เมื่อ Cyberbully ไม่ใช่แค่ขอโทษแล้วจบ แต่ ‘สื่อกลาง’ต้องอย่าสร้างความเกลียดชัง

เมื่อ Cyberbully ไม่ใช่แค่ขอโทษแล้วจบ แต่ ‘สื่อกลาง’ต้องอย่าสร้างความเกลียดชัง

“กฏข้อแรกของอินเทอร์เน็ตคือห้ามอ่าน Comment” หากใครที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง Wreck It Ralph คงเข้าใจประโยคนี้ดี หลายต่อหลายครั้งที่เราได้เห็นเหตุการณ์คนดัง ถูกด่าทอบนโลกอินเทอร์เน็ต ถูก Cyberbully นับครั้งไม่ถ้วนจากประชากรบนโลกอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จนบางครั้งเรื่องนี้อาจถูกมองว่ากลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากลองคิดแทนผู้ที่ถูก Cyberbully การถูกกระทำบนพื้นที่ของตัวเอง อาจไม่เสียใจเท่า การเป็นเหยื่อจากสื่อกลาง หรือเพจสาธารณะ ยกตัวอย่างกรณีล่าสุดของเพจ Major Cineplex และ ไข่มุก BNK

อันที่จริงแล้ว นี่ไม่ใช่กรณีแรก ที่คนดังหลายคนถูกสื่อกลางนำมาซึ่งการ Cyberbully ทั้งกรณีของ ป๊อบ ปองกูล หรือแม้แต่ในด้านการเมือง ที่ผู้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสื่อกลาง บิดเบือนข้อมูล เปิดพื้นที่เพื่อสร้าง Engagement ให้เพจของตน และนำมาซึ่งความเกลียดชัง

ย้อนกลับไปในยุคเริ่มแรกที่อินเทอร์เน็ตเริ่มบูม โลกแห่งนี้เป็นเหมือนพื้นที่หาความรู้ พื้นที่เชื่อมต่อโลกทั้งใบอย่างไร้พรมแดน เราได้เห็นโลกนี้ในเชิงสร้างสรรค์ (ที่อย่างน้อยก็ดีกว่าปัจจุบัน) แต่เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตเปิดกว้าง นำมาซึ่งแพลตฟอร์ม Social Network มากมาย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  ใครๆก็สามารถแสดงตัวตน หรือทำอะไรก็ได้ อย่างที่เขาเหล่านั้นไม่เคยกล้าทำต่อหน้าบุคคลอื่น ต่อเนื่องมาจนถึงการ Comment โจมตีกันไปมา ที่หลายคนไม่คาดคิดว่าจะมาถึงจุดนี้

ท่อนหนึ่งที่เจ้าพ่อไอทีอย่าง หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ เคยกล่าวในจุดประกายไว้ว่า “วันที่ผมเชียร์อินเทอร์เน็ตนี่ ผมไม่เคยรู้ว่า สังคมมันจะเลวร้ายขนาดนี้ แม้ว่าจะไม่ได้เกินการคาดเดาของผมแต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะเป็นขนาดนี้” (อ้างอิงจาก จุดประกาย) ใครๆก็คงไม่อาจคาดคิดว่าโลกอินเทอร์เน็ตจะมีหลายสิ่งเลวร้ายเกิดคาดคิด

โลกออนไลน์แข่งขันสูง ทุกเพจต้องการสร้าง Engagement

ในขณะเดียวกัน สื่อ , เพจมากมายที่มีผู้ติดตามจำนวนมากบน Social Network ก็เปรียบเสมือนมีกระบอกเสียงอันใหญ่ ที่สามารถสื่อสารในทิศทางใดก็ได้ และด้วยโลกออนไลน์ที่มีการแข่งขันกันสูง เพจต่างๆย่อมทำงานเพื่อหวังตัวเลขที่เรียกว่า Engagement จากการ Comment หรือการแชร์ และเพื่อนำมาตัวเลขเหล่านั้น รูปแบบของสื่อ หรือเพจต่างๆ ก็มักพาดหัว โพสต์ภาพ หรือก่อกระแสบางอย่างที่รู้ว่า เดี๋ยวคนจะเข้ามา Comment โดยอาจไม่ทันยั้งคิดว่า การ Comment เหล่านั้นจะไปในทิศทางใด ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

หากเรียกให้ดูดี บางอย่างเราอาจเรียกมันว่า Real-time Marketing แต่ถ้าสิ่งที่นำเสนอออกไปนั้นกระทบต่อผู้อื่น แน่นอนว่ามันไม่ควรเกิดขึ้น เมื่อเราไม่อยากให้ทุกอย่างดำเนินมาถึงจุดนี้ หน้าที่ของตัวกลางอย่างสื่อและเพจต่างๆ ควรเริ่มมันอย่างไร?

อย่าสร้างพื้นที่ความเกลียดชัง

ทั้งสื่อและเพจสาธารณะต่างๆ ควรมีความตระหนักอย่างมากที่สุด ว่าทุกๆ สิ่งที่คุณกำลังทำบนโลกอินเทอร์เน็ต มีอีกกี่พัน กี่หมื่น กี่่แสนคนที่กำลังอ่าน กำลังดูอยู่ เมื่อคุณมีกระบอกเสียง ก็ต้องใช้กระบอกเสียงของคุณอย่างสร้างสรรค์ คิดถึงผลที่จะตามมาเสมอ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น อย่าคำนึงถึงเพียงตัวเลขของ Engagement ที่จะเกิดขึ้น แต่ให้คิดอย่างรอบคอบ ว่าสิ่งนั้นจะกระทบกับใครคนใดหรือไม่

กรณีล่าสุดกับเหตุการณ์ของ Major อาจไม่ใช่สิ่งที่แอดมินเพจตั้งใจให้เกิดขึ้น แต่เพราะความไม่ตั้งใจ หรือคิดน้อยเกินไปนี่แหละ ที่จะทำให้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ 

หากคุณอยากเห็นโลกอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ ผู้ที่เป็นสื่อกลาง จะต้องคิดมากให้มาก ตระหนักอยู่เสมอ กับสิ่งที่กำลังเผยแพร่ออกไป อย่าเป็นผู้จุดไฟสร้างความเกลียดชังบนโลกออนไลน์ เพราะหากคุณจุดไฟบนน้ำมันที่พร้อมจะลุกพรึบแล้ว ก็ยากที่จะยับยั้ง

อย่าเข้าร่วม

แต่ก่อนนั้นสื่อมีปากกาที่เขียนข่าวอย่างไรก็ได้ ปัจจุบันทั้งสื่อและคนทั่วไปมีคีย์บอร์ดเป็นของตัวเอง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เห็นการ Cyberbullying และหากคุณมีเจตนาที่จะยับยั้ง วิธีที่ดีที่สุดที่จะยับยั้งสิ่งเหล่านี้ คือย่าเข้าร่วม อย่าแชร์ อย่า Comment และสำหรับบทความนี้เราหวังว่า จะช่วยให้ทุกคนบนโลกอินเทอร์เน็ตมาร่วมสร้างสรรค์ Social Network ที่ดีร่วมกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...