สรุป 5 เทคนิคจิตวิทยาทำ UX และ Marketing ให้ปัง จาก 'Skooldio LIVE! : Psychology in Marketing and UX' | Techsauce

สรุป 5 เทคนิคจิตวิทยาทำ UX และ Marketing ให้ปัง จาก 'Skooldio LIVE! : Psychology in Marketing and UX'

ทำไมขนมเบบี้เอแคลร์ที่ Lineman x After You ถึงฮิตจนขาดตลาด และขายดีอันดับ 1 ในปี 2019 ด้วย Orders กว่า 600,000 ชิ้น?

ทำไมแค่ปรับลดตัวเลือกในหน้าแอป Finnomena ถึงเพิ่มยอด Conversion ได้เป็นเท่าตัว?

มาไขความลับ 5 เทคนิคจิตวิทยาเพื่อทำ UX และ Marketing ให้ปัง! กับบทความสรุปประเด็นจาก Skooldio Live เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดย 3 Speaker จาก Finnomena X Skooldio X Line ซึ่งเชี่ยวชาญทั้งด้าน Marketing, UX และ Behaviour economics

ตัวแทนจาก LINE Thailand บริษัทแชทยักษ์ใหญ่ที่เป็น Super-app แนวหน้าของไทย คุณแก๊บ ณพวัฒน์ มุกตพันธุ์ Chief eXperience Officer at FINNOMENA สตาร์ทอัพสาย Fintech ชื่อดังที่มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวม 8,300 ล้านบาท และคุณก๊อฟ ภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล Behavioural Economist อาจารย์ผู้สอน Psychology and UX หนึ่งในคอร์สที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดจาก Skooldio

ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มเรียนรู้เทคนิคจิตวิทยาทั้ง 5 กันได้เลย

1. ทฤษฎี Time Threshold

เมื่อสมองเจอเหตุการณ์อะไรบางอย่าง จะมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตัวเลขเวลาที่สำคัญในแง่การทำ UX มีดังนี้

  • 0.1 วินาที : ถ้ามี 2 เหตุการณ์เกิดขึ้นห่างกัน 0.1 วินาที สมองจะคิดว่าเกิดขึ้นพร้อมกัน
  • 1 วินาที :  การนิ่งเงียบเพียง 1 วินาที ทำให้คนเราอึดอัดได้ (เช่น ระหว่างพูดคุยกัน จนกลายเป็น Conversation Gap)
  • 10 วินาที : คือเวลาที่คนเราสามารถจดจ่อกับบางเรื่องได้ดีที่สุด
  • 1-10 วัน : คือเวลาที่คนเราใช้ตัดสินใจต่อเหตุการณ์สำคัญ

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กับ UX :

หลังจากผู้ใช้คลิกเมาส์แล้ว ภายใน 0.1 วินาที ควรมีแอคชั่นบางอย่างแสดงขึ้นมา เช่น Busy Indicator (สัญลักษณ์ Spinner หรือ นาฬิกาทราย) เพื่อให้รู้ว่าขั้นตอนกำลังดำเนินการอยู่ 

ถ้าแอปโหลดนานกว่า 1 วินาที ควรแสดงเป็น Progress Bar ขึ้นมา เพื่อโชว์ให้เห็นว่าแอปไม่ได้ค้าง 

กรณีที่โหลดนานเกิน 10 วินาที ควรแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้ไปทำอย่างอื่นได้ โดยไม่ปิดแอปเราทิ้ง เช่น ย่อหน้าโปรแกรมลงได้ หรือเข้าไปรันใน Background Process ได้

ส่วนระยะเวลา 1-10 วัน ปรับใช้ได้เมื่อเราขายสินค้าราคาสูง ซึ่งครั้งแรกที่ลูกค้าเข้าแอปควรเก็บ Lead ไว้ จากนั้นคอยส่งคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์หรือตรงกับความสนใจไปให้ลูกค้าเรื่อยๆ เช่น บทความ หรือคลิป live ฝากคำถาม ส่วนลูกค้าที่มี  Potential สูง อาจใช้วิธีโทรติดต่อโดยตรง

2. ทฤษฎี Hick’s Law

ยิ่งตัวเลือกเยอะ คนยิ่งใช้เวลาตัดสินใจเยอะ ตัวอย่างแอป Finnomena ปรับ Journey จากเดิมที่บังคับให้ผู้ใช้งานวิ่งไปหน้าแสดงแผนลงทุนกว่า 26 แผน ให้มีหน้าแทรกมาคั่นและแสดงเพียง 2 ตัวเลือกแทน คือเลือกแผนลงทุนหรือตรงไปเปิดบัญชีเลย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้คนที่ตั้งใจเข้ามาลงทุนและมีแผนในใจแล้ว ผลลัพธ์คือสามารถสร้าง Conversion ได้มากขึ้นเป็นเท่าตัว

