วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ ชวนเข้าใกล้ Metaverse หนุนผู้เรียนวิศวกรรมยุคใหม่คว้าโอกาสจากโลกเสมือน | Techsauce

วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ ชวนเข้าใกล้ Metaverse หนุนผู้เรียนวิศวกรรมยุคใหม่คว้าโอกาสจากโลกเสมือน

เมตาเวิร์ส (Metaverse) เทคโนโลยีโลกดิจิทัลเสมือนจริงที่ถูกพูดถึงในทุกวงการ ซึ่งตามมาด้วยความคาดหวังว่า เมตาเวิร์ส (Metaverse) จะเข้ามาช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้มีสีสัน ที่เต็มเปี่ยมด้วยประสบการณ์ใหม่ที่เข้าถึงง่าย ทลายข้อกำจัดของเวลาระยะทาง รวมไปถึงการทำธุรกิจในยุคใหม่ ที่ช่วยสร้างมูลค่าให้เติบโตแบบก้าวกระโดด 

เมตาเวิร์ส (Metaverse) เทคโนโลยีโลกดิจิทัลเสมือนจริงที่ถูกพูดถึงในทุกวงการ ซึ่งตามมาด้วยความคาดหวังว่า เมตาเวิร์ส (Metaverse) จะเข้ามาช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้มีสีสัน ที่เต็มเปี่ยมด้วยประสบการณ์ใหม่ที่เข้าถึงง่าย ทลายข้อกำจัดของเวลาระยะทาง รวมไปถึงการทำธุรกิจในยุคใหม่ ที่ช่วยสร้างมูลค่าให้เติบโตแบบก้าวกระโดด

อีกทั้งความคาดหวังจากตลาดผู้บริโภคที่จับรอให้เมตาเวิร์ส (Metaverse)  พาเราทุกคนก้าวไปสู่โลกเสมือนจริง ที่มีบริการและการเป็นเจ้าของทรัพย์สินดิจิทัล (Digital Asset) ในโลกอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่ทุกคนคาดหวังจะเป็นจริงได้หรือไม่ และเมตาเวิร์สจะเข้ามาสร้างไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปจากเดิมได้อย่างไร วันนี้ อ.ดร.ศิริศิลป์ กองศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE จะพาทุกคนไปท่องโลกเมตาเวิร์ส (Metaverse) ด้วยวิธีคิดด้านวิศวกรรม เพื่อตามหาคำตอบว่ามนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดใน พ.ศ. นี้ได้อย่างไร

อ.ดร.ศิริศิลป์  เล่าถึงจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงหรือเมตาเวิร์ส (Metaverse) ว่า เมตาเวิร์ส (Metaverse)   ไม่ใช่เทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นมาในระยะเวลา 1-2 ปีอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่หากยังนึกไม่ออกว่าเมตาเวิร์ส (Metaverse) อยู่กับเรามานานแค่ไหน อยากให้ลองนึกถึงเวลาเราเล่นเกม ที่ทุกคนสามารถล็อกอิน (Login) ใช้งานในโลกเสมือนจริงของตัวเองได้ แต่โลกเสมือนจริงในเกมยุคก่อน เราไม่สามารถจับจองหรือเป็นเจ้าของอะไรได้เลย

 รวมถึงไม่สามารถรู้ได้ว่าหากเราซื้อที่ดินใครจะเป็นคนดูแล และเราจะได้ผลตอบแทนอย่างไร แต่ในปัจจุบันนี้ความรู้ด้าน Blockchain เข้ามาช่วยใขข้อสงสัยเกี่ยวกับเงื่อนไขการเป็นเจ้าของที่ดินในในโลกเสมือนจริงได้ รู้ได้ว่าใครเป็นผู้ดูแล และยังช่วยให้ทราบอีกว่าทรัพย์สินที่เราครอบครองอยู่นั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้การครอบครองทรัพย์สินบนเมตาเวิร์ส (Metaverse) มีความชัดเจน และล่อตานักลงทุนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่มากมาย และดูเหมือนว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะพาเราเข้าไปยังโลกเสมือนได้เช่นกัน เพียงแค่เรามีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อ เท่านี้ก็สามารถข้ามไปยังโลกเสมือนจริงได้แล้ว แต่ตนเชื่อว่าในปัจจุบันยังมีคนจำนวนไม่น้อย ที่ยังคงมีความสับสนระหว่างเมตาเวิร์ส (Metaverse) และอวตาร์ (Avatar) ซึ่งในข้อเท็จจริงทั้งสองเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน 

