีส่วนร่วมใดๆ กับการบริหารวัคซีน ดังนั้น การมีข่าวในประเทศไทยว่า วัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนเจ้าสัวนั้น ถือเป็นการพูดเกินความจริง (Over Claim) ในการบอกว่า คนไทยเป็นเจ้าของวัคซีนชนิดนี้
ทั้งนี้ CEO "Sinovac" ยืนยันกับ Bloomberg ว่า วัคซีน CoronaVac ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ นายหยิน เว่ยตง ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) Sinovac ก็ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ชี้แจงผลการทดลองทางคลินิกที่ Sinovac ต่ำกว่าวัคซีนชาติตะวันตก ระบุตอนนี้มีหลักฐานมากขึ้นทุกทีว่าเมื่อนำไปใช้งานจริงวัคซีน CoronaVac ได้ผลดีกว่าเดิม
ผลการศึกษาในอินโดนีเซียและอีกชิ้นหนึ่งในเมืองเซอร์รานาของบราซิล ที่มีประชากร 45,000 คน กลุ่มตัวอย่างเกือบ 100% ฉีดวัคซีนครบแล้ว พบว่า การเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตลดลงหลังได้รับวัคซีน ตรงข้ามกับชิลีที่ฉีดวัคซีนไปกว่า 1 ใน 3 ของประชากร 19 ล้านคนแล้วแต่การระบาดยังพุ่งขึ้นอีก
คำถามสำคัญสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทุกตัวคือ ป้องกันหรือยับยั้งการแพร่กระจายไวรัสได้จริงหรือไม่ นายหยินกล่าวเมื่อวันอังคารว่า Sinovac เองก็ยังไม่ทราบว่าวัคซีนของตน ซึ่งใช้เทคโนโลยีเชื้อตายแบบดั้งเดิม สามารถหยุดหรือลดการติดไวรัสได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือ ช่วยป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้
นพ.อิน เว่ยตง (Yin Weidong) ประธานบริษัทและ CEO บริษัท Sinovac Biotech จำกัด ของจีนเปิดเผยว่าบริษัท Sinovac ได้ส่งมอบวัคซีนรวม 260 ล้านโดสให้กับลูกค้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ร้อยละ 60 ของวัคซีนทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 40 ถูกจัดสรรให้กับศูนย์วัคซีนในประเทศ เพื่อใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับกลุ่มเสี่ยง
ที่ผ่านมา บริษัท Sinovac ได้รับคำสั่งซื้อวัคซีนจากลูกค้าในต่างแดน รวมกว่า 450 ล้านโดส โดยเฉพาะบราซิล อินโดนีเซีย ตุรกีและชิลีเป็นหนึ่งในผู้ซื้อวัคซีนรายใหญ่ ขณะเดียวกัน บริษัท Sinovac ได้ทำสัญญาจ้างพันธมิตรในบางประเทศเช่น บราซิลและอินโดนีเซีย ให้ทำการผลิตวัคซีนให้กับ Sinovac เช่นกัน นอกจากนี้ แพทย์ได้ใช้วัคซีนจาก Sinovac แล้วราว 160 ล้านโดสเพื่อฉีดป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเช่น บุคลากรทางการแพทย์และผู้สูงอายุทั่วโลก
คำถามที่ว่า Sinovac เป็นวัคซีนของเจ้าสัวประเทศไทย จริงหรือไม่
วัคซีนขาดแคลนทั่วโลก กำลังการผลิตของ Sinovac BioTech ก็ไม่เพียงพอในช่วงการระบาดเมื่อปีก่อน CP ร่วมระดมทุน Sinovac ร่วมกับกองทุนจากสหรัฐฯ และจีน ก็เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนโควิด-19 ในระยะเริ่มต้น ให้กับผู้ติดเชื้อในประเทศจีน ไม่เกี่ยวกับการส่งออกวัคซีน และเป็นการลงทุนในบริษัทลูกของลูกค้า ชื่อ Sinovac Life Sciences เท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบริหารใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้การส่งออกวัคซีน เป็นเรื่องรัฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) และเป็นการช่วยเหลือด้านการเข้าถึงวัคซีนในช่วงเวลาที่ทั่วโลกขาดแคลน
ในช่วงเวลายากลำบากนี้ วัคซีนเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอย่างมาก และเป็นการแข่งกับเวลา ทำให้ทุกประเทศในโลกเร่งผลิตวัคซีนให้ได้มากที่สุด ช่วงเวลาลำบากแบบนี้ การรักษาชีวิตผู้ป่วย และการเข้าถึงวัคซีนไม่ว่าชนิดใด ถือเป็นการรักษาชีวิตผู้คน และ ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด