เผยวิสัยทัศน์ลงทุน Startup แบบฉบับพี่โทนี่ | Techsauce

เผยวิสัยทัศน์ลงทุน Startup แบบฉบับพี่โทนี่

สำหรับวงการ Startup หนึ่งใน Investor ที่น่าจับตามองในวิสัยทัศน์การลงทุนที่น่าติดตาม นาทีนี้หากไม่พูดถึง Tony Woodsome คงไม่ได้ เพราะการันตีผลงานล่าสุดจากการที่สามารถนำบริษัท Startup ที่ลงทุนไปในนั้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาได้ถึง 2 บริษัทภายในปลายปี 2021 

Startup

เมื่อคืนวันที่ 2 มีนาคม 2564 เวลา 21.30 น.ตามเวลาประเทศไทย กลุ่ม Care คิด เคลื่อน ไทย ได้เชิญ Tony Woodsome หรือ พี่โทนี่ เข้ามาพูดคุยใน Clubhouse โดยหนึ่งในมุมมองที่น่าสนใจคือ วิสัยทัศน์การลงทุนในธุรกิจ Startup นั่นเอง 

เป็นที่ทราบกันดีว่า ก่อนหน้านี้บริษัท DnaNudge ซึ่งเป็น  Startup ด้าน  HealthTech / BioTech ที่คุณโทนี่ลงทุน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนำเทคโนโลยีทางด้านเทเลคอมมาผสมผสานกับเทคโนโลยีตรวจดีเอ็นเอ (DNA ) ด้วยการตรวจดีเอ็นเอจากร่างกายเราได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องส่งตัวอย่างเข้าตรวจที่ในห้องแล็บ และข้อมูลที่ได้มาจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อเลือกอาหารที่เหมาะกับดีเอ็นเอของแต่ละคน ได้เปิดตัวสินค้าในงาน CES 2020  (Consumer Electronics Show) หรืองานจัดแสดงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดขึ้นในลาสเวกัส รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ต่อมาได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้รับอานิสงค์ โดยรัฐบาลอังกฤษนั้นได้ทำการลงทุนซื้อชุดตรวจ RNA COVID-19 ในการตรวจหา COVID-19 ของ DnaNudge กว่า 5.8 ล้านชิ้น เป็นเงินกว่า 161 ล้านปอนด์ หรือกว่า 6.5 พันล้านบาท โดยจะทำการแจกจ่ายไปยังโรงพยาบาลในเครือ NHS ทั่วประเทศ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่) โดยล่าสุดคุณโทนี่ได้อัปเดตถึงความคืบหน้าของ DnaNudge ว่าเป้นธุรกิจที่กำลังไปได้ด้วยดีและกำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกาภายในช่วงปลายปี 2021 แล้ว 

“ DnaNudge เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราทำการตรวจ DNA  จากการ swop และทำให้ทราบได้ว่า DNA ของเราเป็นอย่างไร สามารถทานได้อะไรได้บ้าง อะไรที่จะย่อยง่ายหรือย่อยยาก และข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่บน Clould และเราสามารถที่จะอ่าน บาร์โค้ด ของอาหาร ที่สามารถบอกได้เลยว่าอาหารประเภทนี้เหมาะกับเราหรือไม่ เพื่อที่จะทำให้เราเลือกรับประทานอาหารที่ถูกกับร่างกายของเรา ซึ่งก็เป็นลักษณะของการใช้ AI ประกอบด้วย ในระยะแรกก็ไปได้ด้วยดีเลยทีเดียว แต่เมื่อมี COVID-19 เข้ามาเราก็ได้ปรับฟังก์ชั่นของผลิตภัณฑ์ ด้วยการทำให้เครื่องมือดังกล่าวสามารถตรวจไวรัสได้ด้วย แทนที่จะอ่าน DNA  ของมนุษย์ได้อย่างเดียวนั้น ก็อ่าน RNA ของไวรัสได้ด้วย ตอนนี้ก็สามารถรวจไวรัสได้ทุกประเภท และตอนนี้โรงพยาบาลในเครือ NHS สั่งซื้อไปตอนแรกก็ 8 แสนชุด ต่อมาสั่งเพิ่มอีก 4 ล้านชุด สำหรับตัวบริษัทตอนนี้ก็อยู่ระหว่างรอ Approve เพื่อจะให้สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่อเมริกาได้ ในช่วงปลายปีนี้ ต่อไปเทคโนโลยีมันสามารถรู้ร่างกายเราได้เป็นอย่างดี ตอนนี้อาจจะสามารถอ่านโครงสร้างโปรตีนได้ 1แสนตัว ซึ่งจริงๆแล้วมันมีตั้ง 200 ล้านตัว ถ้าอ่านได้หมดโลกเปลี่ยน ชีวิตมนุษย์เปลี่ยนแน่นอน” คุณโทนี่ กล่าว 

