อยากเห็น Education Tech ในเมืองไทยมากขึ้น ตอน: ส่องดู EdTech ไทยและเอเชียในปี 2016 | Techsauce

อยากเห็น Education Tech ในเมืองไทยมากขึ้น ตอน: ส่องดู EdTech ไทยและเอเชียในปี 2016

ในบรรดาอุตสาหกรรมต่างๆ ในวงการ Startup กล่าวได้ว่า EdTech หรือ Education Technology เป็นอีก Sector หนึ่งที่ดูเงียบๆ และไม่ค่อยมีใครพูดถึง มันเป็นเพราะอะไร? แล้วสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างแล้ว? ผู้เขียนขอตอบคำถามนี้ จากข้อสังเกต รวมถึงการสรุปเนื้อหาที่ได้รับฟัง เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ที่ 30-31 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเราได้มีโอกาสแวะไปงาน EdTech Asia Summit เป็นงาน Conference สาย EdTech โดยเฉพาะ และจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ

หมายเหตุ: เนื้อหาต่อไปนี้ อ้างอิงจากภายในงาน Conference เป็นหลัก สำหรับภาพรวม EdTech Ecosystem นั้น จะนำมาสรุปอีกครั้งในอนาคต

นักลงทุนมีความสนใจใน EdTech กันไหมนะ?

  • ข่าวร้ายคือ ไม่ใช่ทุก VC ที่ใช่ สำหรับ EdTech เราได้เข้าร่วมฟัง Panel เรื่อง EdTech Company Valuations and Investor Relations ซึ่งได้รวมนักลงทุนหลายท่านบนเวที มีคำพูดนึงที่ทุกคนยอมรับคือ "Not all investors are right for EdTech" คือวงการการศึกษา เป็นอุตสาหกรรมที่ว่ากันว่า ช่างไม่เซ็กซี่เอาเสียเลย เมื่อเทียบกับบาง Sector อย่าง E-commerce และ FinTech เป็นวงการที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงยาก และอาจใช้เวลานานกว่า ในการจะ Disrupt ให้เห็นผล
  • ข่าวดีคือ มีหลาย VC เอง ที่มองว่า EdTech เป็นโอกาสครั้งสำคัญ ด้วยความที่ EdTech ยังมีน้อยรายอยู่ ช่องว่างจึงยังมีอีกมาก และตลาด EdTech เองก็ใหญ่มากอีกด้วย คุณ Lana Duong จาก NSI Ventures ได้ยกตัวอย่าง 51Talk เป็น Online English School อันดับหนึ่งในจีน ที่ IPO (เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์) แล้ว นอกจากนี้เรายังได้พบกับคุณ Allison Baum จาก Fresco Capital โดยเธอได้เล่าว่า กองทุนของเธอนั้น มีความสนใจใน EdTech มาก และได้ลงทุนกับ Sector นี้มากที่สุดในพอร์ตการลงทุนอีกด้วย!

EdTech Company Valuations and Investor Relations Panel

อะไรคือความน่าสนใจของ EdTech ในภูมิภาคนี้

คุณ Allison ได้ให้ข้อมูลสถิติกับเราว่า ในปี 2014 ราว 2 ใน 3 ของเงินลงทุนที่ลงใน EdTech ล้วนแต่อยู้ในสหรัฐอเมริกา แต่ว่าจริงๆ แล้ว อเมริกานั้นมีจำนวนนักเรียนนักศึกษา เพียง 4% ของจำนวนทั้งหมดเท่านั้นเอง ดังนั้นเงินลงทุนจึงควรถูกย้ายที่เสียบ้าง และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ก็น่าสนใจมาก ตลาด SEA เองถือว่าใหญ่และมีช่องว่างให้ทำได้มากมาย Valuation ของ Startup ในภูมิภาคนี้ก็ยังไม่สูงมาก

สำหรับภูมิภาคนี้เอง EdTech ที่เวิร์คกับประเทศนึง ก็มีโอกาสที่จะ Scale และเวิร์คกับอีกประเทศได้ ยกตัวอย่างเช่น ELSA ซึ่งจะเล่าไว้ช่วงท้ายของบทความนี้ เพราะเราอย่าลืมว่า Education เป็น global issue และคนก็แสวงหาที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

มีเทรนด์น่าตื่นเต้นอะไรบ้างใน EdTech

  • คุณ Lana Duong มองว่าโมเดล Marketplace ซึ่งไปได้ดีในหลายวงการ น่าจะมีการนำมาใช้ในวง Education เพิ่มมากขึ้น
  • ส่วนคุณ Shivanu Shukla ซึ่งทำสตาร์ทอัป Teamie ได้ให้ความเห็นว่าตนกำลังจับตามอง Social Learning Analytics โดยให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากกว่าเพียงการติดตามข้อมูลสถานะ เช่น สามารถให้ Insight กับอาจารย์ได้ว่า เราจะสามารถช่วยเหลือนักเรียนในแต่ละกลุ่มอย่างไรได้บ้าง
  • ปิดท้ายด้วยคุณ Allison Baum ซึ่งกล่าวว่า EdTech ที่น่าสนใจในอนาคต คือรายที่ไม่ได้อยู่ในโลกของการศึกษาอย่างเดียว แต่อยากเห็นการผสมผสานระหว่าง EdTech กับ Sector อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น FinTech, Artificial Intelligence, Virtual Reality หรือกระทั่ง Healthcare เป็นต้น

EdTech Startup Showcase

ในวันแรกของงานยังได้มีช่วงที่ให้ผู้ร่วมงานได้รู้จัก EdTech Startup เพิ่มเติม โดยมีการ Pitching ของเหล่า Founder ที่ได้รับคัดเลือก ซึ่งเราจะขอเลือกนำมาเล่าทั้งหมดสามรายด้วยกัน

Playnote

faq_auralbook

Playnote เป็น Music EdTech จากฮ่องกง ในวันโชว์เคส Pitcher ได้สาธิตโปรแกรมให้เราดู พบว่าเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มากต่อการฝึกร้องเพลง โดยมีบทเรียนการไล่บันไดเสียงต่างๆ และเมื่อเราร้องตาม มันจะตรวจจับเสียงของเรา แล้วเช็คได้ว่าคีย์ที่เราร้องออกมาถูกต้องหรือไม่ หรือผิดอย่างไร จุดเด่นที่พบคือเป็นแอปที่ฉลาด สามารถ Interact กับผู้ใช้ได้ดีมาก ราวกับว่าเราได้พูดคุยกับคนจริงๆ อยู่

Playnote ได้ชื่อว่าเป็น World's first AI Music Examiner เป็นโปรแกรมที่ถูกนำไปใช้ในการเรียนการสอน และการสอบ ของสถาบันต่างๆ มากมาย โดยกระจายไปแล้วถึง 96 ประเทศทั่วโลก! เป็นอีกจุดนึงที่แสดงให้เห็นว่า EdTech สามารถสเกลได้จริงๆ

ภาพจากงาน London's Music Education Expo เมื่อนักเรียนไวโอลินลองใช้แอปช่วยทดสอบการเล่นไวโอลินของตน [Photo by Cecily Liu/chinadaily.com.cn]Ruang Guru EdTech สไตล์ Marketplace จากอินโดนีเซีย โดยเริ่มต้นจากการเป็น Marketplace สำหรับติวเตอร์ ต่อมามีการขยายความสามารถให้เป็นซอฟแวร์เพื่อการเรียนการสอนด้วย จนปัจจุบันได้ชื่อเป็น Indonesia's largest tech-enabled provider for quality teaching & content และมีเป้าหมายในสิ้นปี 2016 นี้ว่าจะมียอดผู้ใช้ที่เป็นติวเตอร์ 50,000 คน และยอดผู้ใช้ที่เป็นนักเรียน 1 ล้านคน (ตลาดใหญ่จริงๆ)

ruangguru-products

ruangguru-advantages

ELSA ขยับมาใกล้เราอีกนิด กับ EdTech จากเวียดนาม ELSA เป็น Virtual Pronunciation Coach เป็นโค้ชสำหรับคุณด้านการฝึกออกเสียง และฝึกสำเนียงภาษาอังกฤษ จับกลุ่ม ESL ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากๆ ภายในเวลา 5 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงกรกฎาคม 2016 ELSA มียอดดาวน์โหลดแล้ว 150,000 และเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขัน SXSWedu 2016

ส่วนตัวเราได้ลองดาวน์โหลดมาเล่นแล้ว พบว่าแอปนี้พยายาม Localize สู่ผู้ใช้ประเทศต่างๆ ได้ดี มีการถามถึง Native language ซึ่งรองรับแล้วนับสิบภาษา เช่น เวียดนาม ญี่ปุ่น โปรตุเกส (แต่ยังไม่มีไทย)

elsa-screenshot

แล้ว EdTech ในไทยเป็นอย่างไรบ้าง

จากการเดินวนในงาน สิ่งที่เราสังเกตเห็นได้ก่อนคือ.. แม้ว่าอีเวนท์จะจัดขึ้นในประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่า EdTech ไทยยังมีอยู่น้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นมุมของวิทยากร บูธ หรือผู้เข้าร่วมงาน

จากสถิติที่ Techsauce ได้รวบรวม พบว่าปัจจุบัน Startup ที่ได้รับการลงทุนแล้ว และเป็นสาย EdTech ยังมีอยู่ไม่กี่รายเท่านั้น ซึ่งได้แก่ TaamKru, SkillLane และ Globish Academia (กำลังจะอัปเดตเข้าไปใน Report) อย่างไรก็ตามในปีนี้ ทั้งจากการเดินงานนี้ก็ดี รวมถึงงาน Techsauce Summit ก็เริ่มพบเห็นผู้เล่นสาย Education รายต่างๆ มากขึ้น เช่น ตลาดปัญญา และ ParentsHero เป็นต้น

EdTech Startups มีน้อย แต่ที่จริงแล้วโปรเจกต์แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษามีทำออกมามากมายทุกปี

จากประสบการณ์การเข้าร่วมงานแข่งขันซอฟแวร์ต่างๆ พบว่าจริงๆ แล้วมีโปรเจกต์เพื่อการศึกษา เกิดขึ้นมากมายในทุกๆ ปี โดยเฉพาะจากนักเรียน นักศึกษา จริงอยู่ที่บางโปรเจกต์อาจจะไม่เหมาะจะเป็น Startup แต่ผู้เขียนก็ยังรู้สึกว่ายังมีอีกหลายโปรเจกต์ซึ่งปั้นได้ เราน่าจะสนับสนุนให้เกิดการต่อยอด ปั้นให้เติบโตแบบ Startup และนำมาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับวงการการศึกษาไทยเสียที


สำหรับผู้เขียนโดยส่วนตัวเอง ก็เคยอยู่ในทีมพัฒนาโปรเจกต์สาย EdTech มาแล้วสามโปรเจกต์ เป็น Music EdTech + VR และ Classroom Application ต่อมาคือตัวปัจจุบัน Content Shifu เป็นแพลตฟอร์มการให้ความรู้ด้าน Digital Marketing ใครสนใจ EdTech เหมือนกัน สามารถมาพูดคุยกันได้นะคะ :)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...