การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมในทุกมิติ หลังสถานการณ์โควิด-19 | Techsauce

การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมในทุกมิติ หลังสถานการณ์โควิด-19

ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมถือเป็นส่วนสำคัญของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยโครงข่ายและบริการในการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน ธุรกิจ และการศึกษา ทั้งในด้านการบริการทางการเงิน ค้าปลีก การสื่อสาร การเรียน และการสร้างความบันเทิง รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญในการปูทางไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล 

โดยเฉพาะในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาที่การแพร่ระบาดทั่วโลกได้สร้างผลกระทบมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน บทบาทของผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมยิ่งทวีความสำคัญ ในแง่การอำนวยความสะดวกให้กับ “ชีวิตวิถีใหม่” (New Normal) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานจากบ้าน การเรียนออนไลน์ จนถึงการสนับสนุนมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม

การรับมือกับสภาวะตลาด ก้าวต่อจากนี้ไป

บทบาทในการเชื่อมโยงสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจโทรคมนาคมได้รับผลกระทบน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ในช่วงวิกฤติโรคระบาด อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่เดือนต่อจากนี้ ธุรกิจโทรคมนาคมจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวและรับมือกับความท้าทายหลายอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้น อาทิเช่น

•    แรงกดดันด้านเศรษฐกิจ ในการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ด้วยมาตรการที่จำเป็นต้องทำให้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น (rapid cost take-out initiatives)

•    การจัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายที่สอดคล้องกับรายได้และความต่อเนื่องทางธุรกิจ

•    การ optimize ระบบซัพพลายเชนที่มีความผันผวน ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ และแรงงาน

•    การบริหารจัดการรายได้และกระแสเงินสด ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงการถูกขยายระยะเวลาการชำระเงิน

ผลกระทบในระยะยาว จาก “ชีวิตวิถีใหม่” 

ด้วยสังคมที่ก้าวสู่ “ชีวิตวิถีใหม่” และด้วยความเร็วของเทคโนโลยี 5G ที่รวดเร็วกว่า 4G ในปัจจุบันถึง 50 เท่า ทำให้เราสามารถคาดการณ์แนวทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจโทรคมนาคม ดังนี้

1.    การพลิกโฉมธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่หลายบริษัทได้เริ่มทำไปแล้วนั้น มีแนวโน้มที่จะถูกเร่งให้เร็วขึ้น เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากภาวะหยุดชะงักทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้น ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานของตน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านระบบดิจิทัลแบบ omni-channel ของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของ digital self-service เราจะได้เห็นการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาเสริมประสิทธิภาพของศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าและร้านค้าปลีกมากขึ้น ในแง่ของการให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า และช่วยให้การตัดสินใจดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างเรียลไทม์มากขึ้น

2.    จากการที่ธุรกิจโทรคมนาคมต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและความยืดหยุ่นของธุรกิจ เราจะได้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการปรับเปลี่ยนระบบ IT ไปสู่ระบบแบบไฮบริดคลาวด์ รวมทั้งการนำออโตเมชันมาใช้แบบเต็มพิกัด เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจและผู้บริโภค ด้วยระบบและเครือข่ายแบบเปิดที่จะนำไปสู่การทำงานที่สอดประสานและมีความยืดหยุ่น (agile) ยิ่งขึ้น เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่พลิกโฉมการจัดการเวิร์คโหลด การกระจายโหลดข้อมูล และการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ machine learning มาใช้งานร่วมกับเครือข่าย Core หรือ Edge ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ในการลงทุนและการสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างยั่งยืน

3.    ในประเทศไทย เราได้เห็นบริษัทในธุรกิจการให้บริการโทรคมนาคมที่กำลังเปลี่ยนโฉมตัวเองให้กลายเป็นธุรกิจด้านแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นทั้งผู้ให้บริการด้านดิจิทัล และผู้สนับสนุนบริการดิจิทัล สำหรับทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ผลของการเปิดตัวเทคโนโลยี 5G และอัตราการเจาะตลาดในไทยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นราวร้อยละ 33 ตามที่ AT Kearney คาดการณ์ไว้ จะช่วยให้งานสำคัญๆ อย่างการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือฟีเจอร์ในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้ยานยนต์อัจฉริยะ (connected vehicle) ได้รับประโยชน์จากความเร็วของเทคโนโลยี 5G ในระดับเสี้ยววินาที โดยไม่ต้องส่งเวิร์คโหลดขึ้นไปประมวลผลบนคลาวด์แบบรวมศูนย์อีกต่อไป

นอกจากนี้ เทคโนโลยี Edge และ 5G ยังช่วยให้ AI และ machine learning สามารถทำงานใกล้กับจุดที่งานเกิดได้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานระบบออโตเมชันหรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจไทยในอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจำเป็นจะต้องพัฒนาความสามารถใหม่ๆ และเปิดรับระบบนิเวศน์แบบโอเพนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมและบริการใหม่ๆ ขึ้น และดำเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น

4.    ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากในยุคหลังโควิด-19 นั้นการเข้าถึงธุรกิจและข้อมูลทั่วโลกผ่านช่องทางดิจิทัลจะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในการทำงานจากทางไกล ทั้งของพนักงานในธุรกิจโทรคมนาคมและภาคธุรกิจองค์กรที่ธุรกิจโทรคมนาคมให้บริการ จะมีการขยายบริการด้าน security-as-a-service เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น

ในขณะที่โลกธุรกิจกำลังก้าวไปข้างหน้านี้ ไม่ว่า “ชีวิตวิถีใหม่” จะเป็นอย่างไร การเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการให้บริการของธุรกิจโทรคมนาคมในทุกมิติ ทั้งในแง่ของรูปแบบการบริการ การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าและลูกค้าองค์กร สภาพแวดล้อมในการทำงานที่บริษัทสร้างขึ้นสำหรับพนักงานของตน การดำเนินการเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการลงทุน หรือการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ธุรกิจโทรคมนาคมจะตอบสนองต่อความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเป็นตัวกลางที่สำคัญในการเชื่อมโยงภาคธุรกิจ ชุมชน และสังคม ต่อไป

บทความโดย : คุณวิบูลย์ ฐานันดรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรม โทรคมนาคม และภาครัฐ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bill Gates แนะนำ 'The Coming Wave' หนังสือ AI ที่ควรอ่าน ทำนายการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกการทำงาน

Bill Gates ผู้ก่อตั้ง Microsoft แนะนำหนังสือ "The Coming Wave" เขียนโดย Mustafa Suleyman ซีอีโอของ Microsoft AI ซึ่งเขายกให้เป็นหนังสือ AI ที่สำคัญที่สุดและอยากให้ทุกคนอ่าน เพื่อเต...

Responsive image

The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เรียนรู้หลักการ The Puzzle Principle ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแนวคิดจาก Adam Grant ที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าง และทำให้คุณฉลาดขึ้น พร้อมตัวอย่างงานวิจัยที่ยืนยันผลลัพ...

Responsive image

บริหารแบบ Micromanagement ใส่ใจไม่จู้จี้ บทเรียนพลิกธุรกิจจาก Brian Chesky CEO ของ Airbnb

สำรวจว่าแนวทางการบริหารที่ใส่ใจในรายละเอียดของ Chesky ช่วยเปลี่ยน Airbnb ให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกได้อย่างไร และเพราะเหตุใดการ micromanagement ...