U.REKA Batch 2 ! ประกาศรายชื่อ 8 ทีมนักวิจัยเข้าสู่รอบ Incubation | Techsauce

U.REKA Batch 2 ! ประกาศรายชื่อ 8 ทีมนักวิจัยเข้าสู่รอบ Incubation

บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ U.REKA รุ่นที่ 2 ขณะนี้ได้คัดเลือกทีมนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง (Deep Tech) เข้าสู่รอบ Incubation จำนวน 8 ทีม ซึ่งนำเสนอแผนการวิจัยที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประกอบด้วยโครงการวิจัยที่ครอบคลุมทั้งด้านการแพทย์ การลงทุน พลังงาน และการจัดการ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ทั้งนี้ทีมที่ผ่านการคัดเลือกในรอบนี้จะได้รับเงินทุนให้เปล่าสนับสนุนการวิจัยจำนวน 200,000 บาท และได้เข้าร่วมหลักสูตร Incubation เป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับทีมนักวิจัยที่จะได้รับการบ่มเพาะไอเดียจากบุคลากรมืออาชีพทางด้านต่างๆ เพื่อต่อยอดแนวคิดโครงการวิจัยที่นำเสนอให้พัฒนาต่อเนื่องเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Incubation ในโครงการ U.REKA รุ่นที่ 2 จำนวน 8 ทีม ได้แก่

  • Mind My Health ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI/Machine Learning และ Big Data พัฒนาระบบวิเคราะห์ดัชนีสุขภาพและอายุมาตรฐาน เพื่อกระตุ้นให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญและป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ โดยนำข้อมูลทางกาย เช่น สัญญาณชีพ กิจกรรมทางกายภาพ การนอน ความเครียด ความจำ คุณภาพชีวิต และสุขภาพจิต ฯลฯ มาประมวลผลและวิเคราะห์
  • Polysense พัฒนาแพลตฟอร์มการดูแลเด็กทารกจากระยะไกล โดยต่อยอดเทคโนโลยี AI/Machine Learning พร้อมด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) และการติดตามสัญญาณชีพแบบไร้การสัมผัส (Non contact vital sign monitoring) โดยเฝ้าสังเกตกิจกรรมที่กำลังทำ การเคลื่อนไหว การนอน อารมณ์ พฤติกรรม และสัญญาณชีพ
  • !XU ตั้งเป้าหมายในการค้นหายารักษาโรคความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ โดยนำเทคโนโลยี AI/Machine Learning มาพัฒนาเพื่อเป็นเครื่องมือทำนายสารประกอบเคมีที่มีศักยภาพในเชิงการรักษาโรคดังกล่าว จากฐานข้อมูลสารประกอบในสมุนไพรและยารักษาโรคอื่นๆ
  • Chroml พัฒนาการตรวจจับเชื้อวัณโรคดื้อยา ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning ที่จะช่วยจำแนกผลการตรวจแบบอัตโนมัติ ซึ่งมีความรวดเร็วและแม่นยำ โดยไม่ต้องใช้สายตาของมนุษย์
  • Inspectra นำเทคโนโลยี AI และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep learning) อ่านภาพเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อหาความผิดปกติในทรวงอกครอบคลุมทั้งหมด 14 ภาวะ ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรังสีวินิจฉัยและการเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล
  • OZT Robotics ใช้เทคโนโลยี AI/Machine Learning และ Drones and mobile robots พัฒนานวัตกรรมการสร้างแผนที่สามมิติพร้อมระบุตำแหน่งตนเองและระบบนำทางโดยอัตโนมัติของโดรนในอาคาร เพื่อปลดล็อคข้อจำกัดการใช้โดรนในอาคารหรือสถานที่ที่ไม่มี GPS การพัฒนาครั้งนี้เป็นการเปิดประตูสู่การประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การตรวจสต๊อคในคลังสินค้าขนาดใหญ่
  • FinQuanti พัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อลดข้อจำกัดการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเดิมที่ต้องทดสอบข้อมูลย้อนหลังและลักษณะข้อมูลไม่มีความแน่นอน ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้เทคโนโลยี AI/Machine Learning และ Big Data เพื่อให้สามารถทดสอบข้อมูลได้แบบเฉพาะเจาะจง ทั้งข้อมูลจริงและที่ระบบจำลองขึ้น
  • DeSDev ต่อยอดเทคโนโลยี Blockchain เพื่อพัฒนาตลาดเครดิตพลังงานไฟฟ้าที่มีการซื้อขายระหว่างบุคคลได้อย่างเสรีและกระจายตัว ช่วยให้ผู้ใช้พลังงานทุกระดับสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน อีกทั้งยังโปร่งใสและช่วยลดปัญหาการเก็งกำไรเกินควร

ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ U.REKA BATCH 2 ได้ที่นี่  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...