ถอดรหัสพฤติกรรมผู้บริโภค ยุค 5.0 กับ 3 กูรูดิจิทัล องค์กรจะก้าวทันความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ? | Techsauce

ถอดรหัสพฤติกรรมผู้บริโภค ยุค 5.0 กับ 3 กูรูดิจิทัล องค์กรจะก้าวทันความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ?

การเข้ามาของ COVID-19 นับตั้งแต่ช่วงปลายปี  2019 ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบมากมาย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น คือ หลายประเทศต้องมีการล็อกดาวน์ คนต้องหันมาทำงานกันแบบ Work from anywhere รวมทั้งธุรกิจก็ต้องปรับตัวเพื่อให้รักษาสภาพคล่องเอาไว้ให้ได้ หรือบางแห่งถึงขั้นต้องปิดกิจการลง นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้ผู้ประกอบการต่างต้องปรับตัวให้ทัน คือ พฤติกรรมผู้บริโภค 

แล้วองค์กรจะมีวิธีการวิเคราะห์ได้อย่างไรว่า ความต้องการของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปในทิศทางไหน และจะเตรียมตัวรับมือกับผู้บริโภคในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างไร Techsauce ได้สรุปเนื้อหาจากงาน  WEvolution ปฏิบัติการถอดรหัสผู้บริโภค ยุค 5.0 งานวิจัยของสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โดยมีวิทยากรมากความสามารถทั้ง 3 ท่านมาให้ความรู้ ได้แก่ คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วี ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer บริษัท SCG-CBM และ คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ Group CEO ของ บริษัท Bitkub Capital Group Holdings จำกัด

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค Digital Disruption และ COVID-19

เปิด Session โดย คุณอภิรักษ์ โดยได้กล่าวว่า อย่างที่ทราบกันดีว่าการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้คนต้องทำงานจากที่บ้าน อีกทั้งคนยังต้องปรับตัวหันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้เกิดยุคของ Digital Disruption ที่มี COVID-19 มาเป็นตัวเร่ง และส่งผลให้คนมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ปรับตัวใหม่ในยุค New normal หันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งยังงดการออกจากบ้าน และใช้ชีวิตอยู่ในโลกโซเชียลมีเดียมากขึ้น นอกจากนี้การใช้งานแอปพลิเคชันบริการส่งของเดลิเวอรี่ก็เพิ่มขึ้นมาก จากการที่คนไม่กล้าที่จะออกไปไหน และมีการทำงานแบบ Work from home ซึ่งจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนนี้ จะเป็นไปในด้านที่มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ในส่วนของ คุณอภิรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่ COVID-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดขึ้น นั่นก็คือ Digital Disruption ถ้าจะมองในทางบวก COVID-19 ทำให้มีการ Adoption หลาย ๆ อย่างเกิดขึ้น ซึ่งการ Adoption เหล่านี้มีหลายอย่างที่ไม่ใช่สิ่งใหม่ เป็นสิ่งเดิมที่ในอดีตที่ไม่มีใครคิดว่าจะนำมาใช้อย่างจริงจัง จนมาตอนนี้ต้องหันมาลองทำให้มันเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ออนไลน์ ที่ก่อนหน้า COVID-19 มันเป็นแค่ทางเลือก แต่ปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินผ่านระบบออนไลน์กลับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และมีการคาดการณ์ว่าการใช้งานระบบออนไลน์นี้ก็จะยังคงมีอยู่หลังจากหมดยุค COVID-19 แล้ว ทั้งนี้ COVID-19 ยังให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นมาเยอะเช่นกัน เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และนำมาใช้ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การสร้างอาชีพใหม่ด้วยเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมานั่นเอง และถ้าองค์กรไม่ยอมที่จะปรับตัว การที่จะโดน Disrupt ก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน

ในด้านของ คุณจิรายุส มองว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้น แตกต่างจากในอดีตที่เทคโนโลยีไม่ได้พัฒนาไปรวดเร็วเท่าปัจจุบันนี้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเกิด COVID-19 หรือไม่ Absolute property จะลดลง และมีการสร้างสิ่งที่ Abundant ได้มากขึ้น สิ่งที่เมื่อก่อนเป็น Privilage ของคนรวยจะเป็นสิ่งที่คนจนจับต้องได้มากขึ้น รวมทั้งการสื่อสารที่ ณ ปัจจุบันทุกคนเข้าถึงได้ง่ายขึ้นจากในอดีต และในอนาคตมองว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้อีก โดยคนที่มีความเข้าใจเทคโนโลยีจะได้รับประโยชน์จากมันมหาศาล ซึ่งไม่ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด COVID-19 ความเปลี่ยนแปลงมันจะเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งอาจจะช้าลงกว่าในตอนนี้ เพราะ COVID-19 มันเข้ามาเป็นตัวเร่งให้การเปลี่ยนแปลงมันเกิดเร็วขึ้น ในอีก 10-12 ปีข้างหน้าความเปลี่ยนแปลงมันจะเป็นแบบยกกำลัง คนจนและคนรวยจะเท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะทุกคนเข้าถึงเครื่องมือได้ เช่น Cloud อินเทอร์เน็ต AI IoT ที่มันมีต้นทุนที่ต่ำลง หรือไม่ต้องลงทุนด้วยตัวเองก็สามารถนำมาใช้งานได้

ผลกระทบกับธุรกิจและการปรับตัวในยุค COVID-19

สำหรับ คุณอภิรักษ์ กล่าวว่า ทาง บริษัทวี ฟู้ดส์ มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยได้ Rebranded จากเมื่อ 7 ปีที่แล้ว โดยเปลี่ยนมาเป็นผลิตภัณฑ์ V Farm ซึ่งวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งถ้ามองในภาพกว้างของธุรกิจประเภทนี้ จะเห็นว่า ได้รับผลกระทบอย่างมากตั้งแต่มี COVID-19 ระบาด ทั้งจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี ผู้คนไม่ออกมาจับจ่ายใช้สอย และไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจก็ต้องปรับตัว อย่างโรงแรมที่ต้องปรับให้คนสามารถเข้ามาเช่าห้องเพื่อทำงานได้ หรือบางแห่งปรับตัวมาขายอาหาร รวมทั้งร้านอาหารเองที่ต้องปรับมาเป็นการขายแบบเดลิเวอรี่ และสำหรับ วี ฟู้ดส์ เองก็ได้มีการวางแผนปรับ Business model มาตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำก่อน COVID-19 ระบาดเสียอีก โดยเราได้เปลี่ยนจากการขายผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อย่างน้ำนมข้าวโพด มาเป็นธุรกิจใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์ Plant based-food ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นเทรนด์ในหลายประเทศทั่วโลก และเนื่องมาจากการระบาดทำให้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพขายดีขึ้น ส่วนในด้านของการทำงาน ก็ถือเป็นความท้าทายหนึ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับองค์กรเราเป็นอย่างเดียว จากความแตกต่างของช่วงวัยของพนักงานในองค์กร และความหลากหลายที่เกิดขึ้นนี้ ถือเป็นเป็นความท้าทายของประเทศไทยที่จะปรับรูปแบบให้ทุกวัยสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านเทคโนโลยี เพื่อให้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ ในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ได้

ต่อมา คุณอภิรัตน์ ได้กล่าวว่า สำหรับ SCG ได้มีการเตรียมตัวและปรับตัวมาโดยตลอด เมื่อมีประกาศให้ทำการ Work from home เราก็สามารถแบ่งส่วนเพื่อให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน และมีส่วนที่จำเป็นก็ต้องเข้าออฟฟิศ โดยเราได้ดูแลพนักงานให้สามารถทำงานได้จากทั้งสองถานที่อย่างมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน นอกจากพนักงานแล้ว SCG ยังดูแลพาร์ทเนอร์ของเราเป็นอย่างดีเพื่อให้ทำงานด้วยกันแบบไม่ติดขัด รวมทั้งเรายังได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความสะอาดให้ลูกค้าทุกคน มันจึงเป็นความท้าทายหนึ่งที่เรารู้ว่าในช่วงการระบาดแบบนี้ทุกคนก็จะกังวลในเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยกันมาก รวมทั้งเรื่องบ้าน เพราะบ้านกลายเป็นทุกอย่างของทุกคน เมื่อไม่สามารถออกไปทำงาน ออกไปใช้ชีวิตข้างนอกได้ โดยแบรนด์ SCG ของเราก็ดูแลเรื่องบ้านโดยเฉพาะอยู่แล้ว เราจึงเข้าไปดูลูกค้าของเราว่าพวกเขาเป็นอยู่อย่างไร และเราก็จะเข้าไปทำ Super clean อีกทั้งยังได้เข้าไปช่วยออกแบบให้บ้านเหมาะสมกับการเป็นบ้าน การเป็นโรงเรียนของลูก และการเป็นออฟฟิศของพ่อแม่ นอกจากนี้ยังได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยในการสื่อสารขององค์กรไปข้างนอกให้คนได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ และยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้คนเข้าใจ และรู้จักการทำงานของเราอีกด้วย

ในส่วนของ คุณจิรายุส มองว่า มีบริษัทเป็นส่วนน้อยที่จะได้รับผลกระทบในทางบวก ทาง Bitkub ก็เป็นหนึ่งในนั้น และโตมาตลอดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังขึ้นเป็นเว็ปไซต์ทางการเงินที่มีคนไทยเข้าใช้งานมากที่สุด เนื่องมาจากคนหันมาสนใจ Cryptocurrency กันมากขึ้น ซึ่งในอนาคตมองว่าเงินจะไม่ใช่แค่มูลค่าบนกระดาษอีกต่อไป ซึ่งการระบาดของ COVID-19 ก็ไม่ได้กระทบกับระบบการทำงานภายใน เพราะเรามีการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมทั้ง Cloud based applications เข้ามาช่วยในการจัดการและการทำงาน ทำให้การทำงานแบบ Work from home ของทุกคนไม่มีปัญหา ทุกอย่างสามารถทำงาน และวัดผลได้โดยไม่มีผลกระทบเลย

