เถียงใครก็ไม่มีวันแพ้ แค่หัดเป็น ‘ผู้ฟังที่ดี’ เพราะรู้เขา รู้เรา รบกี่ครั้งก็ชนะ | Techsauce

เถียงใครก็ไม่มีวันแพ้ แค่หัดเป็น ‘ผู้ฟังที่ดี’ เพราะรู้เขา รู้เรา รบกี่ครั้งก็ชนะ

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง คนที่เถียงใครก็ชนะเสมอ นอกจากจะเป็นผู้พูดที่ดีแล้ว ทักษะหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย และจะทำให้เราเป็นผู้ชนะทุกข้อโต้แย้งและการโต้เถียงนั่นคือ “การเป็นผู้ฟังที่ดี”  

ในสถานการณ์ที่มีข้อขัดแย้งและต้องการบทสรุปหรือทางออก ผู้ที่มีทักษะการฟังที่ดีจะกุมความได้เปรียบ  แต่น้อยคนที่จะเก่งเรื่องนี้ เพราะมักเสียสมาธิไปกับการคิดที่จะตอบโต้อยู่ตลอดเวลา ทักษะการฟังที่จะดีช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและทำให้ดูความมั่นใจมากขึ้น 

หนังสือ “Win Every Argument: The Art of Debating, Persuading, and Public Speaking,” ได้เสนอรูปแบบการฟังสองแบบและทริคที่น่าจำเอาไปใช้ไว้ดังนี้

การฟังอย่างมีวิจารณญาณ (Critical listening)

การฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการฟังที่ต้องวิเคราะห์ ทำความเข้าใจ พิจารณาถึงความถูกต้อง ความสมเหตุสมผลว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ด้วยสามขั้นตอน

  • เปิดใจให้กว้าง

อย่าคิดว่าสิ่งที่คู่สนทนาของคุณนั้นคิดผิดไปซะทุกอย่าง ถึงแม้ว่าเราจะเชื่อมั่นในข้อโต้แย้งของตัวเอง แต่ควรฟังประเด็นที่ถูกต้อง เพื่อทำความเข้าใจกับการสนทนาอย่างถี่ถ้วน ดูว่าตรงไหนที่จะเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนของเราและคู่สนทนา เพื่อเสริมสร้างข้อโต้แย้งของคุณให้หนักแน่นขึ้นได้

  • ตั้งสมาธิ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง

หยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเช่นการนั่งเหม่อหรืองีบหลับขณะมีผู้พูดอยู่ ควรมีสมาธิและหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนเพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ ตั้งใจฟังคู่สนทนาให้ดี ใส่ใจกับรายละเอียด เพื่อที่จะตอบโต้อย่างชาญฉลาดและตรงประเด็นได้ 

  • จดบันทึก

ถ้าจำไม่หมด ใช้การจดมาช่วย การจดบันทึกช่วยเพิ่มความสามารถในการฟังอย่างมีวิจารณญาณ ช่วยเก็บข้อมูลและประมวลผลนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ (Empathetic listening)

คือการฟังแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือการมองโลกด้วยมุมมองของอีกฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจและเชื่อมโยงความรู้สึกในมุมมองของอีกฝ่าย จะช่วยให้เราเข้าใจเหตุผล ที่มาของความเห็นที่แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่กลับเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจอีกฝ่ายในเลนส์ของเขา 

การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ มีเคล็ดลับดังต่อไปนี้:

  • ไม่วอกแวกระหว่างการสนทนา

โฟกัสความสนใจไปที่ผู้พูดอย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงการพูดคนเดียวหรือทำกิจกรรมอย่างอื่น แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่ากำลังสนใจเขาอยู่อย่างชัดเจน

  • สบตาผู้พูดเสมอ

การสบตาสื่อถึงความเห็นอกเห็นใจและสร้างความไว้วางใจ เพื่อความรู้สึกทางอารมณ์ระหว่างสองฝ่าย มีส่วนช่วยทำให้คำพูดของเรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

จากการศึกษาเกี่ยวกับการพูดในที่สาธารณะพบว่า ผู้ฟังเลือกที่จะเชื่อผู้ที่สบตาตนเองมากกว่าคนที่หลบตาหรือหันไปมองทางอื่น ชี้ให้เห็นว่าการสบตามีส่วนช่วยในการโน้มนาวใจอีกฝ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ถามคำถามที่เหมาะสม

ไม่ควรถามคำถามที่ตอบแค่ “ใช่” หรือ “ไม่” แต่ควรถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้พูดอธิบายรายละเอียดและช่วยให้การสนทนาไหลลื่น และตามด้วย follow-up question ซึ่งเป็นคำถามที่แสดงให้เห็นว่าเราใส่ใจและตั้งใจผู้พูดอย่างแท้จริง

ด้วยการพัฒนาทักษะการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ เพิ่มความสามารถในการโต้แย้งและโน้มน้าวใจได้ จะช่วยให้เป็นนักสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่ว่าในสถานการณ์ใดก็ตาม

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...

Responsive image

จดหมายจากปี 1974 ข้อคิดการเลี้ยงลูกจาก LEGO

LEGO ยืนยันว่าจดหมายฉบับนี้เป็นของจริง เนื้อหาในจดหมายเน้นย้ำว่า "เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”...

Responsive image

เริ่มปีใหม่ด้วย Life Audit เปลี่ยนความฝันเป็นแผนที่ชัดเจน

เริ่มต้นปีใหม่ให้มีความหมายด้วย Life Audit กระบวนการ 3 ขั้นตอนที่ช่วยสำรวจความต้องการที่แท้จริงของคุณ พร้อมวางแผนเป้าหมายอย่างมีระบบและได้ผลจริง...