การบริหารงานยุคใหม่ ผู้นำ หรือ CEO ต้องเผยจุดอ่อน และยอมรับความผิดพลาด | Techsauce

การบริหารงานยุคใหม่ ผู้นำ หรือ CEO ต้องเผยจุดอ่อน และยอมรับความผิดพลาด


ไม่มีตำราไหน ที่อาจบอกได้แน่ชัดว่า CEO หรือผู้นำดีทีควรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีมานี้ ที่หลายองค์กรกำลังเผชิญกับความท้าทายไม่สิ้นสุด เราอาจเคยได้ยินว่า ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ คิดไปข้างหน้า มีวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจน หรือแม้แต่มีความเฉียบขาด แต่ในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จัก Chris Byers CEO ของ Formstack ที่เขาเชื่อว่าการเป็นผู้นำที่มีภาวะอ่อนแอบ้างในบางครั้ง การบริหารงานด้วยจิตวิญญาณและหัวใจนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

CEO ก็มีปัญหาสุขภาพใจ

เพราะการเป็นผู้นำ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีปัญหาด้านสุขภาพใจ เพียงเพราะอยู่ในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบที่สูง ทุกคนล้วนมีช่องโหว่ด้วยกันทั้งนั้นในฐานะมนุษย์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ได้คำนึงถึงบทบาททางสังคมหรืออาชีพใด มีงานวิจัยที่พบว่าผู้นำในระดับ C Level ขึ้นไปล้วนมีปัญหาสุขภาพจิตที่สูงขึ้นถึง 70% ในปี 2022 ซึ่งการเปิดเผยปัญหาส่วนตัวของผู้นำมักจะทำให้พวกเขาหวาดกลัวว่าเพื่อนร่วมงานและพนักงานจะมองว่า ผู้นำนั้น ‘อ่อนแอ’ และ ‘ไม่มีประสิทธิภาพ’ แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยกลับพบว่า เมื่อผู้นำยอมรับข้อบกพร่องในความผิดพลาด พนักงานจะมองว่าเขาน่าเชื่อถือและมีความสามารถมากกว่าเพราะการเปิดเผยความอ่อนแอนี้ จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจ บวกกับเพิ่มความปลอดภัยทางด้านจิตใจให้กับพนักงานเช่น ลดความเสี่ยงของ ‘quiet quitting’ ‘productive paranoia’ หรือ ‘quiet firing’

ความอ่อนแอนั้นแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ดิ้นรน ที่จะทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับพนักงานไม่ใช่แค่ในฐานะ CEO ของบริษัท แต่ในฐานะผู้นำที่ใส่ใจพนักงานและองค์กร

ซึ่งในการเป็นผู้นำที่ดีในแบบของ Byers เขาได้ยกตัวอย่างสามสิ่งด้วยกัน


ยอมรับในข้อบกพร่อง

เมื่อต้นปีนี้ Byers ได้ส่งบันทึกถึงพนักงานโดยมีเนื้อหาที่แบ่งปันทุกอย่างตั้งแต่เรื่องของความกลัวไปจนถึงความไม่พอใจในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา อีกทั้งความเหนื่อยล้าที่เขาเผชิญอยู่ นั่นไม่ใช่ข้อความสร้างแรงบันดาลใจจาก  Byers ที่จะบอกให้พนักงานก้าวข้ามหรือไปพิชิตในสิ่งที่คาดหวัง แต่มันเป็นความรู้สึกที่ตรงไปตรงมาของเขา รวมถึงสิ่งที่ต้องปรับปรุงในอนาคต Byers คิดว่าเมื่อเขาแสดงความชัดเจนในเรื่องของข้อบกพร่องของตนเอง มันจะส่งผลให้พนักงานและองค์กรก้าวต่อไปในทิศทางที่ดีขึ้น

เปิดใจสำหรับสุขภาพจิต

ทุกคนได้รับผลกระทบจากโรคระบาดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่ง Byers ต้องการให้แน่ใจว่าพนักงานของ Formstack จะรู้สึกสบายใจที่จะแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขาเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต แม้ว่าสังคมจะยังมีการดูถูกดูแคลนเกี่ยวกับภาวะของสุขภาพจิตอยู่ ไม่ค่อยมีผู้นำคนไหนที่จะแชร์ประสบกาณ์เหล่านี้ในที่ทำงาน ดังนั้นสิ่งที่ Byers ทำคือการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวที่ล้ำลึกเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตที่เขาได้เรียนรู้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นคืออาการ dysthymia ที่เกิดขึ้นพร้อมกับอาการซึมเศร้า ที่ทำให้เขาหมดความสนใจกิจวัตรประจำวัน Byers เชื่อว่ามีพนักงานหลายคนที่เผชิญกับภาวะเดียวกันกับเขา ซึ่งเขาก็คอยแบ่งปันวิธีเพื่อให้ชีวิตดีขึ้นเช่นการออกกำลังกาย 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ไปพบนักบำบัด เป็นต้น

อย่าพยายามหาคำตอบทั้งหมด

เมื่อคุณอายุยังน้อย คุณจะถือว่าพ่อแม่ ครู หรือใครก็ตามที่มีอายุมากกว่า จะมีคำตอบให้คุณทั้งหมด

ในชีวิตจริงของการทำงานเขาค้นพบแล้วว่า คนมักจะคาดหวังและกดดันให้เขามีคำตอบทั้งหมดในปัญหาหลายอย่างๆเพียงเพราะตำแหน่ง CEO แต่ตลอดระยะเวลาของการทำงานมา 13 ปี Byers ได้กล่าวว่า “ผมไม่มีคำตอบทั้งหมด และมันก็ไม่เป็นไร ตราบใดที่ผมยังทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาคำตอบและแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงสิ่งต่างๆ”  

Byers เชื่อว่าเขาได้พบเคล็ดลับในการเป็นผู้นำยุคใหม่แล้ว และงานวิจัยก็อยู่เคียงข้างเขา เมื่อแสดงให้พนักงานเห็นจุดอ่อนของเขา เขาเชื่อว่าเขาเป็นผู้นำที่ดีกว่าและได้ผลดี 

ด้วยความอ่อนแอ ไม่สมบูรณ์แบบ ผมได้เชื่อมโยงกับพนักงานอย่างลึกซึ้งและจะได้รับความไว้วางใจ ไม่ใช่แค่ในฐานะ CEO ของบริษัทที่พวกเขาทำงานด้วย แต่ในฐานะผู้นำที่ใส่ใจพวกเขาและองค์กร

อ้างอิง

Forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...