Cisco เมื่อการอยู่รอดจาก Digital Disruption ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็น 'การสร้างนวัตกรรมร่วมกัน'

Cisco เมื่อการอยู่รอดจาก Digital Disruption ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็น 'การสร้างนวัตกรรมร่วมกัน'

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้เข้ามามีอิทธิพลในทุกอุตสาหกรรม หลายวงการต้องเร่งปรับตัวกันอย่างหนัก เพื่อพัฒนายกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม อวสานของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของวิธีการคิดดังกล่าวแล้วว่า หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าผู้ที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่รอดจากการแข่งขัน หากแต่เป็นผู้ที่รู้จุดแข็งของแต่ละฝ่ายแล้วหาแนวทางพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน

Techsauce ได้มีโอกาสนั่งพูดคุยกับ Michael Maltese ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมของ Cisco ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่น ถึงความท้าทายและโอกาสสำหรับการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาไปสู่ Internet of Thing (IoT) และการสร้างความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cyber security) ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรม รวมทั้งในด้านประเทศไทยเอง ว่ามีความพร้อมแค่ไหนในการเดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City

Michael Maltese ผู้อำนวยการด้านนวัตกรรมของ Cisco ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่นที่ผ่านมามีองค์กรขนาดใหญ่เปิดตัวโครงการบ่มเพาะนวัตกรรมจำนวนมาก ทาง Cisco เองมีกลยุทธ์ในการดำเนินการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างไร

บริษัทใหญ่ได้ลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เช่นเดียวกันกับที่ Cisco แต่สิ่งที่เราโดดเด่นคือ เราทำการซื้อกิจการในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมามากกว่า 200 บริษัท เรามองหาบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่น่าสนใจที่เราคิดว่าเราสามารถทำงานผสานร่วมกันได้

นอกจากนี้ เรายังทำการลงทุนใน Venture Capital แต่เรื่องการพัฒนาร่วมกันนั้นเป็นสิ่งที่เรามุ่งเน้นที่สุด ที่ Cisco เราเชื่อว่าไอเดียที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นมาจากทุกที่ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงใช้แนวทาง 'Innovation Portfolio' วางแนวทางบริหารจัดการนวัตกรรมในระยะสั้น และระยะยาว ขณะเดียวกันก็ทำการลงทุนใน R&D อย่างแข็งขัน บริษัทได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าและคู่ค้าของเรา ในการร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นที่มีความหมายและสร้างสรรค์

เราต้องการรวบรวมไอเดียยอดเยี่ยมไว้ให้ได้มากที่สุด อีกทั้งต้องการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Ecosystem ของนวัตกรรม ทั้งทำงานร่วมกับทางภาครัฐ เอกชน รวมถึงคอมมูนิตี้เหล่า Startup ซึ่งศูนย์พัฒนานวัตกรรมร่วมของเรา ก็เป็นวิธีที่ดีที่จะสร้างสิ่งเหล่านั้นให้เกิดขึ้น

เป้าหมายของการสร้างศูนย์นวัตกรรม Cisco Co-Innovation Center

ศูนย์นวัตกรรม Cisco ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายนวัตกรรมศูนย์อื่นๆ ทั่วโลก มุ่งเน้นทดสอบไอเดีย การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ IoT ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบล็อกเชน โดยทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรไม่แสดงหาผลกำไร เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

เรามีศูนย์นวัตกรรมอยู่ 14 แห่งทั่วโลก และในภูมิภาคนี้ซึ่งผมดูแลอยู่มี 4 แห่งด้วยกัน คือที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ออสเตรเลียมีสองแห่งคือที่ซิดนีย์และเพิร์ท และล่าสุดเราเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 คือที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์นวัตกรรมแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ศูนย์นวัตกรรมร่วมของ Cisco ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน และญี่ปุ่น แต่ละแห่งพัฒนาอะไรบ้าง

ศูนย์นวัตกรรมในแต่ละแห่งของ Cisco มีจุดมุ่งเน้นในการพัฒนาต่างกัน ภาคการผลิตเป็นสิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญ โตเกียวกำลังให้ความสำคัญด้านเมืองอัจฉริยะมาก ส่วนเรื่อง 5G ในขณะนี้ก็กำลังทวีความสำคัญทั่วเอเชียเช่นกัน เรายังได้ทำงานร่วมกับบริษัทอย่าง Hitashi ในการผลิตนวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

ในออสเตรเลียเราเน้นพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับทรัพยากร คมนาคมขนส่ง เราทำงานร่วมกับ Woodside บริษัทด้านพลังงาน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคการศึกษา

ที่สิงคโปร์จะเน้นร่วมพัฒนานวัตกรรมสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการใช้อุปกรณ์ IoT ความปลอดภัยทางไซเบอร์ บล็อกเชน และ 5G

การเปิดศูนย์นวัตกรรมร่วมที่สิงคโปร์มีบทบาทอย่างไรในกลยุทธ์ของทาง Cisco

Cisco มองว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตและเราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรม และเรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับรัฐบาลท้องถิ่น ผู้ก่อตั้ง บริษัท คู่ค้า และลูกค้า ในการสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนโซลูชั่นดิจิทัลใหม่ เพื่อพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและสังคม

ทางสิงคโปร์ได้เข้าร่วมเครือข่ายศูนย์นวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายทั่วโลกของ Cisco โดยมีพันธกิจในความร่วมมือและแก้ปัญหาด้านนวัตกรรมร่วมกับวิศวกรของเรา

ศูนย์นวัตกรรมร่วมจะเป็นตัวเร่งการเกิดนวัตกรรม Digital transformation โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาไปสู่ IoT และการสร้างความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์

ที่นี่จะช่วยสร้างความตระหนักถึงความเป็นไปได้ของ Digital Transformation และ IoT มีทั้งการให้พื้นที่สำหรับผู้เล่นในอุตสาหกรรม จัดโครงการ Accelerator เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย และ Startup เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างต้นแบบและโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้จัด Hackhathon ด้านนวัตกรรมความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เราเรียกว่า 'Decipher' ได้ทำงานร่วมกับนักศึกษา และกับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ อันจะเป็นส่วนช่วยเสริมการทำงานของ Cisco มี Startup เข้าร่วมโปรแกรมนี้กว่า 20 ทีม นอกจากนี้ เรายังได้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ามาร่วมเป็นเมนเทอร์ให้กับเหล่า Startup และผู้ประกอบการอีกด้วย

ทางรัฐบาลสิงคโปร์ได้สนับสนุนความพยายามในการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับทางเรา อีกทั้งบริษัทอื่นอย่าง Sembcorp บริษัทด้านสาธารณูปโภค วิศวกรรมชายฝั่ง และพัฒนาเมือง และ ICE71 ฮับผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งพวกเขาได้ทำงานร่วมกับเราในโปรแกรม Hackathon เช่นกัน

ภาพบรรยากาศงาน {DECIPHER} HACKATHON/ ที่มา Cisco

ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จจากความร่วมมือของศูนย์นวัตกรรม

โครงการ Google Station ที่เราได้ร่วมมือกับทาง Google ในภารกิจช่วยชุมชนให้มีการเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะ โครงการท่าเรือ Rotterdam ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้ก็คือทำการยกระดับท่าเรือให้เป็นระบบออโตเมชันอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2023

สัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าถึงเวลาแล้วที่ท่าเรือนี้จะต้องมีการยกระดับพัฒนาเป็นระบบอัตโนมัติ

หากคุณมองท่าเรือขนาดใหญ่ในขณะนี้ ท่าเรือส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งอยู่ในจุดที่สามารถทำการขยายทางกายภาพได้ แต่ที่ Rotterdam ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเมืองถูกสร้างรอบๆ ที่นี่ อีกทั้ง Rotterdam ยังเป็นท่าเรือหลักในยุโรปมานานหลายศตวรรษ ดังนั้นเพื่อยังคงความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาโซลูชั่นใหม่

ภาพ Port of Rotterdam

เทคโนโลยีสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการนี้คืออะไร

สิ่งที่สำคัญคือระบบเครือข่ายเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ เมื่อต้องการปรับเป็นระบบออโตเมชันจึงต้องอาศัยอุปกรณ์ IoT ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายมารวมศูนย์บังคับควบคุม โดยโครงการประเมินว่าอาจต้องใช้เซ็นเซอร์สูงถึง 1 แสนชิ้น

จริงๆ แล้วก็ต้องกลับมาที่แกนหลักของ Cisco ที่เติบโตก็เพราะการเชื่อมต่อ 'Connectivity' ในการส่งรับข้อมูลที่รวดเร็วและปลอดภัยจากเซ็นเซอร์ทั้งหมด จากสถานที่ต่างๆ

เราผลักดันการคิดค้นนวัตกรรม พัฒนาระบบความปลอดภัยและเซ็นเซอร์อัตโนมัติ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะมีโครงการ IoT มากขึ้น และการมีข้อมูลมากขึ้น นำมาเก็บบันทึกวิเคราะห์ ช่วยในการตัดสินใจได้รวดเร็ว แม่นยำ

นอกจากเทคโนโลยีแล้ว ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมคืออะไร

การสนับสนุนจากผู้บริหารนั้นสำคัญมาก เราเพิ่งได้พูดคุยกับผู้จัดการ พวกเขารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ทำงานกับเรา หลายๆ ไอเดียมันยอดเยี่ยม นอกกรอบ แต่นั่นยังไม่เพียงพอ เราต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหารด้วย

การสนับสนุนจากผู้บริหารนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะพวกเขาจะมองเห็นความต้องการบางอย่างที่จะช่วยแก้โจทย์ในอนาคตได้

นอกจากนี้ความร่วมมือกับพันธมิตรก็สำคัญเช่นกัน อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญที่ทำงานร่วมกับเราในโครงเรือ Rotterdam ก็คือ IBM ท่าเรือนี้เป็นสถานที่ที่มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายพร้อมกัน หากคุณรู้ว่ามีอะไรขึ้นโดยเร็วที่สุด และสามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้โครงการ Rotterdam ขับเคลื่อนไปได้ โดยทาง IBM มีทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), Machine Learning ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเสริมเข้าสิ่งที่ Cisco มี ดังนั้นพวกเขาจึงมีความสามารถ คือถ้าพวกเขาได้รับข้อมูลเหล่านั้นพวกเขาสามารถนำเข้าไปวิเคราะห์และนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น ดังนั้นผมจึงคิดว่าการที่เรามีพันธมิตรที่ดีก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญเช่นกัน

นอกจากนี้เรายังจัดกิจกรรมให้พนักงานมารวมกัน กระตุ้นให้พนักงานในออกไอเดียใหม่ๆ และนำเมนเทอร์ชิพเข้ามาให้คำปรึกษา

ไทยอยู่จุดไหนของการพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะ 'Smart city'

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของ Cisco เสริมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเมืองที่ชาญฉลาดว่า เมืองที่ต้องรับใช้คือความอยู่ดีมีสุขของคนในพื้นที่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดียวกันวิธีการที่รัฐบาลจะสามารถให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น

อีกประเด็นก็คือ เมืองไทยจะสามารถก้าวขึ้นแข่งขันกับเมืองอื่นๆ ในโลก เพื่อดึงดูดการลงทุน นักท่องเที่ยว และนำรายได้กลับเข้าสู่ประเทศได้อย่างไร ผมคิดว่าเรื่องนี้เราต้องช่วยกันหาคำตอบ ซึ่งจะกลับไปสู่คำถามเดิมที่ว่า เมืองเราควรค่าแก่การลงทุนเพื่อพัฒนาไปสู่เมืองอัจฉริยะหรือไม่

คุณวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของ Cisco

หากต้องการยกระดับเมืองให้เป็นอัจฉริยะ ต้องทำการจัดลำดับว่าพื้นที่ไหนต้องเร่งพัฒนามากที่สุด เพราะแต่ละพื้นที่มีเอกลักษณ์ และต้องการกลยุทธ์การพัฒนาที่ต่างกัน

เมืองหลักทั่วโลกต่างลงทุนในการพัฒนาเมืองให้เป็น Smart City อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็ต้องตัดสินใจด้วยตนเองว่าต้องการพัฒนาส่วนไหนก่อนเป็นอันดับแรก

ในเรื่องของการมีศูนย์นวัตกรรมร่วมในประเทศไทย เราได้มีการเสนอไปแล้วหลายครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมองมุมมองแบบองค์รวมของบริษัท ในแง่ของความสามารถในการลงทุนของ Cisco อีกทั้งความพร้อมของประเทศไทยด้วย ว่าเราจะสามารถทำงานร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างไรบ้าง

 

ภาพหน้าปกจาก Cisco

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...