แพลตฟอร์มกำลังจะกลืนกินโลกใบนี้ นี่คือคำที่ฟังดูเกินจริง แต่ในช่วงที่ผ่านมานี้หากทุกคนได้ลองสังเกต คุณจะเห็นได้ว่ามีหลายแบรนด์เกิดใหม่ในชื่อคุ้นหูอย่าง Facebook, PayPal, Alibaba, Airbnb และ Grab ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำระดับโลก ถึงแม้บริษัทต่างๆ จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน แต่พวกเขาล้วนมีส่วนที่คล้ายคลึงกันนั่นก็คือ Platform Business Model ที่เข้ามาเขย่าวงการธุรกิจกันถ้วนหน้า
และฟังก์ชันของโมเดลรูปแบบนี้ก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากวิธีแบบเก่าๆ จากเป็นแค่การสร้างคุณค่าโดยตรงกับผู้บริโภคผันเปลี่ยนมาสู่การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีบริษัทเหล่านี้รับหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อ ให้เครื่องมือที่สำคัญและปล่อยให้ผู้บริโภคได้ร่วมกันเข้ามามีบทบาทด้วยตัวเองผ่านการใช้เทคโนโลยี
ซึ่งแพลตฟอร์มก็จัดได้ว่าเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เข้ามาทำให้แบบธุรกิจดั้งเดิมจะต้องหวั่นใจ ดังนั้นเหล่าองค์กรทั้งหลายก็เร่งรีบที่จะปรับตัวเข้าหาโมเดลแพลตฟอร์มกันเป็นแถว
ผู้ก่อตั้งบริษัท Platforms ต่างๆ อย่าง Airbnb, Uber และ Instagram ได้สร้างเงินมหาศาลทั้งที่ไม่ได้ครอบครองสินทรัพย์ที่เป็นชิ้นเป็นอันเลยสักนิด ในขณะที่ผู้ประกอบการทั่วโลกรวมถึงในไทย ต่างให้ความสนใจในแนวคิดที่ประสบความสำเร็จนี้และต่างได้ลองสร้างธุริกิจแพลตฟอร์มในรููปแบบ Airbnb และ Uber เป็นของของตนเอง โดยในฝั่งของบริษัทประเภท pipeline จำเป็นต้องผันโมเดลธุรกิจตัวเองใหม่หมด มาสู่การเป็น Platform เพื่อความอยู่รอดและยอม Disrupt ตัวเอง
ถ้าคุณได้เข้าร่วม Pitch ธุรกิจต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา คุณจะสังเกตเห็นได้ว่าไอเดียส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การสร้างแพลตฟอร์มเป็นหลัก อย่างประเทศไทยเองเราก็เห็นหลากหลายความสำเร็จจากการทำแพลตฟอร์มเช่นกัน โดยภาพด้านล่างบ่งชี้ถึงภาพรวมแพลตฟอร์มในประเทศไทย
และในความเป็นจริงการจะสร้างแพลตฟอร์มให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะแพลตฟอร์มที่ดีจะต้องทำหน้าที่ในการมอบสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งและมีบทบาทบนแพลตฟอร์มได้ และต้องพร้อมที่จะขยายขอบเขตให้กว้างขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากได้แพลตฟอร์มที่ดี การออกแบบจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะลำพังแค่การวิเคราะห์ด้านโมเดลธุรกิจให้สามารถสร้างรายได้ให้มาก และเป็นตัวกลางเชื่อมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างเดียวเท่านั้นไม่เพียงพออีกต่อไป และไม่ใช่วิธีการที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันนี้อีกแล้ว เพราะแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบมาอย่างดีทั้งในด้านพฤติกรรมผู้ใช้งานและการสร้างความน่าสนใจ
ทำให้ผู้ประกอบการควรเข้าใจหลักการการออกแบบแพลตฟอร์มให้ดี เพราะมันจะช่วยสร้างศักยภาพให้ทั้งในฝั่งของผู้ผลิตและผู้บริโภค และช่วยให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการควรลงทุนในขั้นแรกๆ ของ User research พร้อมให้ความสำคัญกับการออกแบบพฤติกรรมการใช้งาน ดังที่ Sangeet Paul Choudary ผู้เขียน Platform Scale and the “Platform Manifesto” กล่าวว่า Behaviour Design คือ วิธีใหม่ที่ทำให้ลูกค้าเกิด Loyalty ต่อแบรนด์ของคุณ
ความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลและธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไป นำมาสู่การนำเอา Data ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่มูลค่ามหาศาลในปัจจุบันนี้มาปรับสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า ทั้งดีกว่าเดิม เรียบง่ายกว่าเดิม และสะดวกกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการการออกแบบในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น จิตวิทยา กลยุทธ์ทางธุรกิจ ข้อมูล และการจัดการผลิตภัณฑ์
ซึ่ง Thammasat Design Center คือหนึ่งในองค์กรที่เข้ามาช่วยแนะแนวทางการสร้างแพลตฟอร์มทีดีผ่านโปรแกรมการเรียนคอร์สระยะสั้น 8 สัปดาห์ คัดสรรเนื้อหาทั้งด้าน Design Strategy, User Experience และ Engagement ซึ่งถูกพัฒนาโดย Thammasat Design โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายด้าน และในครั้งนี้ Techsauce ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมหนึ่งในคลาสเรียนของโปรแกรมและนี่คือ Key Takeaways ที่เรานำฝากผู้อ่านกัน
โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แต่ละองค์กรอาจจะต้องยอมรับว่าเราควรมีนักออกแบบเข้าไปแทรกตัวในการทำงานเหล่านี้ เพื่อให้ได้แพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ เนื่องจากนักออกแบบถูกสอนให้เข้าใจผู้คน หาวิธีแก้ไขปัญหา และค้นหาวิธีการที่สร้างสรรค์ในการผลักดันให้เกิดพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ
และ Massimo Ingegno เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน Behaviour Design ผู้อำนวยการ Thammasat Center Design ก็ได้เน้นย้ำว่านี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมบริษัททั้งหลายจึงประสบความสำเร็จอย่าง Airbnb ไปจนถึง Pinterest ที่ล้วนแล้วต่างถูกก่อตั้งโดยนักออกแบบ
"ผู้คนคิดว่า พวกเขาจะไม่มีทางอาศัยอยู่ในบ้านคนแปลกหน้าแน่ๆ มันเป็นไอเดียที่ประหลาด แต่อีกเหตุผลคือพวกเขาไม่ได้คิดว่านักออกแบบก็สามารถสร้างและทำธุรกิจได้" - Brian Chesky CEO ของ Airbnb
อย่างที่ Brian Chesky, ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Airbnb ได้กล่าวไว้อีกว่า “การออกแบบอยู่ในสายเลือดของ Airbnb” มันเป็นเครื่องมือที่ทำให้ Airbnb สามารถเอาชนะอคติของผู้คนที่มีต่อการร่วมใช้สิ่งอื่นๆ ร่วมกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักในการสร้าง Sharing economy นอกเหนือจากนั้น หลักการออกแบบที่ดียังสามารถเปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านกลายเป็นโฮสต์แบบมืออาชีพได้ผ่านตัวแพลตฟอร์มของ Airbnb (ผ่านการสร้างประการณ์น่าจดจำให้กับแขกของพวกเขาเอง)
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นนักออกแบบได้เข้ามาส่วนมากขึ้นในสายงานธุรกิจและกระบวนการการออกแบบเองก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาแพลตฟอร์มให้น่าใช้งานและประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่คุณจะต้องสร้างแพลตฟอร์มก็อย่าลืมคำนึงถึงการออกแบบด้วย โดยทั้งหมดนี้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากผู้เชี่ยวชาญที่ Thammasat Design Center (TDC)
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด