เปิดแนวคิด KBank The Office Space สามย่านมิตรทาวน์ สถานที่ทำงานรูปแบบใหม่ในแบบ Agile | Techsauce

เปิดแนวคิด KBank The Office Space สามย่านมิตรทาวน์ สถานที่ทำงานรูปแบบใหม่ในแบบ Agile

การก้าวไปข้างหน้าขององค์กรในยุค Digital disruption ไม่ใช่เพียงการบริหารอย่างเดียว แต่ต้องเข้าใจบุคลากร และพร้อมเปิดโอกาสให้คน Gen ใหม่ ได้คิดและ ได้ลองทำ ผ่านพื้นที่ที่ตอบโจทย์การทำงานเพื่อสร้างไอเดียใหม่ๆ  การจัดหาสถานที่ใจการเมืองที่เดินทางสะดวกในสิ่งแวดล้อมนี้เป็นอีกเป้าหมายสำคัญของ KBank ที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมีพลังงานบวกและความคิดสร้างสรรค์รวมถึงตอบโจทย์การทำงานของคนเมืองที่ต้องเดินทางอยู่เสมอ

คุณหทัยพร เจียมประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณหทัยพร เจียมประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เกี่ยวกับแนวคิดของการพัฒนาองค์กรในยุค Digital disruption รวมถึงได้เข้าเยี่ยมชมและฟังเเนวคิดสำคัญในการสร้าง  KBank The Office Space แห่งใหม่ใจกลางสถานที่สุดฮิปอย่างสามย่านมิตรทาวน์ ที่ถูกออกเเบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานยุคใหม่ไม่เหมือนใครด้วยการใส่ใจรายละเอียดที่เน้นคนทำงานเป็นหลักในการออกแบบสถานที่ ผ่านเเนวคิด Empowering our people with NEW WAY OF WORKING 

มองความสำคัญของ KBank The Office Space ไว้อย่างไร

KBank The Office Space เปรียบเสมือน Minimum Viable Product ที่ธนาคารอยากให้พนักงานนำเอาแนวความคิดแบบ design thinking ไปปรับใช้ในงานของทุกคน โดยเริ่มจากการสร้างสถานที่เล็กๆ เพื่อทดสอบ แล้วปรับปรุง เพื่อให้เกิด continuous improvement ในทุกกระบวนการการทำงาน

โดยพื้นที่ที่สามย่านถือเป็นพื้นที่ทดลองแนวคิดดังกล่าวที่หากได้เสียงตอบรับดีก็จะขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อความสะดวกในการทำงานของหลายแผนกที่ต้องเดินทางไปด้านนอกอาคารสำนักงานใหญ่

ทั้งนี้ KBank The Office Space เองก็ได้รับการประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานใหญ่ด้วยการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีระบบต่างๆ ทั้งในด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความสะดวกสบายให้พนักงานได้ใช้ไม่ต่างจากสำนักงานใหญ่ทั้ง 3 แห่งของ KBank

KBank The Office Space ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในอนาคตและ มีส่วนเพิ่มโอกาสเติบโตของบุคลากรอย่างไร

สถานที่จะเปิดโอกาสให้คนได้แสดงไอเดีย ปลดปล่อยศักยภาพ การทำงานเป็นทีมที่เปิดโอกาสให้ทุก gen ในทีมสามารถออกความคิดและ feedback ซึ่งกันและกัน เพื่อปรับปรุงพัฒนาการทำงาน และไม่ปิดกั้นโอกาสในการเติบโตของพนักงาน

ซึ่งก่อนหน้านี้ทางธนาคารได้มีการริเริ่มโครงการ Digital Workplace และ Digital Academy ที่มีการออกแบบสถานที่ทำงานเเนวใหม่เสริมศักยภาพของการทำงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งได้จัดทำเเล้วในสำนักงานใหญ่ไม่ว่าจะเป็นที่สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ สำนักงานใหญ่พหลโยธิน และที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกเร็ว ๆ นี้คือ ตึก K ที่ I'm Park ด้านหลังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น Co-Working Space ของ Kasikorn Business-Technology Group (KBTG)


KBank The Office Space

องค์ประกอบที่จะตอบโจทย์และเสริมให้พนักงานในมุมมองของ KBank

การคัดเลือกสถานที่รวมถึงการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ได้คิดผ่านมุมมองผู้บริหารแต่คิดในมุมของคนทำงานที่ต้องใช้พื้นที่นี้ว่าจะทำอย่างไรให้พื้นที่นี้ใช้เวลาสร้างไม่นานเพื่อให้ทันต่อการใช้งานสำหรับบุคคลากรของ KBank ซึ่งเราใช้เวลาในการทำพื้นที่นี้ไม่นานแต่สามารถตอบโจทย์บุคคลากรของ KBank ได้มาก  โดยมีเเนวคิดการออกเเบบพื้นที่ ดังนี้

  • Innovative การสร้างบรรยากาศการทำงานที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ของธนาคาร พื้นที่ของ The Office Space ที่ตั้งอยู่กลาง Samyan Mitrtown Co-Op พื้นที่ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่
  • Flexibility รูปแบบการทำงานของ Future Bank พนักงานธนาคารต้องออกไปทำงาน ไปพบลูกค้า และพันธมิตรมากขึ้น เมื่อออกไปแล้วก็ไม่จำเป็นที่ต้องเสียเวลาฝ่าการจราจรกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ สามารถไปนั่งทำงานที่ใจกลางเมืองได้เลย


KBank The Office Space

  • Collaboration พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องมือที่สนับสนุนการทำงานแบบ Collaboration ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ Network ของธนาคารในทุกมิติเสมือนหนึ่งนั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ รูปแบบของ Working Monitor ที่เอื้อต่อการทำงานทุกรูปแบบจากทุก Platform พนักงานธนาคารมีมือถือเครื่องเดียวก็สามารถทำงานได้เหมือนนั่งทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตอบโต้อีเมล การทำ Video Conference หรือแม้กระทั่งการทำ Broadcasting ไปยังหลากหลายสำนักงานของธนาคารก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน


KBank The Office Space

  • Dynamic พื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเดี่ยว การทำงานแบบ Brainstorm เป็นกลุ่ม การทำ Workshop การทำ Internal Event หรือแม้แต่การทำ Broadcasting ก็สามารถทำได้ จาก KBank The Office Space


KBank The Office Space

  • Think Through Design with Eco-Friendly การออกแบบ Acoustic ของห้องในการลดเสียงรบกวนเมื่อมีการพูดคุยกัน แสงไฟที่ปรับแสงขึ้นลง ตามเวลาของวัน การบริหารจัดการแบบ Self Service ที่พนักงานช่วยกันดูแลโดยปราศจากคนควบคุม ทำการจองเวลาผ่านระบบออนไลน์ และควบคุมความปลอดภัยในการเข้าออกด้วยบัตรพนักงาน รวมถึงการใช้แนวคิดแบบ Zero Waste ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้นำภาชนะใส่เครื่องดื่มของตัวเองเข้ามาใช้เพื่อลดขยะประเภทภาชนะ และการกำหนดนโยบายไม่มีถังขยะ พนักงานนำขยะเข้ามาเท่าไรก็นำออกไปเท่านั้น เป็นต้น


KBank The Office Space

จากพื้นที่สำนักงานแห่งใหม่ รูปแบบทำงานของบุคลากรใน KBank จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คุณหทัยพรกล่าวว่า ต่อไปรูปแบบการทำงานของธนาคารจะเป็น Agile ที่เน้นการทำงานอันยืดหยุ่น รวดเร็ว รับกับสถานการณ์อันเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สนับสนุนการทำงานตามแนวทาง Agile ให้เกิดขึ้นจริง รวมทั้งการพบปะผู้คนต่างสายงานที่มาทำงานร่วมกันแบบ project-based การสร้างพื้นที่ให้พนักงานสามารถประชุมย่อยได้สะดวก  กระตุ้นให้พนักงานมีสิทธิ์ในการตัดสินใจหรือจัดลำดับความสำคัญของการทำงานด้วยตนเอง เพื่อให้ทุกคนส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งตัวพื้นที่ KBank The Office Space เป็นหนึ่งในพื้นที่สำนักงานที่สะท้อนเป้าหมายการเป็นองค์กรแบบ Agile ของธนาคารได้เป็นอย่างดี

HR กับการจัดทำโครงการนี้มีความคาดหวังในเรื่องใดบ้าง?

HR ใช้โครงการนี้ เป็นการริเริ่มสำหรับจัดสร้างพื้นที่การทำงานรูปแบบใหม่ของคนกสิกรไทยแห่งต่อๆไป เหมือนการสร้าง MVP (Minimum Viable Product) ขึ้นมาเป็น Prototype แล้วทำการทดสอบการใช้งานจริงเพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน เก็บรวบรวมคำแนะนำต่างๆ สิ่งใดที่ดีเราก็จะทำให้ดีขึ้นอีก สิ่งไหนที่ไม่ตอบโจทย์ก็ตัดออก แก้ไข หรือพัฒนา เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายให้ได้มากที่สุด

ซึ่งตลอดเวลาเปิดทดลอง 1 เดือน ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากพนักงานหลายเสียงบอกว่าบรรยากาศที่นี้ทำให้พวกเขาสามารถคิดงานได้มากขึ้น ด้วยสภาพเเวดล้อมที่เหมือนให้เราได้ใกล้ชิดกับลูกค้าเพราะ สามย่านคือแหล่งที่รวมทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่ม Gen ใหม่ แค่เดินเข้ามาเราจะเห็นวิถีชีวิตของลูกค้าแบบใกล้ชิด แถมการเดินทางสะดวกมากขึ้น 

เมื่อถามถึงประเด็น Talent ที่มี Turn Over สูง ในฐานะผู้ดูแลด้านบุคลากรอย่างคุณหทัยพรมองว่า KBank เข้าใจความเปลี่ยนแปลงในความต้องการดังกล่าวจึงพยายามปรับปรุงสิ่งต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปี 2020 จะมีเรื่องตื่นเต้นใหม่ๆ จากทีม HR ของ KBank ให้ติดตามกัน แต่อย่างไรก็ตาม คุณหทัยพรมองว่า เป้าหมายจากสิ่งที่ทำตรงนี้ต้องทำให้พนักงานที่อยู่กับเรามีความสุขที่สุด การจะอยู่นานกว่าที่คาดก็จะถือเป็นกำไรที่ได้จากความมุ่งมั่นในส่วนนี้

ทำไม KBank ถึงเลือกสามย่านมิตรทาวน์?

สามย่านมิตรทาวน์เป็นสถานที่ๆ เป็น talk of the town อยู่ในโลเคชั่นที่สะดวกในการเดินทาง เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงเล็งเห็นโอกาสที่เหมาะสมในการสร้างสถานที่ทำงานรูปแบบใหม่ที่แรกขึ้นที่นี่รวมถึง KBank เป็นพันธมิตรกับองค์กรชั้นนำมากมาย Golden Land ก็เป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่ง 

สุดท้ายเเล้วนั้นสังคมการทำงานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y หัวใจหลักคงหนีไม่พ้นสถานที่ทำงานที่ปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการใช้งาน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในเมือง และสถานที่ทำงานที่รับฟังความคิดเห็นและพร้อมสนับสนุนเพื่อพัฒนาอย่างรวดเร็ว  ซึ่งหนึ่งในปัญหาของคนทำงานคือการเดินทาง รวมถึงกระบวนการพัฒนาที่ต้องใช้เวลานานจนกลายเป็นอุปสรรคต่อความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ คิดเร็ว ทำเร็ว ด้วยวิสัยทัศของ KBank ที่เห็นความสำคัญของคนทำงานเป็นหลักจึงไม่หยุดพัฒนาและหาเเนวทางการสร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์คนทำงานอยู่เสมอ โครงการ KBank The Office Space เป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์วิสัยทัศน์ที่พูดจริง และทำจริง ได้ใช้จริง ไม่ต้องรอนาน พร้อมรองรับการใช้งานทุกรูปแบบของคน Gen ใหม่ไฟแรง 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...