เมื่อวันที่ 28 มีนาคมได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทย และเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมจะต้องรับบทหนักในการขับเคลื่อนให้ทีมสามารถดำเนินงานต่อไป และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนในทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตไปได้ การจัดการในสถานการณ์เช่นนี้นอกจากการตอบสนองต่อความต้องการภายนอกอย่างเช่น น้ำ อาหาร และที่อยู่อาศัยแล้ว ความต้องการภายในก็มีความสำคัญไม่น้อย และบทความนี้จะสรุปแนวทางการจัดการทีมจาก United Nations’ Leadership in Emergencies ที่สามารถนำไปใช้ในการฟื้นฟูทีมหลังเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้
หัวหน้าทีมต้องทำให้บรรยากาศในการทำงานเอื้อต่อการฟื้นตัวของสมาชิกในทีม ซึ่งต้องคำนึงถึงการจัดการความต้องการส่วนตัวของตัวเองด้วย เช่น ความต้องการของครอบครัว ทั้งนี้ หัวหน้าทีมต้องคอยดูแลความเป็นอยู่ของทีมไปพร้อมกับการช่วยเหลือตนเองให้มีพลังพอที่จะสนับสนุนผู้อื่นได้
หัวหน้าทีมต้องเช็กตัวเองก่อนว่าตนเองได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองสามารถให้การสนับสนุนทีมได้อย่างเต็มที่ หากหัวหน้าทีมไม่สามารถจัดการกับความเครียดของตัวเองได้ ก็จะยากที่จะให้การสนับสนุนคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความเครียดอาจทำให้สมาชิกในทีมโฟกัสกับงานได้ยากหรือตัดสินใจได้ไม่ดีเท่าสถานการณ์ปกติ หากมีงานบกพร่องหรือไม่ได้ตามที่คาดหวัง ต้องมีความเข้าอกเข้าใจในทีม และไม่ละเลยการสนับสนุนทางจิตใจให้กับทีมเพื่อฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงาน
บางครั้งสมาชิกในทีมอาจแสดงอาการช็อกหลังจากการเจอสถานการณ์ภัยวิกฤตหรือพิบัติที่เกิดขึ้น หัวหน้าทีมควรช่วยทำความเข้าใจว่าอาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของคนที่ประสบเหตุการณ์อันตราย และไม่ใช่การตีตนเกินไปหรือความอ่อนแอ
สมาชิกในทีมอาจมีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันแม้ในสถานการณ์เดียวกัน สิ่งสำคัญคือการเข้าใจว่าแต่ละคนมีการฟื้นฟูในแบบที่แตกต่างกัน และการให้เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คนในทีมรู้สึกดีขึ้น
หากทีมงานมีความรู้สึกว่าจำเป็นต้องการความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาหรือบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้การติดต่อและเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมเพื่อการสนับสนุนที่ดีที่สุด
ในช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมสามารถใช้หลักการปฐมพยาบาลทางอารมณ์เพื่อช่วยในการฟื้นฟูจิตใจของทีมได้ โดยแบ่งออกเป็น 10 หลักการสำคัญดังนี้
เนื่องจากอารมณ์เป็นสิ่งส่งอิทธิพลต่อกันได้ หากผู้นำใจเย็นก็จะทำให้คนอื่น ๆ สามารถใจเย็นขึ้นได้ ที่สำคัญคือต้องใจเย็นโดยไม่ได้ตัดขาดจากสถานการณ์จนมากเกินไปด้วย
การใช้เสียงที่อบอุ่นและท่าทางที่เปิดรับสิ่งที่ผู้ได้รับผลกระทบพูด จะช่วยให้ทีมงานรู้สึกว่ามีคนรับฟังและเข้าใจในความรู้สึกของพวกเขา
การแสดงออกว่ารับทราบถึงความยากลำบากที่ทีมงานแต่ละคนกำลังเผชิญ จะช่วยให้พวกเขารู้สึกว่าความรู้สึกของตนเองได้รับการเข้าใจและยอมรับ
การแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจและตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้ได้รับผลกระทบพูด รวมถึงการถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เขากล่าว จะช่วยให้คนในทีมรู้สึกว่าเขาถูกฟัง
การฟังและแสดงความเข้าใจต้องทำด้วยความจริงใจ ไม่ควรทำเพื่อเป็นการปลอบใจเท่านั้น เพราะสมาชิกในทีมสามารถรับรู้ได้ถึงความจริงใจหรือการแกล้งทำ
การมอบกำลังใจและเน้นย้ำจุดแข็งของสมาชิกในทีมจะช่วยสร้างพลังบวกให้กับพวกเขา ซึ่งอาจมอบหมายงานที่ทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสถานการณ์
การดูแลความปลอดภัยของสมาชิกในทีม โดยการถามถึงความปลอดภัยของครอบครัวหรือคนใกล้ชิด จะช่วยให้ทีมรู้สึกว่าหัวหน้าทีมใส่ใจในเรื่องนี้ แม้ว่าจะไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมด
การดูแลความต้องการทางกาย เช่น การช่วยเหลือสมาชิกในทีมที่ได้รับบาดเจ็บให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เป็นการแสดงถึงความใส่ใจและความรับผิดชอบ
การสร้างช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน จะช่วยให้ทีมไม่ต้องวิตกกังวลกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือสับสน
การช่วยทีมให้สามารถเข้าถึงการสนับสนุนที่จำเป็น เช่น การเข้าถึงบริการทางจิตวิทยาหรือการแพทย์ สามารถช่วยให้สมาชิกในทีมฟื้นฟูได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้ยังมี Toolkit สำหรับการเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุ เพื่อให้ทีมสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างคล่องตัว ตัวอย่างเช่น การแบ่งงานที่จำเป็นและงานที่สามารถเลื่อนออกไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาจำกัด หรือการเตรียมการให้พนักงานดูแลตัวเองเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
สถานการณ์ฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้ทีมทุกคนพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุจะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://hr.un.org/sites/hr.un.org/files/Leadership_in_Emergencies_Toolkit.pdf