3. ทฤษฎี  Fomo (Fear of Missing Out)

คนมักจะกลัวการตกกระแสหรือพลาดอะไรบางอย่าง เช่น แคมเปญ  12.12, 3.3 ของ lazada หรือโปรโมชั่น Flash Sale ทำให้คนเคยชินว่ามีเมื่อมีแคมเปญเหล่านี้จะต้องรีบไปถล่มซื้อ เพราะราคาถูกกว่าปกติมาก ซึ่งต่อให้ทีม Marketing ลองเสนอส่วนลดต่ำลง ก็มีโอกาสที่คนจะซื้อเยอะเหมือนเดิม เนื่องจากสมองจำไปแล้วว่าช่วงนี้เซลล์กระหน่ำ

หรือเคสของ Lineman x After You ขายขนมเบบี้เอแคลร์ Liimited จนเกิดปรากฎการณ์สินค้าขาดตลาด แต่แทนที่จะเกิด Negative Feedback กลายเป็นคนไปตามหาซื้อกันจ้าละหวั่น เพราะรู้สึกว่าตัวเองตกเทรนด์ สรุปแล้วขนมเบบี้เอแคลร์ทำยอดขายไปกว่า 600,000 ชิ้น! และเป็นเมนูขายดีอันดับ 1 ในปี 2019 ของ Lineman อีกด้วย

4. ทฤษฎี Scarcity

เมื่อคนรู้สึกขาดแคลน สินค้าจะยิ่งมีมูลค่าสูงขึ้น เช่น การทดลองให้ชิมคุ้กกี้จากโหลที่เหลือมากกับเหลือน้อย ผลปรากฎว่าคนจะรู้สึกว่าโหลที่เหลือน้อยรสชาติอร่อยกว่า และประเมินว่ามีราคาแพงกว่า ทั้งที่เป็นคุ้กกี้แบบเดียวกัน

หรือตัวอย่างของ Campbell Soup ที่ทดลองติดป้ายกับซุปแบบเดิมว่าห้ามซื้อเกิน 12 ชิ้น ก็ทำให้ยอดขายเฉลี่ยดีขึ้น เพราะคนรู้สึกกลัวว่าสินค้าจะหมดเสียก่อน

5. ทฤษฎี  Similarity-attraction effect

คนมักจะเสพข้อมูลที่ใกล้ตัวเรา หรือสิ่งที่เราอินต่อเรื่องนั้นๆ ได้ง่ายกว่า เช่น ถ้าเราชอบหนัง Star Wars ก็จะชอบอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Star Wars ด้วยเช่นกัน หรือถ้าเป็นคนเล่นหุ้น ก็มักจะสนใจเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นที่เราลงทุนไป

Case Study ระดับโลก ที่นำเทคนิคนี้ไปปรับใช้จนประสบความสำเร็จ คือแบรนด์ Aerie บริษัทจำหน่ายชุดชั้นในสำหรับสาวพลัสไซส์ สร้าง Aerie Real Campaign เน้น Execution ที่สื่อสารเรื่องความเรียล ให้คุณสวยในแบบที่เป็นตัวเอง ทำให้คนทั่วไปรู้สึกเข้าถึงได้ ไม่ใช่นางฟ้าในความฝัน

ผลลัพธ์ของแคมเปญนี้ปังมาก! จน Aerie กลายเป็นแบรนด์ดังและขึ้นแท่นคู่แข่งแบรนด์ Victoria’s Secret ซึ่งทฤษฎีนี้สามารถนำไปปรับใช้กับการทำคอนเทนต์ให้  Relevant หรือตรงกับ Insight ของคนได้มากขึ้น

ไอเดียดีๆ แบบนี้ ไม่ได้จบแค่ในบทความเท่านั้น ยังมีเทคนิคจิตวิทยาที่น่าสนใจอีกมากมาย เข้าไปชมคลิปย้อนหลังเวอร์ชั่นเต็มได้ที่ https://to.skooldio.com/TV24xg0OO4

Psychology and UX Live Workshop!

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าใครรู้สึกว่ารู้เท่านี้ยังไม่พอ อยากลองนำมาใช้กับ Product เราได้จริงๆ มาเข้า Workshop อันนี้เลย >> Psychology and UX Live Workshop! by Skooldio 1 วันเต็มที่คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการจิตวิทยาที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบ digital product ให้ตรงกับ User Experience (UX) และดึงดูดผู้ใช้ให้ใช้ product จนกลายเป็นนิสัย (habit-forming product) 

มาในรูปแบบ Live ให้คุณไม่ต้องออกจากบ้านไปไหน ปลอดภัย แต่ยังได้รับความรู้เต็มที่และทำกิจกรรมได้เหมือนมาเข้าคลาสจริง ดูรายละเอียดได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...