WHAUP ประเดิม COD โครงการ Solar Rooftop ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ เฟสแรก 19.44 MW พร้อมลุยเฟส 2 ขนาด 4.80 MW | Techsauce

WHAUP ประเดิม COD โครงการ Solar Rooftop ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ เฟสแรก 19.44 MW พร้อมลุยเฟส 2 ขนาด 4.80 MW

บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (“WHAUP”) ดีเดย์ เปิดจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงาน (Solar Rooftop) เฟสแรก ให้ บริษัท ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์ชั้นนำจากประเทศจีน กำลังผลิตไฟฟ้า 19.44 เมกะวัตต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

WHAUP

พร้อมลุยเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงาน ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) เฟสที่ 2 ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 4.80 เมกะวัตต์ รวมเป็น 24.24 เมกะวัตต์ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 บนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้าน CEO “สมเกียรติ เมสันธสุวรรณ” ระบุความร่วมมือกับ “ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) ตอกย้ำการเป็นผู้ดำเนินการโครงการโซลาร์บนหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ช่วยให้ลูกค้าลดการปล่อย CO2 Offset  ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 445,251 ตัน ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี 

คุณสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน (Solar Rooftop) ของ บริษัท พรินซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในเฟสแรก ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 19.44 เมกะวัตต์ และพร้อมดำเนินการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อมกราคม 2566 ที่ผ่านมา 

และล่าสุด บริษัทฯ ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานโซลาร์ ในโครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) เฟสที่ 2 ที่มีขนาดการผลิตไฟฟ้า 4.80 เมกะวัตต์ต่อกับ พรินซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2567 โดยเฟสที่ 2 มีการติดตั้ง Solar Rooftop บนพื้นที่หลังคาโรงงานขนาด 40,000 ตารางเมตร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อ WHAUP นับตั้งแต่ที่ได้ย้ายฐานการผลิตมาตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 บนพื้นที่ 285 ไร่ เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา และยังเป็นพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  

ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นการตอกย้ำการเป็นผู้ดำเนินการโครงการโซลาร์บนหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 24.24 เมกะวัตต์ และเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการให้บริการติดตั้ง Solar rooftop  แบบครบวงจรของ WHAUP โดยโครงการทั้ง 2 เฟสนี้สามารถช่วยให้ลูกค้าลดการปล่อย CO2 Offset ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 445,251 ตัน ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี  

“การติดตั้งโครงการนี้ ส่งผลให้ยอดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของ WHAUP เพิ่มขึ้นแตะระดับ 703.19 เมกะ นอกจากนี้ WHAUP ยังมุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานหมุนเวียน และการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน  พร้อมเดินหน้าลงทุนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่วางไว้” 

ด้าน มร.จาง โหย่ว กั้น คณะกรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไปโรงงาน ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) ในเครือเฉิงซาน กรุ๊ป กล่าวว่า “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) เฟสที่ 2 มีขนาดการผลิตไฟฟ้า 4.80 เมกะวัตต์ เฉิงซาน กรุ๊ป ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลจีนในการพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มลดปริมาณคาร์บอนให้ต่ำลง และเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้สูง รวมถึงแนวคิดการผลักดันแนวคิดเส้นทางสายไหมสีเขียว (Green Silk Road) 

สำหรับกระบวนการผลิตในต่างประเทศนั้น และยึดมั่นในแนวคิดของการก่อสร้างโรงงานสีเขียวเสมอมา โดยได้ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อเร่งการบูรณาการเชิงลึกของอุตสาหกรรมสีเขียว และอุตสาหกรรมการผลิตแบบดั้งเดิมเพื่อรับประกันความมั่นคงทางระบบนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จในเฟสแรกและดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งความร่วมมือกับบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) อย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้โรงงานของปริ๊งซ์ เฉิงซาน ไทร์ (ประเทศไทย) มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 24.24 เมกะวัตต์  สิ่งนี้จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการพัฒนาโครงการสีเขียว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อม 

“โครงการนี้จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายในการส่งเสริมการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และยัง ช่วยให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายด้านการลดต้นทุนพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ ปริ๊งซ์ เฉิงซาน ได้ยึดมั่นปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการเฟสแรกช่วยให้บริษัทฯ ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปี สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Offset) ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 357,118 ตัน ส่วนโครงการเฟสที่ 2 ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Offset)   ที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 88,133 ตัน  ตามนโยบายรักษ์โลก ลดโลกร้อน และลดการเกิดภาวะเรือนกระจกอีกด้วย”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

“Money 20/20 Asia” ปักหมุดศูนย์ฯ สิริกิติ์ 3 ปี ส่งเสริมไทยสู่ศูนย์กลางฟินเทคชั้นนำของเอเชีย

เปิดประตูบานใหม่สู่ “Money 20/20 Asia” ครั้งแรกของเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567 ที่ดึงดูดผู้คร่ำหวอดด้านฟินเทค และบริการทางการเงินกว่า 20,00...

Responsive image

เตรียมพบกับงานสัมมนา Social Value thailand Forum 2024 เปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาเปลี่ยนผ่านประเทศสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยฐานความรู้ นวัตกรรม และความร่วมมือรัฐ เอกชน สังคม Accelerating Education and Partnership for the SDGs...