เพราะอวตาร์ (Avatar) หมายถึงเทคโนโลยีที่เป็นตัวแทนของเรา เราสามารถสร้างให้อวตาร์แตกต่างจากตัวจริงของเราได้ ส่วนเมตาเวิร์ส คือเทคโนโลยีที่เป็นเสมือนพื้นที่ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นชุมชน ที่มีการพูดคุย แลกเปลี่ยน ดังนั้นทั้ง 2 เทคโนโลยีไม่ได้เหมือนกัน แต่เป็นส่วนเสริมของกันและกัน และอาจสรุปได้ว่า อวตาร์ (Avatar) จึงกลายเป็นตัวละครของเราในเมตาเวิร์ส (Metaverse)

ในเมื่อเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่กำลังจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกสรรพสิ่งบนโลกเช่นนี้ เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้แล้วว่าผลกระทบครั้งใหญ่ หรือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับเราทุกคนต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร และเราต้องเตรียมตัวและตั้งรับอย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา ที่หนีไม่พ้นการดำเนินการชีวิตไปพร้อม ๆ กับเมตาเวิร์สนี้แน่นอน

อ.ดร.ศิริศิลป์ เล่าต่อว่า แน่นอนว่าจากนี้ต่อไปเมตาเวิร์ส (Metaverse) จะกลายมาเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคอย่างเราค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน การลงทุน การศึกษา ระบบการสาธารณสุข ที่ตอบโจทย์การค้นหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในชีวิต ซึ่งปัจจุบันเราเล่นอินเทอร์เน็ตเพื่อดึงข้อมูลมาใช้งาน 

แต่พอทุกอย่างกลายเป็นเมตาเวิร์ส (Metaverse) เราเข้าไปในโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อรับประสบการณ์ มากกว่าการเข้าไปเพื่อค้นหาข้อมูลในแบบที่เราคุ้นเคย นอกจากนี้การทำธุรกิจต่าง ๆ จะได้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส (Metaverse) ค่อนข้างมาก เพราะเมตาเวิร์ส (Metaverse)  จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจน ก็คือเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ซึ่งจะพบว่าเกมที่เปิดตัวใหม่ โปรแกรมใหม่ จะเข้ามาอยู่ในเทคโนโลยี AR VR มากขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้น ในอนาคตหากมองจากมุมของนักพัฒนาด้านวิศวกรรม อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงขาขึ้นของผู้เรียนวิศวกรรมยุคใหม่ ที่จะมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษา การท่องเที่ยว หรือการแพทย์ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาเริ่มมีหลายบริษัทที่นำเทคโนโลยีเมตาเวิร์ส (Metaverse) ไปใช้บ้างแล้ว เช่นการ จำลองเหตุการณ์ฉุกเฉิน การดับเพลิง หน่วยกู้ภัย แพทย์ฉุกเฉิน ที่สามารถสร้างเหตุการณ์จำลองแบบเสมือนจริงจากเมตาเวิร์ส (Metaverse) ได้ เพื่อให้ผู้ฝึกได้สร้างประสบการณ์ที่เสมือนจริงมากที่สุด ทำให้อนาคตของเมตาเวิร์ส (Metaverse) มีแนวโน้มที่จะสามารถสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ และสร้างประสบการณ์เหมือนจริงได้มากขึ้น แต่ทำอย่างไร?

“นอกเหนือไปจากผู้บริโภคที่จะได้ใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์สแล้ว นักลงทุน บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ก็เป็นอีกกลุ่มที่จะได้อานิสงส์จากการพัฒนาเมตาเวิร์ส (Metaverse) เพราะขณะนี้เมตาเวิร์สมีเรื่องของ Blockchain เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโลกเสมือนจริง ยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาทิ สถาบันการเงินแห่งหนึ่งของไทย ได้ประกาศซื้อที่ดินในอีกโลกหนึ่งที่เรียกว่า “แซนด์บ็อกซ์”  หรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่ต้องอาศัยเมตาร์เวิร์ส (Metaverse) เป็นส่วนกลาง 