Digital Disruption กับโลกปัจจุบัน

เมื่อพูดถึงคำว่า Disruption คนมักจะเอาคำว่า Technology หรือ Digital เข้ามา ทำให้คนไปมองว่าเราโดน Disrupt โดยเทคโนโลยี และเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจริง ๆ แล้วมันอาจจะไม่ใช่ทั้งหมด โดย คุณอภิรัตน์มองว่า ความจริงแล้วมันเป็นเพราะคนเปลี่ยนไปแล้ว ลูกค้าของเราเปลี่ยนไป ทั้งพฤติกรรมและความต้องการในสินค้า โดยตัวเทคโนโลยีทำให้สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเร็วขึ้น อย่างที่ทราบกันดีว่าคนในรุ่นหลัง ๆ มานี้จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนหน้าตรงที่พวกเขาเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดาย นอกจากการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์แล้ว ความคิดของพวกเขายังเป็นไปตามโลกที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนอีกด้วย ด้วยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ และการสื่อสารที่ง่ายดายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น กลุ่มธุรกิจจะต้องตามให้ทัน คอยศึกษาทำความเข้าใจลูกค้า เพื่อให้ตอบสนองได้ตามความต้องการของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่เริ่มจะขึ้นมาเป็นตัวกำหนดความต้องการในตลาดแล้วตอนนี้

ทั้งนี้ผู้บริหารรุ่นก่อนนั้นจะต้องมองว่าตนเอง มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ พร้อมที่จะเริ่มธุรกิจแบบใหม่หรือแบบ Zero to One หรือไม่ จะต้องเริ่มคิดว่าเรากำลังสร้าง Experience ให้กับใคร เพราะคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับ Experience มากกว่าสินค้าและบริการ ตัวอย่างเช่น Airbnb ธุรกิจแนวใหม่ที่ให้คนแปลกหน้าไปนอนบ้านคนแปลกหน้า เพื่อให้คนได้มองหาประสบการณ์ใหม่มากกว่าความคุ้นเคยของคุณภาพและความสะดวกที่คนก่อนหน้านี้เคยให้ความสำคัญ ซึ่งจุดนี้ธุรกิจสมัยใหม่จะต้องเข้าใจให้ได้ และหา Solution ที่ดีที่สุดเพื่อมาตอบรับกับพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนไปนี้

นอกจากนี้ คนมักจะมากภาพของโลกเทคโนโลยีว่าเป็นการดำเนินการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีการคิด พลิกแพลง หรือต่อยอด แค่ระบบออนไลน์อย่างเดียวก็อาจจะถูก Disrupt ได้เช่นกัน ทั้งนี้การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาโมเดลของธุรกิจนั้น จะมีประสิทธิภาพกว่าการเปลี่ยนไปใช้แค่ระบบออนไลน์ ตัวอย่างเช่น การขายของในระบบออนไลน์ที่วันหนึ่งอาจจะถูก Disrupt แต่ถ้าเรานำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาโมเดลด้วย อย่างเช่น IoT, voice based หรือ VR ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อย ๆ ให้มันมีความทนทานและปลอดภัยมากกว่า อีกทั้งคนรุ่นใหม่สนใจทั้ง Emotional value และต้องการจะมี Experience ในการซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้น การนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จะเป็นตัวช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้ารุ่นใหม่ และเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมธุรกิจให้ไปต่อได้


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมความสำเร็จของ Bruno Mars มาจากความซื่อสัตย์ ไม่ใช่ทักษะทางดนตรี?

หลายคนคงรู้จัก Bruno Mars นักร้องชื่อดังที่มีเพลงฮิตติดหูมากมาย แต่ความสำเร็จในวันนี้ นอกจากความสามารถทางดนตรีแล้ว เจ้าตัวเผยว่า ‘ความซื่อสัตย์’ ต่อสิ่งที่ทำ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญท...

Responsive image

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ มาจากคอนเนคชั่นและการเลือกคบคน บทเรียนสำคัญของ Mark Zuckerberg

Mark Zuckerberg ชี้การเลือกสร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์นั้นอาจสำคัญกว่าเป้าหมายเสียอีกเพราะการที่เราจะเติบโตขึ้นไปเป็นใครสักคนหนึ่ง ผู้คนที่เราคบหาส่งผลอย่างมากต่อตัวตนของเรา...

Responsive image

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ และสวัสดิการหญิงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว...