ฮ่องกงกับความพร้อมของเทคโนโลยี ที่ทำให้ ‘ไต้ฝุ่นมังคุด’ ไม่ใช่เรื่องหนัก | Techsauce

ฮ่องกงกับความพร้อมของเทคโนโลยี ที่ทำให้ ‘ไต้ฝุ่นมังคุด’ ไม่ใช่เรื่องหนัก

หากใครได้เห็นคลิปวีดีโอ หรือติดตามข่าวสถาณการณ์ ‘พายุไต้ฝุ่นมังคุด’ ที่เกิดขึ้นที่ฮ่องกงในสัปดาห์ก่อนนี้ ก็อาจจะรู้สึกถึงความน่ากลัวของภัยธรรมชาติ และมองว่าฮ่องกงไม่ปลอดภัยในเวลานั้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในคืนวันเสาร์ก่อนเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่น ทั้งนักท่องเที่ยวและคนฮ่องกงยังคงทำงาน กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง ใช้ชีวิตกันตามปกติ เหมือนไม่กลัวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีการเตรียมความพร้อม เช่นสำรองอาหารบางส่วนสำหรับการติดพายุ ติดเทปกาวบริเวณกระจก และเตรียมความพร้อมรับมืออื่นๆ แล้วอะไรทำให้คนที่ฮ่องกงไม่ตื่นตระหนก หรือมีความพร้อมอย่างที่เห็น? ในขณะเดียวกันมีเทคโนโลยีอะไรที่ภาครัฐนำเข้ามาช่วย? บทความนี้ผู้เขียนจะขอเล่าประสบการณ์ตรงจากเหตุการณ์นี้ และความประทับใจต่อเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์โดยภาครัฐของฮ่องกง

ด้วยภูมิประเทศที่เป็นเกาะ และมีสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้คนฮ่องกงใส่ใจกับสภาพอากาศค่อนข้างมาก การเจอมรสุมจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้พายุไต้ฝุ่นมังคุดจะเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงในรอบหลายปีของฮ่องกง แต่นั่นก็ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนก อีกทั้งด้านหน่วยงานภาครัฐอย่างกรมอุตุนิยมวิทยาของฮ่องกง ก็สามารถช่วยเหลือและให้ข้อมูลกับประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยจะมีการรายงานสภาพอากาศที่ค่อนข้างแม่นยำ และสม่ำเสมอ ทำให้คนฮ่องกงคุ้นชินกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และมีความพร้อมเตรียมการรับมือ

หนึ่งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันสำคัญที่ภาครัฐอำนวยความสะดวกให้กับคนฮ่องกงคือเว็บของกรมอุตุนิยมวิทยาฮ่องกง และแอปพลิเคชัน My Observatory โดยจะเป็นแอปฯที่รายงานสภาพอากาศและเหตุการณ์ต่างๆที่ค่อนข้างจะ realtime

สิ่งที่เราต้องรู้เป็นอันดับแรกคือ คนฮ่องกงจะมีตัวเลขและสัญลักษณะที่รับรู้โดยทั่วกันของระดับการเตือนมรสุมในฮ่องกง ซึ่งตัวเลขสัญลักษณ์ดังกล่าวทำให้คนฮ่องกงรู้กันดีว่า หากอยู่ในระดับนี้จะต้องเตรียมรับมืออย่างไร โดยมีรายละเอียดดังนี้ดังนี้

ระดับการเตือนมรสุมในฮ่องกง

  • ระดับ T1 Standby : ให้เตรียมรับมือ โดยมีสัญญาณการก่อตัวของพายุไต้ฝุ่น
  • ระดับ T3 Strong Wind : มีลมแรงและอาจมีฝนตกหนัก ระดับนี้ยังสามารถใช้รถสาธารณะหรือหรถไฟฟ้าได้ โดยต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และเริ่มสำรองอาหารไว้
  • ระดับ T8 Gale or Storm : การคมนาคมทุกอย่างจะหยุด ร้านค้าหรือบริษัทต่างๆจะปิด ควรอยู่แต่ในที่พักอาศัยเท่านั้น
  • ระดับ T10 Hurricane : เป็นระดับที่จะเจอพายุไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน

ระดับการเตือนเหล่านี้ จะถูกระบุไว้ในแอปฯเมื่อเกิดเหตุการณ์มรสุม โดยภายในแอปฯ ยังอุณหภูมิ กำลังลม ปริมาณน้ำฝน ภาพถ่ายจากดาวเทียม ระดับน้ำทะเล เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกดิน การติดตามทิศทางของพายุ การพยากรณ์อากาศ จุดที่ฝนตก รูปภาพ และวีดีโอรายงานสภาพอากาศ รูปภาพในพื้นที่ต่างๆโดยจะถ่ายไว้เกือบจะ realtime นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ ซึ่งออกมาในรูปแบบที่ดูง่าย

ที่สำคัญมากๆก็คือแอปฯ จะมี notification แจ้งเตือนสถานการณ์ของพายุ รวมทั้งสภาพอากาศ ความเคลื่อนไหวอื่นๆที่เกิดขึ้น

จากที่ผู้เขียนได้รับคำแนะนำจากคนไทยในฮ่องกงให้ลองใช้แอป My Observatory และได้ประสบกับเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นมังคุดด้วยตนเอง ก็พบว่าแอปนี้มีประโยชน์อย่างมาก และทำให้เรารู้เวลาที่เกือบจะแน่นอนว่าพายุจะมาเมื่อไหร่ ซึ่งในเหตุการณ์วันนั้นมีการแจ้งเตือนระดับ T8 ในเวลากลางคืน เราทราบแล้วว่าการคมนาคมจะหยุดลง ซึ่งเมื่อเกิดพายุทุกคนล้วนแต่อาศัยอยู่ในตึก โรงแรม ทานอาหารที่สำรองไว้

ตลอดทั้งวันจะมี Notification แจ้งเตือนว่าเกิดเหตุการณ์อะไรบ้างภายนอก ทั้งเหตุการณ์ดินสไลด์ฝนตกหนัก หรือฝนหยุดตก อุณหภูมิเพิ่มขึ้น - ลดลง ซึ่งการให้ข้อมูลในรูปแบบนี้เข้าถึงผู้คนได้ง่าย และยังเป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ฮ่องกงผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงครั้งนี้ไปได้ โดยในเช้าวันถัดมาเมื่อพายุสงบลง ผู้คนออกมาท่องเที่ยว ทำงาน ใช้ชีวิตตามปกติ เหมือนเมื่อวานไม่มีอะไรเกิดขึ้น และมีการเก็บกวาดเมือง ให้ทุกอย่างคืนสู่สภาพปกติโดยเร้ว

วันถัดมาหลังเกิดเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นมังคุด 

สรุป

สิ่งหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยีก็คือข้อมูลหรือ Data เมื่อภาครัฐมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ก็ต้องมองว่าจะใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร ผนวกกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ที่สุดแล้วฮ่องกงไม่ได้มีเทคโนโลยีมีดีเด่นไปกว่าที่ไหน แต่เพราะฮ่องกงเลือกนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับประชาชน My Observatory จึงเป็นตัวอย่างของแอปจากภาครัฐหรือกรณีศึกษาสำคัญที่ไม่ควรข้าม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...