เพราะโดยธรรมชาติของคริปโตเคอร์เรนซี จำเป็นจะต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจแบบมีคนกลางให้ได้มากที่สุด แต่ทั้งนี้การใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส (Metaverse) ที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ความต้องการของผู้บริโภคหรือนักลงทุนมากกว่า ซึ่งผู้บริโภคตั้งคำถามว่าเมตาเวิร์ส (Metaverse) จะทำให้พวกเขาสามารถชีวิตที่แตกต่างจากปัจจุบันได้อย่างไร  ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะมองว่าการจับจองหรือทุ่มงบซื้อจะต้องสามารถขายต่อได้ในอนาคต ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจเอง ต้องคาดการณ์ว่าการจับจองพื้นที่เมตาเวิร์สในอนาคตมากน้อยเพียงใด” อ.ดร.ศิริศิลป์ กล่าว

สำหรับความพร้อมของไทยประเทศไทยกับการใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์ส (Metaverse) นั้น อ.ดร.ศิริศิลป์ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ไทยมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรองรับเมตาเวิร์ส (Metaverse) ค่อนข้างมาก เพราะเมตาเวิร์สไม่แตกต่างจักรวาลในเกมที่คนในเกมที่คนไทยคุ้นเคย อีกทั้งคนไทยตื่นตัวกับคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) กันอยู่แล้ว 

แต่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม การออกกฎระเบียบต่าง ๆ  อาจจะให้การพัฒนาเกิดการชะลอตัว และยังสร้างคำถามตามมามากมาย เนื่องจากผู้บริโภคหลายคนมองว่าไม่ได้รับการปกป้อง แต่กฎระเบียบที่สร้างขึ้นมาเป็นการปกป้องผลประโยชน์มากกว่า ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามาดูและควบคุมนั้นควรจะแยกวิธีการที่ต่างกับการดูแลในโลกปัจจุบัน คือปล่อยให้เป็นสิทธิของคนที่ใช้งานจริง โดยปราศจากการแทรกแซงที่ทำให้การพัฒนาชะลอตัว

อ.ดร.ศิริศิลป์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ไม่ว่าโลกจะถูกเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยีมากเพียง การเตรียมพร้อมให้สามารถเปลี่ยนผ่าน และตามเทคโนโลยีให้ทันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะของเด็กยุคใหม่ ซึ่งปัจจุบัน TSE มีหลักสูตรที่ช่วยเข้าใจและก้าวทันเทคโนโลยีอย่างเมตาเวิร์ส (Metaverse) และยังให้แนวคิดที่ก้าวล้ำไปก่อนเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ อาทิ ภาควิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-en) ซึ่งที่ผ่านมา TSE เน้นการสอนเพื่อสร้างความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง และสร้างเทรนด์ใหม่ ๆ ได้ด้วย เพราะการตามกระแสอย่างเดียวอาจจะทำให้เราก้าวช้ากว่าเทคโนโลยี และอาจจะตามไม่ทัน ไม่สามารถก้าวนำคนอื่นได้

ทั้งนี้ TSE กำลังเปิดรับนักศึกษาใหม่ ทั้งภาคปกติและอินเตอร์ ซึ่งขณะนี้ได้เพิ่มรอบในการรับสมัครในโครงการ TEP – TEPE รอบ 4 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2565 โดยสามารถยื่นคะแนนได้ 3 รูปแบบ ได้แก่  1. Portfolio + คะแนนภาษาอังกฤษ   2. GPA + คะแนนภาษาอังกฤษ 3. คะแนนมาตรฐาน + คะแนนภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่มีการสอบสัมภาษณ์

โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tep.engr.tu.ac.th/admission/domesticappliances หรือคลิกเพื่อสมัครได้เลยที่ http://tse-admission.engr.tu.ac.th/ และสามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th และ Facebook ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...

Responsive image

ส.อ.ท. เตรียมจัด FTI EXPO 2025 รวมสุดยอดนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ผนึกกำลังพันธมิตรองค์กรชั้นนำ จัดงาน FTI EXPO 2025 ภายใต้แนวคิด “4GO” ที่ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ดิจิทัล นวัตกรรม การขยายตลาดสู่ต่างประเทศ แ...