พร้อมกันนี้คุณโทนี่ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงความสนใจลงทุนด้าน HealthTech อีกว่า  ผมสนใจด้านนี้ตั้งแต่ได้ที่อ่านหนังสือ THE THIRD WAVE ของ Alvin Toffler เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว จำได้ว่าจะมีการพูดถึงว่าโลกของเรามันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และต่อไปคนจะห่วงสุขภาพของตัวเองมากขึ้น แล้วพอมาดูเรื่อง Bio ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้น่าสนใจมาก ซึ่งจริง ๆ นกจาก DnaNudge ผมก็มีลงทุนไว้อีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัทที่ทำเกี่ยวกับด้าน Analytical chemistry ในลมหายใจของเรา ที่เมื่อเป่าแค่ครั้งเดียว ก็สามารถทำให้รู้เลยว่ามีมะเร็งอยู่จุดไหนของร่างกายบ้าง ด้วยการใช้ Bio Marker ซึ่งตอนนี้ก็เตรียมที่จะเข้าตลาดที่อเมริกาเช่นเดียวกัน

นอกจากเทรนด์ด้าน HealthTech แล้วคุณโทนี่ยังมองอีกว่าเทคโนโลยีด้านการสื่อสารก็มีความน่าสนใจมาก เพราะต่อจากยุคของ  Mobile Phone ไปแล้ว สิ่งที่จะมา Disrupt ในภายภาคหน้าคือ การใช้ Global Internet ในแบบ Free Wifi เพราะฉะนั้นเรื่องของเทเลคอมก็ต้องติดตามอย่างต่อเนื่องเช่นกันว่าจะเป็นในทิศทางใด และยังมีเรื่องของ Quantum Computing แม้ว่าตอนนี้จีนเองพยายามที่จะเคลมว่าสามารถผลิตได้เร็วกว่า Google แต่เทคโนโลยีนี้ยังไม่จบ และต่อไปถ้ามีนำเริ่มนำมาใช้จริงได้แล้ว มันจะมาแรงมาก ๆ จากการที่เทคโนโลยีตัวนี้มีการคำนวนได้อย่างรวดเร็วมาก อีกทั้งจะเชื่อมที่ถึง  AI ในเรื่องของ Deep Learning ที่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ Quantum เข้ามาช่วยประมวลผลทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้น ถือว่ายังไม่ได้มี Startup ที่เป็นยูนิคอร์น คุณโทนี่มองว่าหากจะสร้างให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ก็มีความเป็นไปได้ เพราะเด็กไทยเก่งๆมีอยู่มาก เราจะต้องทำให้คนเก่งเหล่านั้นมาร่วมกันคิดร่วมกันทำ และ Venture Capital ก็คอยสนับสนุน ถ้าเขาทำได้ดี ต้องช่วยส่งให้ตลาด อีกทั้งกระทรวงดิจิทัลเองต้องมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการผลักดัน เพราะรัฐบาลถือมีส่วนช่วยได้มาก เพียงแค่อยู่ที่ว่าจะเอาจริงเอาจังหรือไม่แค่นั้น 

นอกจากนี้อันที่จริงแล้วการที่ประเทศไทยปัจจุบันมี Venture Capital เกิดขึ้นมากพอสมควร และมีเงินสำหรับลงทุนค่อนข้างมากพอสมควร แต่ปัญหาคือ การหา Startup เพื่อลงทุนไม่ค่อยได้ เนื่องจาก Startup ใหม่ ๆที่เกิดขึ้นไม่ค่อยมีไอเดียใหม่ ส่วนใหญ่เป็น Digital Platform ที่มีลักษณะคล้าย ๆกันเลยยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะโตได้ เลยไม่ค่อยมีโอกาสได้รับเงินลงทุน ในประเด็นนี้ คุณโทนี่ได้เสนอมุมมองว่า 

“ผมคิดว่าคนที่มีไอเดียเข้ามาแล้วยังไม่ค่อยรับ บางครั้งมันก็ไม่แย่ทั้งหมด ถ้าเป็นไปได้ เราควรพูดกับเขาตรงๆ เพื่อให้เขาไปปรับปรุง หรือไม่ก็จับมา  training เพื่อให้ ไอเดียมันเข้าท่าขึ้น บางครั้งต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ของเรา ระบบการศึกษาเราแย่มานาน เราสอนให้เด็กคิดไม่เป็น เราสอนเด็กท่องจำมานานมาก กว่าเด็กจะคิดได้มาเรียนแบบ constructivism มันเหลือปริมานเด็กพวกนี้น้อย แต่ผมดีใจที่ว่าเมืองไทยตอนนี้เองมี VC หลายที่แล้วมีเงินทุนอยู่หลายหมื่นล้าน แต่ว่ามันอาจจะเป็นเรื่อง Demand Supply ที่จะต้องหามาให้ไปกันได้ หรืออีกทางนอกจากการ Grooming  แล้วก็อาจจะจับคู่  คนนี้เสนอเรื่องนี้ไม่เข้าท่า คนนี้เสนอเรื่องนี้ก็ยังไม่เข้าท่า แต่สองคนนี้รวมกันแล้วเข้าท่า อาจจะต้องยอมแบบนี้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไทยก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่ เราไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้จริงๆ ที่อาจจะเป็นธรรมชาติที่เป็นจุดอ่อนเลยก็ว่าได้” 







ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...